Contrast
banner_default_3.jpg

หน้าที่และอำนาจ

จากไชต์: สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดชัยนาท
จำนวนผู้เข้าชม: 333

08/06/2565

หน้าที่และอำนาจของสํานักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด

    ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 143 มาตรา 161 ได้กำหนดให้มีสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัด เรียกโดยย่อว่า “สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด” เป็นส่วนราชการในสังกัดสำนักงาน ป.ป.ช. มีผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด เป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด และตามประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการและหน้าที่และอำนาจของส่วนราชการในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ได้กำหนดให้สำนักงาน ป.ป.ช. แบ่งกลุ่มภารกิจออกเป็น 7 กลุ่ม โดยกลุ่มภารกิจปฏิบัติการพื้นที่ ประกอบด้วย สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 1-9 และสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด จำนวน 76 จังหวัด

    สํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัดชัยนาท มีหน้าที่และอํานาจ ดังนี้

  1. ดําเนินการเกี่ยวกับการบูรณาการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประสานกับสํานักงาน ป.ป.ช. ภาค รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ ในการดําเนินภารกิจด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
    และการดําเนินการเพื่อขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
  2. จัดทําแผนงาน โครงการ และกิจกรรมด้านการป้องกันการทุจริตของสํานักงานป.ป.ช. ประจําจังหวัด และดําเนินการตามแผนงาน โครงการ และกิจกรรม รวมทั้งติดตามประเมินผลและรายงานผล
    การดําเนินการต่อสํานักงาน ป.ป.ช. ภาค
  3. ประสาน ติดตาม และให้คําปรึกษาหรือข้อเสนอแนะกับหน่วยงานภาครัฐในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบในการดําเนินการตามมาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
  4. ประสานกับหน่วยงานในส่วนกลางสํานักงาน ป.ป.ช. และสํานักงาน ป.ป.ช. ภาค เพื่อร่วมตรวจสอบ กรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการดําเนินการอย่างใดในหน่วยงานของรัฐ
    อันอาจนําไปสู่การทุจริตหรือส่อว่าอาจมีการทุจริต
  5. ประสานกับสํานักงาน ป.ป.ช. ในส่วนกลางและสํานักงาน ป.ป.ช. ภาค เป็นเครือข่าย เพื่อร่วมกันสํารวจ ตรวจสอบ ติดตาม เฝ้าระวัง ประเมินสภาวการณ์การทุจริตอย่างรวดเร็ว (rapid appraisal)
    เพื่อให้เกิดการป้องกันโดยเร็ว
  6. ศึกษา วิเคราะห์สภาพปัญหาการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในเขตจังหวัด เพื่อเสนอความเห็นและข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
  7. รับเรื่องกล่าวหาในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ และดําเนินการตรวจสอบเบื้องต้น กรณีมีการกล่าวหาหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบผู้ใดกระทําความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือฐานความผิดอื่นที่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตกําหนด หรือที่มีกฎหมายกําหนดให้อยู่ในหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมการป.ป.ช. แต่ไม่รวมถึงหน้าที่และอํานาจในการไต่สวนเบื้องต้น เว้นแต่คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะมีมติมอบหมายให้ดําเนินการไต่สวนเบื้องต้นเฉพาะกรณี
  8. ตรวจสอบและพิจารณารายงานผลการดําเนินการและสํานวนเรื่องกล่าวหาการกระทําผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ หรือส่วนราชการ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ได้ดําเนินการตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. พร้อมทั้งเสนอความเห็นเพื่อประกอบการวินิจฉัยของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
  9. รับและตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริง รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินภายในเขตจังหวัด
    ที่รับผิดชอบตามที่กฎหมายกําหนด
  10. เปิดเผยผลการตรวจสอบและบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ และเอกสารประกอบของผู้มีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินภายในเขตจังหวัด
    ที่รับผิดชอบตามที่กฎหมายกําหนด
  11. จัดทําฐานข้อมูลทางด้านงานคดี งานตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน งานป้องกันการทุจริต และงานด้านการบริหารภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
  12. ประสานและปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. สํานักงาน ป.ป.ช. หรือสํานักงาน ป.ป.ช. ภาคมอบหมาย ตลอดจนสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

     

     ตามประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการและหน้าที่และอำนาจของส่วนราชการในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2566
ได้กำหนดให้สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด มีหน้าที่และอำนาจเพิ่มเติม ดังนี้

1. ดำเนินการเกี่ยวกับงานการสืบสวน งานด้านการข่าว และการต่อต้านข่าวกรอง ที่เกี่ยวกับการทุจริต การติดตามตรวจสอบสถานการณ์และข้อมูลข่าวสารการทุจริตจากสื่อต่าง ๆ รวมทั้งวิเคราะห์และประมวลผลสรุปข้อมูลข่าวสารการทุจริต
2. ประสานเครือข่ายการปฏิบัติงานข่าวกับแหล่งข่าวบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง
3. ติดตามบุคคลตามหนังสือเรียกตัวเป็นพยานและบุคคลที่ถูกหมายของศาล และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการคุ้มครองพยานและการกันบุคคลไว้เป็นพยานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ดำเนินการและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจับ การควบคุมตัว การคุมขังและการปล่อยชั่วคราวผู้ถูกกล่าวหาตามที่ได้รับมอบหมาย

Related