สำนักมาตรการเชิงรุกและนวัตกรรม มีหน้าที่และอำนาจตามประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการและหน้าที่และอำนาจ ของส่วนราชการในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2561* ดังนี้ |
Announcement of the National Anti-Corruption Commission |
|
(1) ศึกษา วิเคราะห์ พร้อมทั้งเสนอจัดทำมาตรการและนวัตกรรม ความเห็น ข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในเรื่องการปรับปรุงการปฏิบัติราชการ หรือวางแผนงาน โครงการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐเพื่อป้องกันหรือปราบปรามการทุจริต การกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม | (1) To study, analyze and propose measures and innovation, opinions and recommendations to the NACC in improving government service or formulating action plan for projects of the government agencies, state enterprises or other state agencies to prevent or suppress corruption and the commission of offences of malfeasance in office or in judicial office.; | |
(2) ศึกษา วิเคราะห์ พร้อมทั้งเสนอมาตรการและนวัตกรรม ความเห็น ข้อเสนอแนะ ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการจัดให้มีมาตรการและกลไกที่มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันและขจัด การทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน | (2) To study, analyze and propose measures and innovation, opinions and recommendations to the NACC in providing efficient measures and mechanisms in order to prevent and eradicate corruption and misconducts in both public and private sectors; | |
(3) ศึกษา วิเคราะห์ พร้อมทั้งเสนอมาตรการ ความเห็น ข้อเสนอแนะ ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมาตรการใดที่เป็นช่องทางให้มีการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ หรือเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ ของรัฐไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดผลดีต่อราชการได้ | (3) To study, analyze and propose measures, opinions and recommendations to the NACC to advice relevant agencies in amending laws, statues, regulations, ordinance, or any measures, which may be channel of corruption or misconduct or which may render state official incapable of performing duty for the interest of the state; | |
(4) เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตาม (1), (2) และ (3) ต่อคณะรัฐมนตรี รัฐสภา ศาล องค์กรอิสระ หรือองค์กรอัยการ | (4) To propose NACC consideration results in accordance with (1), (2) and ( 3) aforementioned to the Cabinet, Parliament, Courts of Justice, independent agencies or public prosecutor organ; | |
(5) ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำมาตรการ ความเห็น และข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งติดตามผลและปัญหาอุปสรรค ในการดำเนินการเพื่อรายงานให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบต่อไป | (5) To coordinate with relevant agencies in implementing measures, opinions and recommendations regarding corruption prevention and suppression, and track results and challenges for further report to submit to the NACC; | |
(6) ดำเนินการเพื่อจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อการจัดทำมาตรการ ความเห็น หรือข้อเสนอแนะ ซึ่งเป็นเรื่องที่กระทบต่อประโยชน์สาธารณะตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด | (6) To take action so as to organize public consultation in the issuance of measures, opinions or recommendations, which impact public interest in accordance with criteria and procedures as prescribed by the NACC; | |
(7) วิเคราะห์ ศึกษา รูปแบบพฤติกรรมการทุจริตลักษณะต่าง ๆ จากเรื่องกล่าวหา ที่ร้องเรียนมายังสำนักงาน ป.ป.ช. หรือจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการจัดทำมาตรการ ป้องกันการทุจริต รวมทั้งเป็นฐานข้อมูลเพื่อทำการศึกษา วิเคราะห์ วิจัยถึงแนวโน้มที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตในอนาคต พร้อมทั้งเสนอแนวทางเพื่อป้องกันมิให้เกิดการทุจริต | (7) To analyze, study various corruption behavior forms from allegations submitted to Office of the NACC or from any other sources as corruption prevention measures formulation databases. Furthermore, this database will be utilized to study, analyze and research future corruption trends, and to propose corruption prevention guidelines; | |
(8) ประสานหน่วยงานวิจัยของสำนักงาน ป.ป.ช. รวมทั้งหน่วยงานอื่นทั้งในประเทศ และต่างประเทศในการสร้างองค์ความรู้จากการศึกษา วิเคราะห์ วิจัยรูปแบบพฤติกรรมการทุจริต ลักษณะต่าง ๆ เพื่อภารกิจมาตรการด้านการป้องกันการทุจริต | (8) To coordinate with the research division of Office of the NACC, including other domestic and international organizations, to generate knowledge by studying, analyzing, and researching various corruption behavior forms for mission in corruption prevention measures; | |
(9) รวบรวม ติดตาม และประเมินผลการดำเนินการตามมาตรการ ความเห็น และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และจัดทำรายงานเพื่อเสนอ คณะกรรมการ ป.ป.ช. | (9) To accumulate, track and evaluate the implementation of measures, opinions and recommendations regarding corruption prevention and suppression, and to provide reports to propose to the NACC; | |
(10) งานเลขานุการคณะอนุกรรมการบูรณาการการป้องกันการทุจริต | (10) To perform service as a secretariat of the Anti-Corruption Prevention Integration Subcommittee; | |
(11) ประสานและปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือสำนักงาน ป.ป.ช. มอบหมาย ตลอดจนสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง | (11) To coordinate and perform other tasks assigned by the NACC or Office of the NACC, as well as supporting operations of other relevant agencies; |
*ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 91 ก วันที่ 9 พฤศจิกายน 2561 หน้า 17 - 18
มาตรการ ความเห็น และข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติเห็นชอบ/เสนอ ครม.ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตในกระบวนการ จัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม Environmental Impact Assessment : EIA) มติ...
มาตรการป้องกันการทุจริตในกระบวนการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ ที่มาและความสำคัญ ปัญหาเกี่ยวกับ “แรงงานข้ามชาติผิดกฎหมาย” มีสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง คือ การทุจริตของเจ้าหน้าที่ หรือการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีหน...
มาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ที่มาและความสำคัญ ด้วยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ดำเนินการศึกษาการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร เนื่องจากปัจจุบันมีการขยายตัวของเมืองในด้านการก่อสร้างอาคารมากขึ้น โดยเฉพาะ...
การศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการข้อมูลประวัติอาชญากรรม ที่มาและความสำคัญ ด้วยคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร เมื่อปีพ.ศ. 2565 ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนผู้เคยตกเป็นผู้ต้องหา หรือจำเลยในคดีอาญา และคด...
ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการดำเนินงานร้านสงเคราะห์ผู้ต้องขัง ที่มาและความสำคัญ ด้วยกรมราชทัณฑ์ได้ขอรับคำแนะนำหรือแนวทางป้องกันและปราบปรามการทุจริต จากสำนักงาน ป.ป.ช. ในการวางมาตรการเพื่อป้องกันความเสียหายของกิจการร้านสงเคราะห์ผู้ต้อง...
ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างหนังสือและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning) ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ที่มาและความสำคัญ ด้วยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับเรื่องกล่าวหาร้องเรียนเกี่ยวกับการดำเนินการจัดซื้อหนัง...
มาตรการป้องกันความเสี่ยงต่อการทุจริตในกระบวนการพิจารณาอนุญาตประกอบกิจการดูดทรายในที่ดินของรัฐ ที่มาและความสำคัญ ด้วยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ดำเนินการศึกษามาตรการป้องกันความเสี่ยงต่อการทุจริตในกระบวนการพิจารณาอนุญาตประกอบกิจการดูดทรายในที่ดินของรัฐ นอก...
มาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการขุดดินและถมดินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ที่มาและความสำคัญ ด้วยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ดำเนินการศึกษามาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการขุดดินและถมดินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ด้วยปรากฏข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขุดดินโดยมิชอบด้ว...