Contrast
banner_default_3.jpg

ป.ป.ช. จัดกิจกรรมการฝึกอบรมพัฒนาสมรรถนะบุคลากรและยกระดับคุณภาพมาตรฐานการพัฒนาการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา

จากไชต์: สำนักต้านทุจริตศึกษา
จำนวนผู้เข้าชม: 130

21/06/2566
     สำนักงาน ป.ป.ช. โดยสำนักต้านทุจริตศึกษา จัดกิจกรรมการฝึกอบรมพัฒนาสมรรถนะบุคลากรและยกระดับคุณภาพมาตรฐานการพัฒนาการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ภายใต้โครงการพัฒนาหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (Anti - Corruption Education) ระหว่างวันที่ 11 - 13 มกราคม 2566 ด้วยระบบ Onsite และ Online Platform ผ่าน Zoom Meeting โดยมี นางแก้วตา ชัยมะโน ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานในพิธีเปิด และนางสวรรยา รัตนราช ผู้อำนวยการสำนักต้านทุจริตศึกษา กล่าวรายงาน ณ โรงแรมรอยัล ริเวอร์ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร
 
     โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะบุคลากรและยกระดับคุณภาพมาตรฐานการพัฒนาการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นศึกษาหาแนวทางการพัฒนานวัตกรรมหรือแนวทางการผลักดันเพื่อขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อสร้างสังคมที่ ไม่ทนต่อการทุจริต อีกทั้งผลักดันความร่วมมือ และให้คำปรึกษาหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาให้กับหน่วยงานด้านการศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำไปพิจารณาปรับใช้ในการเรียนการสอนในสถานศึกษาและในหน่วยงาน และรับทราบถึงผลการดำเนินการ ปัญหาที่พบระหว่างการดำเนินการ แนวทางในการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาให้ประสบความสำเร็จ
 
     กิจกรรมการฝึกอบรม มีดังนี้
     - การอภิปราย เรื่อง “พัฒนาการหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา พ.ศ. 2565 สู่การเรียนรู้สู้ภัยโกง : การพิทักษ์ทรัพยากรป่าไม้”
     โดยมีผู้อภิปรายเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ รศ.ดร. มาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ ที่ปรึกษาประธานกรรมการ ป.ป.ช./ รองประธานอนุกรรมการสร้างและพัฒนาชุดหลักสูตรและสื่อการเรียนรู้ต้านทุจริตศึกษา พ.ศ. 2565 นายเฉลิมเกียรติ สุดสาคร ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจัดการและควบคุมป่าไม้ ทำหน้าที่ผู้ตรวจราชการกรมป่าไม้ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านทรัพยากรป่าไม้ ผศ.ดร. ขวัญชัย ดวงสถาพร อาจารย์ประจำภาควิชาการจัดการป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านพิทักษ์ทรัพยากรป่าไม้ นายธันยพัฒน์ ประมวลวิทย์ ผู้อำนวยการกลุ่มไต่สวน 1 สำนักไต่สวนคดีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนายขวัญชัย ชินวงษ์ เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตชำนาญการ คณะทำงานยกร่างชุดหลักสูตรและสื่อการเรียนรู้ต้านทุจริตศึกษา พ.ศ. 2565
 
     - การอภิปราย เรื่อง “พัฒนาการหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา พ.ศ. 2565 สู่การเรียนรู้สู้ภัยโกง : การพิทักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง”
     โดยมีผู้อภิปรายเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ นายหิรัณย์เศรษฐ เหยี่ยวประยูร ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภาค 7 อนุกรรมการสร้างและพัฒนาชุดหลักสูตรและสื่อการเรียนรู้ต้านทุจริตศึกษา พ.ศ. 2565 นายสนใจ หะวานนท์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านทรัพยากรทางทะเลแลชายฝั่ง ผศ.ดร.สุชาย วรชนะนันท์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านพิทักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นายนรภัทร เดโชพยัตชัย เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตชำนาญการ คณะทำงานยกร่างชุดหลักสูตรและสื่อการเรียนรู้ต้านทุจริตศึกษา พ.ศ. 2565 และนายณัฐปกรณ์ ประเสริฐสุข เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตชำนาญการ คณะทำงานยกร่างชุดหลักสูตรและสื่อการเรียนรู้ต้านทุจริตศึกษา พ.ศ. 2565
 
     นอกจากนี้ยังมีการแบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา พ.ศ. 2565 เรื่อง การพิทักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และการพิทักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง การแบ่งกลุ่มประชุมเชิงปฏิบัติการ กำหนดแผนการขยายผลหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา พ.ศ. 2565 การแบ่งกลุ่มประชุมเชิงปฏิบัติการกำหนดแนวทางการผลักดันหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา พ.ศ. 2565 โดย คณะทำงานยกร่างชุดหลักสูตรและสื่อการเรียนรู้ต้านทุจริตศึกษา พ.ศ. 2565 การนำเสนอผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ สรุปผลการเรียนรู้ การวิพากษ์ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ กำหนดแผนการขยายผลหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา พ.ศ. 2565 เพื่อให้การขับเคลื่อนหลักสูตรเกิดสัมฤทธิผลในคนทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัยในทุกพื้นที่ต่อไป
 
     สำหรับกลุ่มเป้าหมายการฝึกอบรมในครั้งนี้ มีจำนวน 300 คน ประกอบด้วย เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตจากสำนักงาน ป.ป.ช. 9 ภาค / สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด 76 จังหวัด และโค้ชชมรม STRONG จิตพอเพียงต้านทุจริต 76 จังหวัด และ โค้ชชมรม STRONG จิตพอเพียงต้านทุจริตกรุงเทพมหานคร 6 พื้นที่
 
     ซึ่งการฝึกอบรมพัฒนาสมรรถนะบุคลากรและยกระดับคุณภาพมาตรฐานการพัฒนาการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษานี้ เป็นโครงการที่กำหนดดำเนินการต่อเนื่องภายหลังการจัดทำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2564 พ.ศ. 2565 เพื่อสร้างวิทยากรกลุ่มแรกในการขยายผลหลักสูตรต้านฯ ในแต่ละปี และผลักดันการใช้หลักสูตรในกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

Related