โครงสร้างการจัดการความรู้
โครงสร้างศูนย์กลางความรู้สำนักงาน ป.ป.ช. (KM NACC) มีรายละเอียดการจัดวางระบบเพื่อใช้ในการเผยแพร่ความรู้ในระยะแรก (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2565) ดังนี้
1) ที่มา/ความเป็นมาของการจัดการความรู้สำนักงาน ป.ป.ช. ประกอบด้วย แนวคิดการจัดการความรู้ เป้าหมาย วิสัยทัศน์และวัฒนธรรมการเรียนรู้ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ หลักการตามแผนบริหารจัดการความรู้และกระบวนการจัดการความรู้ ซึ่งจะเชื่อมโยงกับกระบวนการทำงานตามภารกิจและการบริหารงานภายในองค์กรที่นำไปสู่การเรียนรู้อย่างมีศักยภาพ
2) แผนงานการจัดการความรู้ (Knowledge Management Plan หรือ KM Plan) เป็นแผนงานดำเนินการจัดการความรู้ในแต่ละปีที่ถูกกำหนดขึ้นจากผู้บริหารและทีมงานจัดการความรู้ (KM Team) เพื่อใช้เป็นเป้าหมายในการดำเนินงานจัดการความรู้ขององค์กร
3) คลังสมอง ป.ป.ช. ได้แก่ ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีความรู้และประสบการณ์ วิทยากร และผู้ทรงคุณวุฒิ ของสำนักงาน ป.ป.ช.
4) คลังความรู้ขององค์กร (สำนัก/สถาบัน/กลุ่ม) ได้แก่ ข้อมูลองค์ความรู้ของสำนัก/สถาบัน/กลุ่ม ที่น่าสนใจหรือสำคัญและจำเป็นในการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อให้เกิดการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้ ประยุกต์ใช้ความรู้ และต่อยอดความรู้ในการทำงานที่มีประสิทธิภาพต่อไป
5) องค์ความรู้ตามภารกิจของสำนักงาน ป.ป.ช. ได้แก่ องค์ความรู้ด้านปราบปรามการทุจริต ด้านตรวจสอบทรัพย์สิน ด้านป้องกันการทุจริต ด้านกฎหมายและคดี ด้านนโยบายและแผน ด้านบริหารทรัพยากรบุคคลและฝึกอบรม ด้านบริหารงานคลัง ด้านการต่างประเทศ ด้านวิจัย ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และองค์ความรู้ด้านอื่นๆ เป็นต้น
6) การถอดองค์ความรู้ของสำนักงาน ป.ป.ช. ได้แก่ การถอดองค์ความรู้จากบุคลากรที่มีประสบการณ์หรือที่มีความเชี่ยวชาญหรือที่เป็นต้นแบบ/แบบอย่างการทำงาน ได้แก่ ผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ วิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายในและภายนอกองค์กร นักบริหาร ป.ป.ช. ระดับกลาง นักบริหาร ป.ป.ช. ระดับสูง และ นักบริหารยุทธศาสตร์ ป.ป.ช. ระดับสูง ที่มีความโดดเด่น การถอดองค์ความรู้จากโครงการ/หลักสูตรจากการฝึกอบรม การถอดองค์ความรู้จากบทความต่างๆ เป็นต้น
7) สถิติงานตามภารกิจที่สำคัญขององค์กรหรือที่เป็นข้อมูลความรู้ที่สามารถเผยแพร่ได้อย่างน่าสนใจและเหมาะสมต่อการเผยแพร่เพื่อเป็นองค์ความรู้ในการทำงานหรือดำเนินงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
8) สถิติการนำเข้าองค์ความรู้และกิจกรรม เป็นปริมาณหรือจำนวนองค์ความรู้ที่สำนัก/สถาบัน/กลุ่มได้บันทึกข้อมูลความรู้ลงในระบบการจัดการความรู้ เพื่อเผยแพร่ความรู้ทั้งภายในและภายนอกองค์กรสำนักงาน ป.ป.ช.
9) คู่มือ/แนวทางปฏิบัติงานขององค์กร เป็นคู่มือ หรือหลักการแนวทางปฏิบัติงานภายในองค์กรที่มีความสำคัญและจำเป็นในภารกิจต่างๆ เช่น คู่มือการจัดทำแผน คู่มือการพัฒนา คู่มือการประเมินผล เป็นต้น ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่ใช้ประกอบการเรียนรู้และการปฏิบัติงานหรืออ้างอิงข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
คู่มือการจัดอบรมฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของกลุ่มพัฒนาบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม สถาบันการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สัญญา ธรรมศักดิ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้มาใช้บริการได้รับทราบและเข้าใจขั้นตอนของการปฏิบัติงานในการจัดโครงการอบรมได้
การใช้เทคโนโลยีดิจิตัลเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์