วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ : 30 มิถุนายน 2558
ความเป็นมา/สภาพปัญหา
น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตในโลก ทั้งใช้ดื่มบริโภค ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งใช้เพื่อการพาณิชย์และการอุตสาหกรรมอีกด้วย ดังนั้น การรักษาดูแลรวมถึงการสร้างจิตสำนึกให้สังคมมีความตระหนักถึงคุณค่าของน้ำจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น
อย่างไรก็ตามประเทศไทยนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ประชาชนนิยมปลูกบ้านอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ ประชาชนบางราย ได้มีการต่อแพไม้และปลูกเรือนอยู่บนแพไม้เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยริมลำคลอง ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกจากการใช้น้ำในการคมนาคมทางน้ำ การทำเกษตรกรรม การค้าขาย และบรรยากาศริมฝั่งน้ำยังก่อให้เกิดความเย็นสบายแก่ผู้ที่พักอาศัยอยู่ริมฝั่งน้ำ จนกลายเป็นวิถีชีวิตของคนไทยที่อยู่อาศัยร่วมกับสายน้ำมาโดยตลอด ต่อมาเมื่อประเทศได้มีการพัฒนามากขึ้น โดยเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมมาเป็นสังคมอุตสาหกรรมทำให้ ความต้องการใช้พื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำจึงมีสูงขึ้น จึงก่อให้เกิดการรุกล้ำลำน้ำโดยมีการปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ หรือ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรจากแหล่งน้ำมากยิ่งขึ้น ดังนั้นเพื่อให้การกระทำดังกล่าวเป็นไปด้วยความถูกต้อง รัฐหรือฝ่ายปกครองจึงจำเป็นต้องเข้ามาควบคุมคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ โดยการกำหนดหลักเกณฑ์ในการควบคุมบังคับการกระทำต่าง ๆ เพื่อป้องกันมิให้มีการล่วงล้ำลำน้ำ แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันมีการปล่อยปละละเลยหรือมีการทุจริตของเจ้าหน้าที่และมีการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบของกลุ่มบุคคลหรือกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ จนเกิดปัญหาที่เกี่ยวกับสิ่งล่วงล้ำลำน้ำเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อทิศทางการไหลของกระแสน้ำทำให้ที่ดินริมตลิ่งทรุดหรือพังทลายลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นกรณีที่เกิดขึ้นบริเวณแม่น้ำที่เป็นพรมแดนระหว่างประเทศ นอกจากจะทำให้ประเทศอาจสูญเสียดินแดนทางบกแล้ว การเปลี่ยนทิศทางการไหลของกระแสน้ำอาจส่งผลต่อร่องน้ำลึกที่เป็นเขตแดนระหว่างประเทศเปลี่ยนแปลงไป ทำให้สูญเสียดินแดนทางน้ำอีกด้วย หากเป็นแม่น้ำภายในประเทศอาจส่งผลให้เกิดภาวะน้ำท่วมหรือความเสียหายอื่นที่เกิดจากน้ำได้อย่าง มหาศาล และหากเป็นกรณีที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศวิทยาหรือการเกิดภาวะมลพิษทางน้ำ จะมีผล ทำให้คุณภาพน้ำเสื่อมโทรมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีการปล่อยน้ำเสียหรือสิ่งปฏิกูลจากแหล่งกำเนิดน้ำเสียหรือ สิ่งปฏิกูลจากสิ่งล่วงล้ำลำน้ำโดยไม่ผ่านกระบวนการบำบัด หรือโดยใช้กระบวนการบำบัดที่ไม่ถูกต้องลงสู่ลำน้ำ
คณะกรรมการ ป.ป.ช. เคยได้รับการร้องเรียนจากประชาชนจังหวัดกาญจนบุรีว่าได้รับความ เดือดร้อนจากแพดิสโกเธค และแพคาราโอเกะ เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่ และสถิติการสำรวจจำนวนแพในเขตเมืองกาญจนบุรีของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง พบว่าเป็นการประกอบการในรูปของไกด์นำเที่ยว ร้านอาหารริมแควและโรงแรม หรือเกสต์เฮาส์ขนาดใหญ่ ปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากความหย่อนยานไม่เข้มงวด ในการปฏิบัติหน้าที่บางอย่างมีสาเหตุจากความไม่ชัดเจนของบทบัญญัติของกฎหมาย อัตรากำลังหรือ อุปกรณ์เครื่องมือของเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่เพียงพอ เมื่อมีการประชุมระหว่างคณะกรรมการ ป.ป.ช. กับ หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงได้มีมาตรการจัดระเบียบแพท่องเที่ยว ฯลฯ เป็นผลให้ปัญหาและข้อร้องเรียนทุเลาลง
นอกจากนั้นคณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังได้รับการร้องเรียนกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการทุจริต ต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ โดยกล่าวหาว่าเจ้าพนักงานที่ดิน และเจ้าพนักงานตรวจท่า กรมเจ้าท่าว่า กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ โดยเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทก่อสร้างโรงไฟฟ้า ในการสำรวจและรังวัดที่ดินเพื่อการรวมโฉนดที่ดิน และการรวม น.ส.3 ก เพื่อใช้พื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้า ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าวได้ชี้รับรองแนวเขตด้านที่จดทะเล และรังวัดที่ดินรุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ชายหาดและในทะเล ซึ่งหากมีการก่อสร้างในพื้นที่ที่รุกล้ำทะเลและชายหาดตามที่มี การรังวัดดังกล่าวนั้น โรงไฟฟ้าจะเป็นสิ่งล่วงล้ำลำน้ำโดยผิดกฎหมาย จึงได้ทำการไต่สวนและพิจารณาแล้วมีมติ ว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำความผิดตามข้อกล่าวหา จึงส่งรายงานเอกสารและความเห็นให้ผู้บังคับบัญชาเพื่อ พิจารณาลงโทษทางวินัย และส่งให้อัยการสูงสุดดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละ เว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
ปัญหาสิ่งล่วงล้ำลำน้ำโดยผิดกฎหมาย ได้ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อความมั่นคง สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมของประเทศ ซึ่งรัฐบาลต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก เพื่อการปรับเปลี่ยนทิศทางการไหลของน้ำ หรือเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนที่เกิดจากน้ำท่วมหรือภัยแล้ง และการรักษาสภาพแวดล้อมให้กลับสู่สภาพเดิม ซึ่งมีแนวโน้มที่ต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นทุกปี คณะกรรมการ ป.ป.ช.พิจารณาแล้วเห็นว่า สาเหตุสำคัญ ประการหนึ่งเกิดจากการทุจริตของเจ้าหน้าที่ การปล่อยปละละเลยหรือการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ทั้งที่ มีหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติ และกฎหมายใช้บังคับไว้อย่างชัดเจน หากปล่อยไว้โดยไม่มีมาตรการแก้ไขปัญหาจะยิ่งทวีความรุนแรงเกินกว่าที่ รัฐจะจัดการได้ จึงเห็นสมควรเสนอมาตรการป้องกันการทุจริตและแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อให้มีการปรับปรุงการ ปฏิบัติราชการเพื่อป้องกันหรือปราบปรามการทุจริตต่อหน้าที่ หรือการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามมาตรา 19 (11) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
ข้อเสนอแนะ
มาตรการเกี่ยวกับสิ่งลวงล้ำลำน้ำ
มาตรการระยะสั้น
