Contrast
banner_default_3.jpg

กิจกรรมการปลุกจิตสำนึก และสร้างวัฒนธรรมองค์กร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

จากไชต์: สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดบึงกาฬ
จำนวนผู้เข้าชม: 87

05/01/2567

วันที่ 5 มกราคม 2567 นางสาวนันท์นภัส สืบสัมพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดบึงกาฬ จัดประชุมสรุปผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ณ ห้องประชุมสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดบึงกาฬ (ชั้น 2) เพื่อติดตามผลการปฏิบัติราชการ พร้อมรับฟังปัญหาอุปสรรคที่เกิดจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ตลอดจนกำหนดแผนงานที่จะดำเนินงานในไตรมาสที่ 2 (เดือนมกราคม - มีนาคม 2567) และได้ให้ข้อเสนอแนะการปฏิบัติงานของแต่ละกลุ่มภารกิจ เพื่อให้มีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมาย ตามแผนปฏิบัติการและแผนการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน ทั้งนี้ ได้มอบนโยบายการปฏิบัติงานให้แก่เจ้าหน้าที่ทุกคน ดังนี้

  1. กำชับให้เจ้าหน้าที่ทุกคนปฏิบัติตามนโยบาย NO GIFT POLICY อย่างเคร่งครัด ไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่โดยเด็ดขาด
  2. การไม่รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาสำหรับหน่วยงาน ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ตามมาตรา 128 แห่ง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 เพื่อแสดงถึงความโปร่งใส สร้างความศรัทธาและเชื่อมั่นแก่สังคมว่า สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดบึงกาฬ เป็นองค์กรธรรมาภิบาล
  3. ให้เจ้าหน้าที่ทุกคนปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ ให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ปฏิบัติหน้าที่อย่างเท่าเทียมโดยไม่เลือกปฏิบัติ หากมีปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานสามารถปรึกษาปัญหากับผู้อำนวยการฯได้ตลอดเวลา
  4. ให้เจ้าหน้าที่ทุกคนปฏิบัติงานโดยเห็นประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว ไม่เบียดบังเวลาราชการ มุ่งเน้นการทำงานให้เต็มที่เพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
  5. ให้มีการประเมินความพึงพอใจของบุคคลภายนอกที่มีต่อสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดบึงกาฬ โดยมอบหมายเจ้าหน้าที่จัดทำกล่องแสดงความคิดเห็น เมื่อมีผู้มารับบริการให้แสกน QR Code เพื่อทำแบบประเมินความพึ่งพอใจในการรับบริการ
  6. นางสาวนันท์นภัส สืบสัมพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดบึงกาฬ กำชับเรื่องการปฏิบัติงานตามค่านิยมหลักขององค์กร “ซื่อสัตย์ เป็นธรรม มืออาชีพ โปร่งใส ตรวจสอบได้” และยึดถือปฏิบัติตนตามประมวลจริยธรรมเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน ป.ป.ช. พ.ศ. 2563 ดังนี้
  • จริยธรรมในการดำรงตน ต้องรักษาชื่อเสียงของตน รักษาภาพลักษณ์ของหน่วยงาน และรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการมิให้เสื่อมเสีย ไม่ให้บุคคลภายในครอบครัว ญาติพี่น้อง บุคคลใกล้ชิด ยุ่งเกี่ยวหรือก้าวก่ายการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้ตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนแสวงหาประโยชน์ ปฏิบัติงานโดยไม่เห็นแก่ความสัมพันธ์ส่วนตัว ห้ามมิให้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ใด ต้องระมัดระวังในการแสดงตน หลีกเลี่ยงการคบหาสมาคมกับบุคคล ซึ่งมีส่วนได้เสียหรือผลประโยชน์กับเรื่องร้องเรียน ไม่กระทำการอันมีลักษณะเป็นการล่วงละเมิด หรือคุกคามทางเพศ
  • มีจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยยึดมั่นและยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง สุภาพเรียบร้อย มีจิตสำนึกที่ดีในการให้บริการ ให้ประชาชนได้รับทราบถึงข้อมูลข่าวสารของทางราชการตามสิทธิที่ควรจะได้รับตามกฎหมายบัญญัติ และต้องรักษาความลับของทางราชการ ไม่กระทำการอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม ไม่นำความสัมพันธ์ส่วนตัวมาเป็นเหตุให้การใช้ดุลยพินิจที่เป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลนั้น ไม่เบียดบังเวลาราชการเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ดูแลรักษาและใช้ทรัพย์สินของทางราชการอย่างประหยัดและคุ้มค่า วางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ และไม่กระทำการโดยไม่สุจริต หรือเอื้อประโยชน์กลั่นแกล้งผู้อื่นในการปฏิบัติราชการ
  • จริยธรรมในการตรวจสอบและไต่สวน เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติงานอำนวยความยุติธรรม ด้วยความรวดเร็ว รับผิดชอบ เป็นธรรม ทั่วถึง โปร่งใส รอบคอบ ตรวจสอบได้ รักษาความลับของทางราชการ เมื่อมีเหตุที่ตนอาจถูกคัดค้านให้ถอนตัวจากการตรวจสอบและไต่สวน ต้องประพฤติตนเป็นที่น่าเชื่อถือ และไว้วางใจได้ ปฏิบัติต่อผู้กล่าวหา ผู้ถูกร้อง ผู้ถูกกล่าวหา ผู้เสียหาย ผู้ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน พยานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้วยความเสอภาคปราศจากการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นการ ให้คำมั่นสัญญา จูงใจ ขู่เข็ญ หลอกลวง และก่อนจะแจ้งข้อกล่าวหาต้องคำนึงถึงสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินหนี้สิน

Related