จากไชต์: สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดกำแพงเพชร
จำนวนผู้เข้าชม: 1402
การขอรับการสนับสนุนจากกองทุน ป.ป.ช. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
สำนักงาน ป.ป.ช. เปิดให้ภาคประชาชน ภาคเอกชน และหน่วยงานของรัฐ ขอรับการสนับสนุนในลักษณะของเงินอุดหนุนจากกองทุน ป.ป.ช. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยมีรายละเอียดลักษณะโครงการ ดังนี้
1.1 กลุ่มเป้าหมาย: เด็กและเยาวชน
(1) โครงการที่ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีจิตสำนึกในความซื่อสัตย์สุจริต ปลูกฝังวิธีคิดปลุกจิตสำนึกให้มีวัฒนธรรมและพฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริต สามารถแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต โดยใช้หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา
(2) โครงการที่มีกิจกรรมต่อยอด ยกระดับการเรียนรู้จากการเรียนหรือการอบรมเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตจากสำนักงาน ป.ป.ช. หรือหน่วยงานอื่นที่เคยได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุน ป.ป.ช. เพื่อคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ หรือแนวทางในการป้องกันการทุจริตในสถานศึกษาหรือชุมชน
(3) โครงการที่สร้างเสริมความเข้าใจและสนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กและเยาวชนให้ตระหนัก หวงแหน และมีส่วนร่วมในการรักษาผลประโยชน์สาธารณะ หรือมีความรับผิดชอบต่อสังคม การไม่ยอมรับและไม่ทนต่อการทุจริต จนนำไปสู่แนวคิดในการป้องกันการทุจริตในสถานศึกษาหรือชุมชน
1.2 กลุ่มเป้าหมาย: ประชาชน ชุมชน และองค์กรเครือข่าย
(1) โครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศักยภาพหรือต่อยอดจากการอบรมหรือการดำเนินกิจกรรมด้านการป้องกันการทุจริต โดยวิเคราะห์และสำรวจเลือกพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการทุจริต การขัดกันของผลประโยชน์ ความเดือดร้อนของประชาชนอันเนื่องจากการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานรัฐหรือเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งใช้ฐานข้อมูลพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการทุจริตจากสำนักงาน ป.ป.ช. หรือหน่วยงานในพื้นที่มาประกอบการดำเนินโครงการ จนนำไปสู่ผลลัพธ์ในการร่วมกันสร้างแนวทางป้องกันการทุจริตพื้นที่ หรือการแจ้งเบาะแสความเสี่ยงต่อการทุจริตให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป
(2) โครงการที่ส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริต และไม่เพิกเฉยต่อการทุจริตประพฤติมิชอบในพื้นที่ โดยการใช้ STRONG Model หรือหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา
(3) โครงการที่ส่งเสริมให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันการทุจริตโดยการติดตาม เฝ้าระวัง ประเมินสภาวการณ์อย่างรวดเร็ว เพื่อเตือนภัยเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่บ่งชี้ว่าอาจมีการทุจริตเกิดขึ้น เพื่อเป็นการป้องปรามการทุจริตที่อาจเกิดขึ้น จนนำไปสู่การแจ้งข้อมูลให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปขยายผลต่อไป
(4) โครงการที่นำองค์ความรู้ด้านการป้องกันการทุจริตไปประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ รวมถึงการดำเนินงานของภาครัฐ โดยการจับตามอง การเฝ้าระวังความเสี่ยงในพื้นที่ ด้วยวิธีการคัดเลือกประเด็นและพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงที่เกิดการทุจริตจากการปักหมุดความเสี่ยง จนนำไปสู่การแจ้งข้อมูลเบาะแสความเสี่ยงต่อการทุจริตให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป
(5) โครงการที่ส่งเสริมให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการทำงานแบบบูรณาการร่วมกับสำนักงาน ป.ป.ช. ในการขับเคลื่อนมาตรการในการป้องกันการทุจริต
2.1 กลุ่มเป้าหมาย: นักธุรกิจ นักลงทุนที่เป็นชาวไทยและต่างประเทศ หอการค้าไทยและต่างประเทศ สามคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ทูตหรือนักการทูต สภาอุตสาหกรรม สื่อมวลชนไทยและต่างประเทศ ประชาชนทั่วไป หน่วยงานภาครัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
(1) การประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้สังคมไทยและนานาชาติได้รับรู้ถึงผลการดำเนินงานการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ผลงานการบริหารจีดการเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตของประเทศไทยที่จริงจังเป็นรูปธรรม
(2) การประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับภัยของการทุจริต และส่งเสริมให้เข้ามามีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริต การเฝ้าระวัง การค้นหาเบาะแสข้อเท็จจริง และแจ้งเบาะแสเมื่อพบเห็นการกระทำทุจริต
(3) โครงการรณรงค์ต่อต้านการทุจริต (Impact Campaign)
(4) การประชาสัมพันธ์ส่งเสริมบุคคลที่ดำรงตนด้วยความซื่อสัตย์สุจริต หรือหน่วยงานที่บริหารงามตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี
2.2 กลุ่มเป้าหมาย: เด็ก เยาวชน ประชาชนทั่วไป ชุมชน หน่วยงานรัฐ สถาบันเอกชน และองค์กรภาคธุรกิจเอกชน
(1) โครงการขยายผลการสร้างเครือข่าย STRONG – องค์กรพอเพียงต้านทุจริตในองค์กรภาคธุรกิจเอกชน/สถาบันอุดมศึกษาภาคเอกชน
(2) โครงการพัฒนาต่อยอดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านทุจริตจากชมรม STRONG – องค์กรพอเพียงต้านทุจริต
(3) โครงการที่ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน มีการแสดงออกเชิงพฤติกรรมในการต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ
(4) โครงการที่เป็นการขยายผลการให้ความรู้ตามหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาของสถาบันการศึกษาภาคเอกชน และต่อยอดหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาให้เป็นรายวิชาหรือส่วนหนึ่งของรายวิชาในสถาบันการศึกษาภาคเอกชน
(5) โครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรมสื่อเชิงสร้างสรรค์ที่เหมาะสมกับช่วงวัยภายใต้หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา
(6) โครงการที่ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์ความรู้ในด้านการค้นหาเบาะแส แจ้งเบาะแส และข้อมูลเชิงลึกอย่างมีประสิทธิภาพ
(7) โครงการที่ที่เกี่ยวข้องกับการรณรงค์เพื่อส่งเสริมองค์กรภาคธุรกิจเอกชนให้มีนโยบายการดำเนินงานที่ยึดถือแนวทางบรรษัทภิบาลหรือการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อพัฒนาองค์กรสู่การเป็นองค์กรโปร่งใสไร้ทุจริต
(8) โครงการที่สร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการประเมินความเสี่ยงการทุจริตในภาคเอกชน
(9) โครงการที่ส่งเสริมให้มีการกำหนดมาตรการควบคุมภายในเพื่อป้องกันการให้สินบนฯ ตามแนวทางการสร้างมาตรการควบคุมเชิงปฏิบัติ ของแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC)
(10) โครงการที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบเฝ้าระวังการทุจริตทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ
กลุ่มเป้าหมาย: เจ้าหน้าที่/บุคลากรของหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานในกำกับ เด็ก เยาวชน ประชาชนทั่วไป หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานในกำกับ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนและสถาบันการศึกษา
(1) โครงการที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการสร้างหรือขยายเครือข่ายขององค์กรในการสร้างองค์ความรู้ วิธีการเฝ้าระวัง/ตรวจสอบ และเพิ่มศักยภาพแก่กลุ่มเป้าหมายในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และรณรงค์การป้องกันการทุจริต เพื่อปลูกฝังวิธีคิด ปลุกจิตสำนึกในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และเสริมสร้างพฤติกรรม วัฒนธรรมสุจริตและต่อต้านการทุจริต
(2) โครงการบูรณาการต่อยอด ขยายผล ยกระดับการเรียนรู้เกี่ยวกับหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา เพื่อมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรม รวมถึง โครงการที่เป็นการขยายผลการให้ความรู้ตามหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาของสถาบันการศึกษา และต่อยอดหลักสูตรต้านทุจริตให้เป็นรายวิชาหรือส่วนหนึ่งของรายวิชาในสถาบันการศึกษา
(3) โครงการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการยกระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA)
(4) โครงการที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการยกระดับธรรมาภิบาลในหน่วยงานรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(5) โครงการที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของกระบวนการยุติธรรมในการดำเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
(6) โครงการที่ส่งเสริมการรับรู้/เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ นวัตกรรมของหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา
(7) โครงการพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนภายใต้หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา
(8) โครงการที่สร้างการตื่นรู้ และการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบติดตาม และเฝ้าระวังการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐในระดับพื้นที่
(9) โครงการที่ส่งเสริมกลุ่มเป้าหมายให้มีส่วนร่วมในการออกแบบมาตรการ ให้ความเห็น ข้อเสนอแนะ ในการป้องกันการทุจริตในระดับพื้นที่เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ หรือร่วมค้นหาปัญหาในระดับพื้นที่ เสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปศึกษาเพิ่มเติม เพื่อจัดทำเป็นมาตรการในการป้องกันการทุจริตในแต่ละพื้นที่
โดยเปิดรับคำขอรับการสนับสนุนในระหว่างวันที่ 16 กันยายน – 31 ตุลาคม 2567 ภายในเวลา 16.30 น. ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ https://drive.google.com/drive/folders/1SCeUWEsuHmoNHC7xEAhVPnfhL8mC9IRy?usp=sharing ทั้งนี้ ผู้ขอรับการสนับสนุนสามารถยื่นแบบคำขอ (แบบ กช.1) พร้อมเอกสารหลักฐานได้ตามช่องทาง ดังนี้