วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ : 12 กุมภาพันธ์ 2562
ข้อเสนอแนะ
คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต ของประเทศไทยเป็นไปตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2564) จึงเห็นสมควรมีข้อเสนอแนะเพื่อยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index: CPI) ระยะที่ 2 ต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณา ตามนัยมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ดังนี้
1. ข้อเสนอต่อสำนักงาน ป.ป.ท.
1.1 ให้สำนักงาน ป.ป.ท. เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการยกระดับค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) โดยให้มีการดำเนินการดังต่อไปนี้
(11) นำข้อเสนอแนะเพื่อยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ระยะแรก ไปกำหนดแนวทางการปฏิบัติให้ชัดเจน และให้มีการดำเนินการตามแนวทางที่ได้กำหนดไว้โดยให้มีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(12) ติดตามผลการดำเนินงานและมีข้อเสนอเพิ่มเติมในการยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) พร้อมทั้งให้รายงานต่อคณะรัฐมนตรีเป็นประจำทุก ๆ 1 ปี
ทั้งนี้ รัฐบาลควรสนับสนุนงบประมาณและอัตรากำลังเจ้าหน้าที่แก่สำนักงาน ป.ป.ท. ในการจัดตั้งหน่วยงานที่มีฐานะไม่ต่ำกว่าสำนัก ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการกำกับ ติดตาม และผลักดันให้มีการยกระดับค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริตของประเทศไทย
1.2 ให้สำนักงาน ป.ป.ท. ประสานกับหน่วยงานภาคเอกชนหรือมูลนิธิที่มีความพร้อม เพื่อเป็นตัวแทนของประเทศไทยในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ พร้อมทั้งส่งเสริมให้ภาคส่วนต่าง ๆ ตระหนักถึงความสำคัญของการยกระดับค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต
2. ข้อเสนอต่อรัฐบาล
2.1 รัฐบาลควรมอบหมายหน่วยงานหลักและหน่วยงานรองเพื่อรับผิดชอบการยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริตในทุกแหล่งข้อมูล โดยให้หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายดังกล่าวประสานงานกับสำนักงาน ป.ป.ท. เพื่อบูรณาการการทำงาน พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินการต่อคณะรัฐมนตรีเป็นประจำทุก 1 ปี
2.2 แผนปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2561 ตามที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอ ต้องมีความยั่งยืนที่แต่ละรัฐบาลเมื่อเข้ามาบริหารประเทศต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรมีการเปลี่ยนแปลงตามแผนปฏิรูปฯที่ได้กำหนดไว้แล้วโดยไม่มีเหตุจำเป็น
ทั้งนี้ รัฐบาลต้องนำแผนปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน ไปขับเคลื่อนให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยการกำหนดให้มีหน่วยงานหลักรับผิดชอบแผนปฏิรูปแต่ละด้าน โดยเฉพาะด้านที่มีผลต่อการยกระดับค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต และให้ร่วมกันดำเนินการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดผล อย่างเป็นรูปธรรม และกำหนดให้มีหน่วยงานหลักในการติดตามประเมินผลการดำเนินการตามแผนปฏิรูปประเทศทั้ง 11 ด้าน
2.3 รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องจัดให้มีกลไกการคุ้มครองพยานและผู้แจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการทุจริต (Whistleblower) ให้เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ทุกภาคส่วนโดยเฉพาะภาคประชาชนให้เกิดความเชื่อมั่นในการแจ้งเบาะแสการทุจริต
2.4 รัฐบาลต้องมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาต อนุมัติ และให้การบริการกับประชาชน ดำเนินการปรับปรุง พัฒนากฎ ระเบียบต่าง ๆ เพื่อลดการใช้อำนาจในการตัดสินใจอย่างอิสระที่จะเลือกกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งของเจ้าหน้าที่รัฐในการใช้ดุลพินิจต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ในการดำเนินการพร้อมทั้งสามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน
ทั้งนี้ รัฐบาลต้องมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาต อนุมัติ และให้การบริการกับประชาชน จัดทำขั้นตอนการให้บริการให้มีความชัดเจน และมีการเผยแพร่ให้ผู้รับบริการทราบ
2.5 ให้รัฐบาลส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สื่อมวลชนเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานภาครัฐ เช่น ผลการดำเนินการของรัฐบาล การให้รางวัลแก่ผู้ที่ปฏิบัติตนโดยสุจริตการลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำความผิด เป็นต้น เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ
2.6 ให้รัฐบาลสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมโครงการ Citizen Feedback และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และให้มีผลอย่างเป็นรูปธรรม
มติคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562 ดังนี้
1. รับทราบข้อเสนอแนะเพื่อยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI) ระยะที่ 2 ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) เสนอ สรุปได้ ดังนี้
1.1 ข้อเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) ได้แก่ ให้สำนักงาน ป.ป.ท. เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการยกระดับค่าคะแนน CPI และให้สำนักงาน ป.ป.ท. ประสานกับหน่วยงานภาคเอกชนหรือมูลนิธิที่มีความพร้อมเพื่อเป็นตัวแทนของประเทศไทยในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ พร้อมทั้งส่งเสริมให้ภาคส่วนต่าง ๆ ตระหนักถึงความสำคัญของการยกระดับค่าคะแนน CPI
1.2 ข้อเสนอต่อรัฐบาล เช่น รัฐบาลควรมอบหมายหน่วยงานหลักและหน่วยงานรองเพื่อรับผิดชอบการยกระดับค่าคะแนน CPI ในทุกแหล่งข้อมูล รัฐบาลต้องนำแผนปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน ไปขับเคลื่อนให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องจัดให้มีกลไกการคุ้มครองพยานและผู้แจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการทุจริต (Whistleblower) เป็นต้น
2. ให้สำนักงาน ป.ป.ท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น (1) ประเด็นการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันในประเด็นต่าง ๆ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงยุติธรรม สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นว่า สำนักงาน ป.ป.ท. ควรเป็นหน่วยงานในการขับเคลื่อนการยกระดับคะแนน CPI ร่วมกับสำนักงาน ป.ป.ช. และควรกำหนดหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบแผนปฏิรูปประเทศทั้ง 11 ด้าน เพื่อดำเนินการร่วมกับสำนักงาน ป.ป.ช. และ (2) ประเด็นการสนับสนุนงบประมาณและการจัดตั้งหน่วยงานเพิ่มเติม สำนักงบประมาณเห็นว่า สำนักงาน ป.ป.ท. ควรพิจารณาปรับปรุงบทบาท ภารกิจ โครงสร้างของหน่วยงานที่มีอยู่เดิมเป็นลำดับแรกก่อน เพื่อไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อนของภารกิจและก่อให้เกิดภาระงบประมาณรายจ่ายเกินความจำเป็น เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ดูมติคณะรัฐมนตรีเพิ่มเติม คลิกที่นี่
มาตรการป้องกันการทุจริตในการเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทน เพื่อโอกาสในการเข้าเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามที่สำนักงาน ป.ป.ช. ได้มีมาตรการป้องกันการทุจริตในการเ...
การเรียกเก็บเงินบำรุงการศึกษาและเรียกเก็บเงินค่าปรับพื้นฐาน รวมถึงการเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษและหลักสูตรห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน &nbs...
การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดจากผู้พักโรงแรม จากการศึกษาข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดจากผู้พักโรงแรม นั้น ปรากฏมีการใช้อำนาจหน้าที่เฉพาะทางการบริหารงานข...
มาตรการป้องกันการทุจริตในกระบวนการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ ที่มาและความสำคัญ รัฐบาลได้มีนโยบายเร่งด่วนที่จะป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง แต่ปัจจุบันกลับปรากฏว่าได้มีผู้กระทำผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการและถูก...
ป.ป.ช. ลงพื้นที่เพื่อประชุมหารือ ณ สถานีตรวจสอบน้ำหนักวังน้อย (ขาออก) ในประเด็น “ผลการดำเนินงานตามมาตรการและแนวทางการผลักดันข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน”เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2568 สำนักงาน ป.ป.ช. โดยสำนักมาต...
ป.ป.ช. ลงพื้นที่เพื่อประชุมหารือ ณ สถานีตรวจสอบน้ำหนักวังน้อย (ขาออก) ในประเด็น “ผลการดำเนินงานตามมาตรการและแนวทางการผลักดันข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน”เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2568 สำนักงาน ป.ป.ช. โดยสำนักมาต...
ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตในกระบวนการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA) ที่มาและความสำคัญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ประกอบกับพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ...