Contrast
banner_default_3.jpg

มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน ของสำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดอ่างทอง

จากไชต์: สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทอง
จำนวนผู้เข้าชม: 264

18/06/2567

มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน (สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทอง)

สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทอง ดำเนินการวิเคราะห์ผลการประเมิน ITA ของสำนักงาน ป.ป.ช. โดยนำผลคะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน (สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทอง) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มาประกอบการวิเคราะห์ตามบทวิเคราะห์ดังกล่าวรวมไปถึงการนำปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกมาประกอบการวิเคราะห์ด้วย

          บทวิเคราะห์ดังกล่าวทางสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทองจะนำไปประกอบการจัดทำมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งภายในหน่วยงาน (สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ต่อไปโดยบทวิเคราะห์ดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อแสวงหาแนวทาง มาตรการ วิธีการ ผู้รับผิดชอบ และกำหนดระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรม ในการยกระดับผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงานให้สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทองสามารถรักษาระดับคะแนนการประเมินฯ และพัฒนากระบวนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพและตอบสนองนโยบายและการให้บริการประชาชนต่อไป โดยจะจำแนกบทวิเคราะห์ออกเป็น 7 ประเด็น ประกอบด้วย

  • กระบวนการปฏิบัติงานที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพ
  • การให้บริการตามภารกิจและระบบ E – Service
  • ช่องทางและรูปแบบการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารภาครัฐ
  • กระบวนการกำกับดูแลการใช้ทรัพย์สินของราชการ
  • กระบวนการสร้างความโปร่งใสในการใช้งบประมาณและการจัดซื้อจัดจ้าง
  • กระบวนการควบคุม ตรวจสอบการใช้อำนาจและการบริหารงานบุคคล
  • กลไกและมาตรการในการแก้ไขและป้องกันการทุจริตภายในหน่วยงาน

ทั้งนี้ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทองจะนำบทวิเคราะห์ ทั้ง 7 ประเด็นไปกำหนดวิธีการนำผลวิเคราะห์ไปสู่การปฏิบัติ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการรักษาระดับผลคะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงานต่อไป

1.ผลคะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน (สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทอง) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประกอบการวิเคราะห์ในการวางมาตรการ

ผลคะแนนการประเมินฯ ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 (สปจ.อ่างทอง)

          สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทอง มีผลคะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 คะแนนเฉลี่ยรวม อยู่ที่ 99.37 คะแนน ระดับของผลคะแนนอยู่ในเกณฑ์ระดับ AA ทั้งนี้จำดำเนินการจำแนกผลคะแนนในรูปแบบต่าง ๆ โดยมีรายละเอียดประกอบด้วย

จำแนกข้อมูลผลคะแนนตามแบบวัดการประเมิน 3 แบบวัดการประเมิน ประกอบด้วย   

ลำดับ

แบบวัดการประเมิน ฯ

ผลคะแนน

1

แบบวัดการมีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT)

99.70

2

แบบวัดการมีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT)

98.20

3

แบบวัดการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (OIT)

100

 

          จากผลคะแนนจะพบว่าทั้งสามส่วนมีคะแนนที่สูงกว่า 95 คะแนน ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานคะแนนเกณฑ์เป้าหมายของการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่กำหนดไว้อยู่ที่ 85 คะแนน

จำแนกข้อมูลผลคะแนนตามตัวชี้วัดการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

          หากพิจารณาคะแนนรายตัวชี้วัดการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พบว่า ทั้ง 10 ตัวชี้วัด มีผลคะแนนที่สูงกว่า 95 คะแนนซึ่งสูงกว่ามาตรฐานคะแนนที่อยู่ในระดับ 85 คะแนน โดยมีตัวชี้วัดจำนวน 6 ตัวชี้วัด มีผลคะแนนอยู่ที่ 100 คะแนน และ ตัวชี้วัดที่มีผลคะแนนน้อยที่สุดอยู่ที่ตัวชี้วัดที่ 7 ประสิทธิภาพการสื่อสาร โดยมีผลคะแนนอยู่ที่ 97.37  คะแนน

          ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากผลคะแนนทางสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทองจะต้องดำเนินกลยุทธ์เพื่อรักษาผลคะแนนการประเมินฯ ไว้ทั้ง 10 ตัวชี้วัดและรักษามาตรฐานในกรดำเนินงานของหน่วยงานไว้ให้เหมาะสม

2.บทวิเคราะห์แยกตาม 7 ประเด็น จากข้อมูลการประเมิน ITA ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

          2.1 กระบวนการปฏิบัติงานที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพ

                     เมื่อพิจารณาตามประเด็น กระบวนการปฏิบัติงานที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพจะพบว่า หากพิจารณาแยกประเด็นตามตัวชี้วัด การประเมิน ITA 2566 มีตัวชี้วัดหลายตัวชี้วัดที่ผูกโยงในประเด็นดังกล่าว ตัวอย่างเช่น ตัวชี้วัดที่ 1 การปฏิบัติหน้าที่ซึ่งครอบคลุมถึงการปฏิบัติงานในมิติต่าง ๆ ตามรายข้อคำถามทั้งนี้ภาพรวมของตัวชี้วัดดังกล่าวมีคะแนนอยู่ที่ 100 คะแนน ซึ่งเพียงตัวชี้วัด 1 เพียงตัวชี้วัดเดียวก็ครอบคลุมประเด็นการปฏิบัติงานที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพ พิจารณาจากข้อคำถามย่อยเกี่ยวกับขั้นตอนปฏิบัติงาน ระยะเวลา และการเรียกรับสินบนของเจ้าหน้าที่ ผ่านมุมมองของผู้ปฏิบัติงานภายในหน่วยงานเอง และตัวชี้วัดที่ 6 คุณภาพการดำเนินงานมีผลคะแนนอยู่ที่ 98.96 คะแนน และ ตัวชี้วัดที่ 8 การปรับปรุงการทำงาน มีคะแนนอยู่ที่ 98.26 คะแนน ถึงแม้ตัวชี้วัดดังกล่าวจะมีค่าคะแนนไม่ถึง 100 คะแนน อย่างไรก็ตามก็ยังสูงกว่า 95 คะแนนซึ่งสูงกว่าผลคะแนนค่ามาตรฐาน สะท้อนให้เห็นถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกที่เป็นผู้ให้คะแนนให้การยอมรับในการปฏิบัติงานและความโปร่งใส ร่วมถึงประสิทธิภาพงานได้อย่างชัดเจน รวมถึงในส่วนของตัวชี้วัดที่ 9 การเปิดเผยข้อมูล สำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดอ่างทองมีผลคะแนนอยู่ที่ 100 คะแนน

                     ดังนั้นเมื่อพิจารณาแล้วสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทองควรมีการกำหนดกลยุทธ์เพื่อรักษาค่าคะแนนในตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าวไว้ให้มากกว่า 95 คะแนน ทั้งนี้จากผลการวิเคราะห์ประเด็นกระบวนการปฏิบัติงานที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพ สามารถนำการวิเคราะห์ดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติได้ โดยมีการทบทวนการดำเนินงานผ่านการประชุมประจำเดือนอย่างสม่ำเสมอเพื่อทบทวนว่าเจ้าหน้าที่คนใดมีภารกิจใดอยู่ในความรับผิดชอบ และมุ่งเน้นการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในการปฏิบัติหน้าที่ให้สาธารณะชนสามารถเข้าถึงผลการปฏิบัติงานได้สะดวก เพื่อสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่

