Contrast
banner_default_3.jpg

หน้าที่และอำนาจสำนักไต่สวนการทุจริตภาครัฐ 2

จากไชต์: สำนักไต่สวนการทุจริตภาครัฐ 2
จำนวนผู้เข้าชม: 144

28/06/2566

หน้าที่และอำนาจของสำนักไต่สวนการทุจริตภาครัฐ 2

1) ฝ่ายบริหารทั่วไป หน้าที่ความรับผิดชอบ

   (1) ปฏิบัติงานธุรการและงานสารบรรณของสํานัก

   (2) ปฏิบัติงานเลขานุการและงานการประชุมของสํานัก

   (3) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับพัสดุ ครุภัณฑ์ การเงินและงบประมาณประจํางวดของสํานัก

   (4) ดําเนินการเกี่ยวกับงานบริหารทรัพยากรบุคคลเบื้องต้นของสํานัก 

   (5) วิเคราะห์และจัดทําแผนการพัฒนาองค์กรต่างๆ ของหน่วยงาน เช่น การบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน และสนับสนุนข้อมูลสําหรับการบริหารจัดการของผู้บังคับบัญชา 

   (6) ประสานการจัดทําแผนงาน โครงการ และงบประมาณ รวมทั้งการรายงานผลการปฏิบัติงานการใช้จ่ายงบประมาณและสถิติของสํานัก 

   (7) ปฏิบัติงานธุรการและช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ คณะกรรมการไต่สวน หัวหน้าพนักงานไต่สวน และพนักงานไต่สวนที่ได้รับมอบหมายให้ดําเนินการไต่สวน 

   (8) รวบรวม จัดเก็บ และตรวจสอบข้อมูลปริมาณงานคดีของสํานักอย่างเป็นระบบ 

   (9) ประสานงานและปฏิบัติงานอื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย ตลอดจนสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง  

2) กลุ่มไต่สวน

    หน้าที่ความรับผิดชอบทั่วไป

    (1) ตรวจสอบเบื้องต้น ไต่สวนเบื้องต้นและไต่สวน รวมทั้งเสนอความเห็นเพื่อประกอบการวินิจฉัย กรณีมีการกล่าวหาหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของรัฐ ได้แก่ กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ใดกระทําความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิ ด ต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุ ติธรรม หรือฐานความผิดอื่นที่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตกําหนดหรือที่ มีกฎหมายกําหนดให้อยู่ในหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมการ ป . . ช.

    (2) ตรวจสอบหรือสอบสวนกรณีที่ได้รับบัตรสนเท่ห์ การแจ้งข้อมูล เบาะแส หรือพยานหลักฐาน หรือกรณีมีเหตุอันควรสงสัยสําหรับการกระทําผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐตาม (๑) ที่อยู่ในหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. 

    (3) ตรวจสอบและพิจารณารายงานผลการดําเนินการและสํานวนเรื่องกล่าวหาการกระทําผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐตาม (๑) ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ หรือส่วนราชการ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐได้ดําเนินการตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. พร้อมทั้งเสนอความเห็น เพื่อประกอบการวินิจฉัยของคณะกรรมการ ป.ป.ช. 

   (4) ดําเนินการหรือประสานงานเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการเกี่ยวกับการจับ การควบคุมตัว การคุมขัง และการปล่อยชั่วคราวผู้ถูกกล่าวหา รวมทั้งการค้น ยึด หรืออายัดเอกสาร ทรัพย์สิน หรือพยานหลักฐาน และการริบทรัพย์สิน 

   (5) ดําเนินการและประสานงานทางคดีร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามผลคดี รวมทั้งสรุปความเห็นเสนอ คณะกรรมการ ป.ป.ช. 

   (6) เป็นผู้แทนฝ่ายคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในคณะกรรมการร่วมกับผู้แทนฝ่ายอัยการสูงสุด เพื่อพิจารณาหาข้อยุติเกี่ยวกับการฟ้องคดี 

   (7) รายงานความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานในเรื่องกล่าวหาที่รับผิดชอบตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือสํานักงาน ป.ป.ช. กําหนด 

   (8) เสนอแนะเพื่อพัฒนาระบบงาน รูปแบบ และวิธีการดําเนินการไต่สวน

   (9) ประสานงานและปฏิบัติงานอื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย ตลอดจนสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง 

Related