Contrast
banner_default_3.jpg

เปิดรับฟังความคิดเห็น (ร่าง) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การชะลอการดำเนินคดีอาญานิติบุคคล)

จากไชต์: สำนักกฎหมาย
จำนวนผู้เข้าชม: 159

15/11/2566

เปิดรับฟังความคิดเห็น (ร่าง) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การชะลอการดำเนินคดีอาญานิติบุคคล)

คำอธิบาย :

โดยที่ลักษณะคดีที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งมีนิติบุคคลเป็น ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดเป็นคดีที่นิติบุคคลรับผิดได้เพียงโทษปรับเท่านั้น แม้ว่าจะมีการแก้ไขเพิ่มเติม โทษปรับให้สูงขึ้นแล้วก็ยังไม่เพียงพอที่จะยับยั้งหรือควบคุมการกระทำความผิดได้ ในขณะเดียวกันกรณีที่ศาลมี คำพิพากษาลงโทษปรับนิติบุคคลอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการลงทุนของประเทศอย่างมีนัยยะสำคัญ อีกทั้ง การดำเนินคดีดังกล่าวยังส่งผลให้ภาครัฐหรือผู้เสียหายได้รับการเยียวยาที่ล่าช้าอีกด้วย ฉะนั้น เพื่อให้การดำเนินคดีกับนิติบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิดเป็นไปอย่างรวดเร็วและ มีประสิทธิภาพ จึงสมควรนำหลักการของการระงับคดี (Non - Trial Resolutions หรือ Settlements) ของต่างประเทศมาใช้บังคับเพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บังคับใช้กฎหมาย โดยเพิ่มกลไกการชะลอการไต่สวน นิติบุคคล กรณีที่นิติบุคคลแสดงความประสงค์หรือยินยอมให้ถ้อยคำหรือข้อมูลอันเป็นสาระสำคัญ ในการที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานในการวินิจฉัยชี้มูลการกระทำความผิด และการยินยอมชำระเงินค่าปรับ ค่าเสียหาย การเยียวยาความเสียหายแก่รัฐหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำความผิด นอกจากนี้ กลไก การระงับคดีดังกล่าวยังถือเป็นการดำเนินคดีกับนิติบุคคลที่เทียบเท่ากับมาตรฐานสากลในฐานะ ที่ประเทศไทยเป็นภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. ๒๐๐๓ (UNCAC) และ สอดคล้องกับหลักการตามอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศในการทำ ธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) อีกทั้ง ยังสอดคล้องตามแผนปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ กิจกรรมปฏิรูปที่ ๓ ด้วย ฉะนั้น เพื่อให้การดำเนินคดีกับนิติบุคคลที่กระท าความผิดดังกล่าวเป็นไป อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้

ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นได้ในระหว่างวันที่ ๑ - ๓๐ พฤศจิกายยน ๒๕๖๖ โดยสามารถกดลิงค์หรือแสกนคิวอาร์โค้ด เพื่อแสดงความคิดเห็นด้านล่างนี้

qrcode

Related