          2.2 การให้บริการตามภารกิจและระบบ E-Service  

                    เมื่อพิจารณาการให้บริการตามภารกิจและระบบ E-Service จะสามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเด็นย่อย ประกอบด้วย ประเด็นที่ย่อยที่ 2.2.1 การให้บริการตามภารกิจ พบว่า ในประเด็นตัวชี้วัดที่ 6 คุณภาพการดำเนินงานมีผลคะแนนอยู่ที่ 98.96 คะแนน ซึ่งมีผลคะแนนที่สูงกว่า 95 คะแนน โดยข้อคำถามที่มีคะแนนน้อยสุดในตัวชี้วัดที่ 6 จะอยู่ที่ข้อคำถาม “สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด มีการทำงาน หรือโครงการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนและส่วนรวม มากน้อยเพียงใด” ซึ่งมีค่าคะแนนอยู่ที่ 97.39 คะแนน และในประเด็นที่ย่อยที่ 2.2.2 ระบบ E – Service  จะต้องอ้างอิงจากตัวชี้วัดที่ 8 การปรับปรุงระบบการทำงาน ที่มีผลคะแนนอยู่ที่ 98.26 คะแนน โดยภายในตัวชี้วัดดังกล่าวมีประเด็นเรื่องระบบ E -Service ปรากฏอยู่ในข้อคำถาม “สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดมีระบบให้สามารถติดต่อหรือให้บริการทางออนไลน์หรือไม่” โดยผลคะแนนในข้อคำถามดังกล่าวอยู่ที่ 97.37 คะแนน และยังถือว่าเป็นข้อคำถามที่มีผลคะแนนน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับข้อคำถามในกรอบตัวชี้วัดเดียวกัน

                     ดังนั้นเมื่อพิจารณาทั้ง 2 ประเด็นย่อยจะพบว่าถึงแม้คะแนนของทั้งตัวชี้วัดและรายข้อคำถามที่นำมาประกอบการวิเคราะห์จะสูงกว่า 95 คะแนนซึ่งถือว่าสูงกว่ามาตรฐาน อย่างไรก็ตามสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทองจะต้องดำเนินการรักษาผลคะแนนในตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการให้บริการตามภารกิจและระบบ E -Service ไว้ให้เทียบเท่ากับผลคะแนนเดิมที่ดำเนินการไว้ โดยนำผลการวิเคราะห์ดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติ คือ การสร้างความเข้าใจกับผู้รับบริการให้มากยิ่งขึ้นผ่านการประชาสัมพันธ์บทบาทหน้าที่ คู่มือการปฏิบัติงาน และสร้างความเข้าใจในการใช้งาน E-Service ที่เกี่ยวข้องกับการบริการของสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทอง

          2.3 ช่องทางและรูปแบบการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารภาครัฐ

                     หากพิจารณาตามประเด็นดังกล่าว สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทองเลือกนำตัวชี้วัดที่ 7 ประสิทธิภาพการสื่อสารมาวิเคราะห์เนื่องจากเป็นตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประเด็นช่องทางและรูปแบบการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารภาครัฐ ซึ่งผลคะแนนในตัวชี้วัดที่ 7 อยู่ที่ 97.37 คะแนน เมื่อพิจารณาเพียงคะแนนจะพบว่าผลคะแนนสูงกว่า 95 คะแนน อย่างไรก็ตามหากพิจารณาตามรายข้อคำถาม จะพบว่ามี 2 ข้อคำถาม ประกอบด้วย 1.“สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด มีช่องทางเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย มากน้อยเพียงใด”2. “สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ประชาชนหรือผู้มารับบริการ ควรได้รับทราบอย่างชัดเจน มากน้อยเพียงใด” โดยทั้งสองข้อคำถามมีผลคะแนนอยู่ที่ 93.37 คะแนน และเป็นคะแนนที่น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับข้อคำถามอื่น ๆในตัวชี้วัดเดียวกัน

                     ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากข้อคำถามดังกล่าวจะพบว่าวิธีการนำผลวิเคราะห์ไปสู่การปฏิบัติในประเด็นช่องทางและรูปแบบการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารภาครัฐ คือ การสร้างช่องทางเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้มีช่องทางที่ง่ายและหลากหลายอีกทั้ง เป็นการเผยแพร่ข่าวสารที่สม่ำเสมอจะช่วยในการรักษาผลคะแนนตามตัวชี้วัดและยกระดับความพึงพอใจตามช่องทาง

          2.4 กระบวนการกำกับดูแลการใช้ทรัพย์สินของราชการ

                     ในประเด็นกระบวนการกำกับดูแลการใช้ทรัพย์สิ้นของราชการ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทองเลือกข้อมูลในตัวชี้วัดที่ 4 การใช้ทรัพย์สินของราชการ มาประกอบการวิเคราะห์โดยจะพบว่าเมื่อเปรียบเทียบกันระหว่าง 5 ตัวชี้วัด ตั้งแต่ตัวชี้วัดที่ 1 – 5 ตัวชี้วัดที่ 4 เป็นตัวชี้วัดที่มีผลคะแนนน้อยที่สุด โดยมีคะแนนอยู่ที่ 97.37 คะแนน หากพิจารณาตามรายข้อคำถาม ข้อคำถาม “สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด ของท่านมีการกำกับดูแลและตรวจสอบการใช้ทรัพย์สินของราชการ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการนำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว มากน้อยเพียงใด” มีผลคะแนนอยู่ที่ 90.91 คะแนน ซึ่งต่ำกว่า 95 คะแนน แต่สูงกว่าคะแนนมาตรฐานที่ 85 คะแนน

                     ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากข้อคำถามดังกล่าวจะพบว่าวิธีการนำผลวิเคราะห์ไปสู่การปฏิบัติในประเด็นกระบวนการกำกับดูแลการใช้ทรัพย์สินของราชการ จะต้องมีการเน้นย้ำการดูแลและตรวจสอบการใช้ทรัพย์สินของราชการ ในการประชุมสำคัญของสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทอง เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มีการนำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว และดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ

          2.5 กระบวนการสร้างความโปร่งใสในการใช้งบประมาณและการจัดซื้อจัดจ้าง

                     ในประเด็นกระบวนการสร้างความโปร่งใสในการใช้งบประมาณและการจัดซื้อจัดจ้าง หากพิจารณาตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องจะประกอบด้วยตัวชี้วัดที่ 2 การใช้งบประมาณ ซึ่งมีคะแนนอยู่ที่ 100 คะแนน และหากพิจารณาเลือกความโปร่งใสจะต้องนำตัวชี้วัดที่ 9 การเปิดเผยข้อมูล ซึ่งมีคะแนนอยู่ที่ 100 คะแนน มาประกอบการวิเคราะห์ จะพบว่าทั้งสองตัวชี้วัดมีผลคะแนนอยู่ที่ 100 คะแนน

                     ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากผลคะแนนทั้งสองตัวชี้วัดจะพบว่า สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทองจะมีวิธีการนำผลการวิเคราะห์ไปสู่การปฏิบัติ คือ การเผยแพร่ข้อมูลด้านงบประมาณ และการจัดซื้อจัดจ้างอย่างสม่ำเสมอเพื่อสร้างความโปร่งใสในการใช้งบประมาณและการจัดซื้อจ้างให้เกิดขึ้นได้

          2.6 กระบวนการควบคุม ตรวจสอบการใช้อำนาจและการบริหารงานบุคคล

                     ในประเด็นการควบคุม ตรวจสอบการใช้อำนาจและการบริหารงานบุคคล หากพิจารณาตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องจะสอดคล้องกับตัวชี้วัด ที่ 3 การใช้อำนาจซึ่งมีผลคะแนนอยู่ที่ 100 คะแนน อย่างไรก็ตามจะต้องมุ่งเน้นความเป็นธรรมในการใช้อำนาจ และบริหารงานอยู่ในหลักความยุติธรรมจึงจะสามารถรักษาคะแนนในส่วนนี้ได้

                     ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากผลคะแนนตามตัวชี้วัดแล้วนั้น จะพบว่าสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทองจะต้องรักษาคะแนนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการควบคุม ตรวจสอบการใช้อำนาจและการบริหารงานบุคคล โดยวิธีการนำผลการวิเคราะห์ไปสู่การปฏิบัติ คือ การจัดประชุมประจำเดือนเพื่อเน้นย้ำด้านการปฏิบัติงานตามหลักนิติธรรม คุณธรรม และการบริหารงานแบบทีม

          2.7 กลไกและมาตรการในการแก้ไขและป้องกันการทุจริตภายในหน่วยงาน

                     ในประเด็น กลไกและมาตรการในการแก้ไขและป้องกันการทุจริตภายในหน่วยงาน โดยพิจารณา ตัวชี้วัด 5 การแก้ไจปัญหาการทุจริต มีผลคะแนนอยู่ที่ 100 และตัวชี้วัด ที่ 10 การป้องกันการทุจริตคะแนนอยู่ที่ 100 คะแนน เมื่อวิเคราะห์ทั้งสองตัวชี้วัดพบว่ามีผลคะแนนสูงกว่า 95 คะแนน ซึ่งสะท้อนภาพการแก้ไขและป้องกันการทุจริตของสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทอง ได้อย่างชัดเจน

                     ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากผลคะแนนตามตัวชี้วัดแล้วนั้น จะพบว่าสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทองจะต้องรักษาคะแนนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกลไกและมาตการในการแก้ไขและป้องกันการทุจริตในหน่วยงาน โดยวิธีการนำผลการวิเคราะห์ไปสู่การปฏิบัติ คือ การจัดประชุมของสำนักงาน ป.ป.ช. เพื่อเน้นย้ำประเด็นด้านจริยธรรม และการปฏิบัติราชการที่ดี

 

3.แสดงการกำหนดวิธีการนำผลการวิเคราะห์แต่ละประเด็นไปสู่การปฏิบัติ ของสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทอง

ลำดับ

ประเด็นการวิเคราะห์

วิธีการนำผลการวิเคราะห์ไปสู่การปฏิบัติ

การกำหนดผู้รับผิดชอบหรือผู้เกี่ยวข้อง

การกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการปฏิบัติ

ระยะเวลา

1

กระบวนการปฏิบัติงานที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพ

การทบทวนการดำเนินงานผ่านการประชุมประจำเดือนอย่างสม่ำเสมอเพื่อทบทวนว่าเจ้าหน้าที่คนใดมีภารกิจใดอยู่ในความรับผิดชอบ และมุ่งเน้นการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในการปฏิบัติหน้าที่ให้สาธารณะชนสามารถเข้าถึงผลการปฏิบัติงานได้สะดวก เพื่อสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่

ทุกภารกิจ

-เจ้าหน้าที่ทุกคน ในกลุ่มงานอำนวยการ

-พนักงานไต่สวน ทุกคนภายในกลุ่มงานปราบปรามกรทุจริต

-เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริต ทุกคนภายในกลุ่มงานป้องกันการทุจริต

-เจ้าพนักงานตรวจสอบทรัพย์สิน ทุกคนภายในกลุ่มงานตรวจสอบทรัพย์สิน

-นักสืบสวนคดีทุจริต ทุกคนภายในกลุ่มงานสืบสวน

1.ดำเนินการจัดประชุมสำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดอ่างทอง การปฏิบัติ

2.ดำเนินการเผยแพร่ผลการดำเนินงานของสำนักงานป.ป.ช.บนหน้าเว็บไซต์ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด

1 ต.ค. 66 – 30 ก.ย. 67

2

การให้บริการตามภารกิจและระบบ E-Service

การสร้างความเข้าใจกับผู้รับบริการให้มากยิ่งขึ้นผ่านการประชาสัมพันธ์บทบาทหน้าที่ คู่มือการปฏิบัติงาน และสร้างความเข้าใจในการใช้งาน E-Service ที่เกี่ยวข้องกับการบริการของสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทอง

เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริต กลุ่มงานป้องกันการทุจริตที่ได้รับมอบหมาย

1.เผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ คู่มือปฏิบัติงานบนเว็บไซต์สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทอง

2.เผยแพร่ช่องทางบริการ E -Service บนเว็บไซต์สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทอง

3. ประชาสัมพันธ์ผลการปฏิบัติงานของสำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดอ่างทองผ่านสื่อออนไลน์อื่น ๆ เช่น Facebook

1 ต.ค. 66 – 30 ก.ย. 67

3

ช่องทางและรูปแบบการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารภาครัฐ

การสร้างช่องทางเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้มีช่องทางที่ง่ายและหลากหลายอีกทั้ง เป็นการเผยแพร่ข่าวสารที่สม่ำเสมอ

เจ้าหน้าที่กลุ่มงานป้องกันการทุจริตที่ได้รับมอบหมาย

1.เผยแพร่ผลการดำเนินงานไปยังสื่อช่องทางอื่น ๆ อาทิ Facebook และ YouTube

2.ดำเนินการเผยแพร่อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

 

 

1 ต.ค. 66 – 30 ก.ย. 67

4

กระบวนการกำกับดูแลการใช้ทรัพย์สินของราชการ

การเน้นย้ำการดูแลและตรวจสอบการใช้ทรัพย์สินของราชการ ในการประชุมสำคัญของสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทอง

ทุกภารกิจ

-เจ้าหน้าที่ทุกคน ในกลุ่มงานอำนวยการ

-พนักงานไต่สวน ทุกคนภายในกลุ่มงานปราบปรามกรทุจริต

-เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริต ทุกคนภายในกลุ่มงานป้องกันการทุจริต

-เจ้าพนักงานตรวจสอบทรัพย์สิน ทุกคนภายในกลุ่มงานตรวจสอบทรัพย์สิน

-นักสืบสวนคดีทุจริต ทุกคนภายในกลุ่มงานสืบสวน

1.จัดประชุมประจำเดือน เน้นย้ำการใช้ทรัพย์สินของราชการ

2.มีการจัดเก็บข้อมูลการนำทรัพย์สินของราชการ (จัดทำทะเบียนคุมการใช้ทรัพย์สินของราชการ)

1 ต.ค. 66 – 30 ก.ย. 67

5

กระบวนการสร้างความโปร่งใสในการใช้งบประมาณและการจัดซื้อจัดจ้าง

การเผยแพร่ข้อมูลด้านงบประมาณ และการจัดซื้อจัดจ้างอย่างสม่ำเสมอ

เจ้าหน้าที่ภายในกลุ่มงานอำนวยการ

1.มีการเผยแพร่ข้อมูลด้านงบประมาณและความก้าวหน้าโครงการ บนเว็บไซต์สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทอง

2.มีการเผยแพร่ข้อมูลด้านการจัดซื้อจัดจ้าง บนเว็บไซต์สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทอง

1 ต.ค. 66 – 30 ก.ย. 67

6

กระบวนการควบคุม ตรวจสอบการใช้อำนาจและการบริหารงานบุคคล

การจัดประชุมประจำเดือนเพื่อเน้นย้ำด้านการปฏิบัติงานตามหลักนิติธรรม คุณธรรม และการบริหารงานแบบทีม

ทุกภารกิจ

-เจ้าหน้าที่ทุกคน ในกลุ่มงานอำนวยการ

-พนักงานไต่สวน ทุกคนภายในกลุ่มงานปราบปรามกรทุจริต

-เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริต ทุกคนภายในกลุ่มงานป้องกันการทุจริต

-เจ้าพนักงานตรวจสอบทรัพย์สิน ทุกคนภายในกลุ่มงานตรวจสอบทรัพย์สิน

-นักสืบสวนคดีทุจริต ทุกคนภายในกลุ่มงานสืบสวน

1.ดำเนินการจัดประชุมประจำเดือนเกี่ยวกับการปฏิบัติงานบนหลักนิติธรรม คุณธรรมและการบริหารงานแบบทีม

2.เผยแพร่คู่มือการปฏิบัติงานให้ทราบโดยทั่วกันภายในสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทอง

1 ต.ค. 66 – 30 ก.ย. 67

7

กลไกและมาตรการในการแก้ไขและป้องกันการทุจริตภายในหน่วยงาน

การจัดประชุมของสำนักงาน ป.ป.ช. เพื่อเน้นย้ำประเด็นด้านจริยธรรม และการปฏิบัติราชการที่ดี

ทุกภารกิจ

-เจ้าหน้าที่ทุกคน ในกลุ่มงานอำนวยการ

-พนักงานไต่สวน ทุกคนภายในกลุ่มงานปราบปรามกรทุจริต

-เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริต ทุกคนภายในกลุ่มงานป้องกันการทุจริต

-เจ้าพนักงานตรวจสอบทรัพย์สิน ทุกคนภายในกลุ่มงานตรวจสอบทรัพย์สิน

-นักสืบสวนคดีทุจริต ทุกคนภายในกลุ่มงานสืบสวน

1.ดำเนินการจัดประชุมประจำเดือนเน้นย้ำประเด็นด้านจริยธรรม และการปฏิบัติราชการที่ดี

2.เผนแพร่ข้อปฏิบัติ Do Don’t ให้เจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานทราบทั่วกันผ่านเว็บไซต์ของสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทอง

1 ต.ค. 66 – 30 ก.ย. 67

 

 

Related