Contrast
be0667639d8a6900bf8807919e8c90a0.png

หน้าที่และอำนาจของสำนักกฎหมาย

จากไชต์: สำนักกฎหมาย
จำนวนผู้เข้าชม: 188

26/04/2566

สำนักกฎหมาย มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้

(1) ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนา ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย

(2) ศึกษา ค้นคว้า ปรับปรุง แก้ไข ยกร่างกฎหมาย กฎระเบียบของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และสำนักงาน ป.ป.ช.

(3) ให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะ และให้ความเห็นทางกฎหมายตามรัฐธรรมนู ญ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การตอบข้อหารือทางด้านกฎหมายที่เกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจ ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และสำนักงาน ป.ป.ช.

(4) ศึกษา วิเคราะห์ กฎหมายต่างประเทศและเอกสารทางกฎหมายของต่างประเทศ รวมทั้งศึกษาเปรียบเทียบงานด้านกฎหมายของต่างประเทศ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงาน ของสำนักงาน ป.ป.ช.

(5) ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อดำเนินการยกร่างหรือปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการ ป.ป.ช.

(6) ตรวจสอบนิ ติกรรมสัญญาซึ่งสำนักงาน ป.ป.ช. เป็นคู่สัญญา รวมทั้งบันทึกข้อตกลงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

(7) จัดทำเอกสารทางวิชาการกฎหมายของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และการให้ความรู้ทางด้านกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน ของรัฐหรือสถาบันการศึกษาและประชาชน

(8) จัดวางระบบ สารบัญกฎหมาย ประกาศ คำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ และปรับปรุงแก้ไขให้ทันสมัย

(9) ประสานงานกับรัฐสภาและติดตามการตรากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือกฎหมายอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย และประสานความร่วมมือทางด้านกฎหมายกับนักกฎหมายภาครัฐของหน่วยงานของรัฐ

(10) สนับสนุนงานฝ่ายเลขานุการของคณะอนุกรรมการกฎหมายและระเบียบ

(11) ประสานและปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือสำนักงาน ป.ป.ช. มอบหมาย ตลอดจนสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

Related