- ให้กรมเจ้าท่าและหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบสำรวจและตรวจสอบบ้านเรือนประชาชนที่ปลูก สร้างลวงล้ำลำน้ำทั่วประเทศ หากพบวาเป็นการลวงล้ำลำน้ำโดยผิดกฎหมาย ต้องกำหนดมาตรการบังคับ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ในกรณีที่มีการลวงล้ำลำน้ำมาแต่ดั้งเดิมก่อนที่พระราชบัญญัติการเดินเรือในนานน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 มีผลบังคับใช้ ก็อาจจะอนุญาตให้อยู่ต่อไปได้ แต่ต้องกำหนดมาตรการ เงื่อนไขหรือระยะเวลาในการอยูอาศัย และมีการจัดระบบการควบคุมดูแลมิให้มีการกอสร้างเพิ่มเติม สำหรับผู้ที่ลวงล้ำลำน้ำโดยผิดกฎหมายหรือผู้บุกรุกรายใหม่ต้องแจ้งเตือนให้รื้อถอนออกไป หากฝ่าฝืนต้องดำเนินคดีตามกฎหมายทุกราย ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าว กรมเจ้าท่าและหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ ต้องกำหนดเป็นแผนปฏิบัติการและกำหนดกรอบเวลาในการทำงานไว้ให้ชัดเจนด้วย
- ให้กรมเจ้าท่าเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการสำรวจ จัดทำแผนที่และรายละเอียดของ สิ่งลวงล้ำลำน้ำโดยผิดกฎหมายทั่วประเทศ เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้เป็นฐานในการวางแผนและแก้ไขปัญหาสิ่งลวงล้ำลำน้ำอย่างเป็นระบบต่อไป โดยการสำรวจ จัดทำแผนที่และรายละเอียดของสิ่งล่วงล้ำลำน้ำโดยผิดกฎหมายดังกล่าว ต้องกำหนดเป็นแผนปฏิบัติการและกำหนดกรอบระยะเวลาในการดำเนินการไว้อย่างชัดเจน
- กรมเจ้าท่าและหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับลำน้ำควรจัดทำโครงการสำรวจและตรวจสอบลำน้ำ โดยขอสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลเพื่อจัดจ้างหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชนที่มีขีดความสามารถเพียงพอในการดำเนินการบินสำรวจหรือตรวจสอบลำน้ำทางอากาศ โดยใช้เครื่องมือที่ทันสมัยในการสำรวจและการถ่ายภาพทางอากาศ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับฐานข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อให้ทราบว่ามีการกระทำความผิดเกี่ยวกับสิ่งลวงล้ำลำน้ำในพื้นที่ใด ทั้งนี้ การดำเนินการบินสำรวจ หรือการตรวจสอบทางอากาศดังกล่าวต้องดำเนินการเป็นระยะ หรือกำหนดระยะเวลาที่เห็นว่าเหมาะสม นอกจากนั้นควรให้กรมเจ้าท่าขอความร่วมมือจากหน่วยงานของรัฐที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ และประชาชนให้เข้า มามีส่วนรวมในการแจ้งเบาะแส หรือข้อมูลการกระทำความผิดเกี่ยวกับสิ่งลวงล้ำลำน้ำในพื้นที่ โดยกำหนดวิธีการหรือแนวทางปฏิบัติในการแจ้งเบาะแส ข้อมูลการกระทำความผิดที่มีลักษณะง่าย สะดวก และมีความปลอดภัย
- รัฐบาลควรมีการเจราจาทำความตกลงในระดับรัฐบาลกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีแม่น้ำเป็นพรมแดน ระหว่างประเทศ เพื่อมิให้มีการดูดทราย หรือก่อสร้างสิ่งลวงล้ำลำน้ำในพื้นที่ที่มีผลกระทบ หรือก่อให้เกิดการพังทลายของตลิ่งในฝั่งของประเทศไทย และควรพิจารณามอบหมายพร้อมทั้งสนับสนุนงบประมาณให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ ในการก่อสร้างพนังกั้นน้ำเพื่อป้องกันการพังทลายของตลิ่ง หรือก่อสร้างเขื่อนกันน้ำเซาะในพื้นที่ที่มี ความเสี่ยงสูงโดยด่วน รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ และประชาชนที่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อยู่ติดริมแม่น้ำหาแนวทางหรือวิธีการป้องกันการพังทลายของตลิ่งที่ได้ผลดี และให้ลงมือปฏิบัติโดยด่วนต่อไป
- ในการพิจารณาอนุญาตให้มีการดูดทรายในลำน้ำ สมควรให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือ ผู้ว่าราชการจังหวัดศึกษาผลกระทบตอสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ที่รับผิดชอบแล้วแต่กรณี แล้วจัดทำสรุปรายงานผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบกิจการดูดทรายในแหลงนั้น ๆ พร้อมเสนอมาตรการป้องกันและแก้ไข รวมทั้งต้องจัดให้มีการรับฟังความเห็นของราษฎรหรือประชาชนในพื้นที่ด้วยว่าการดูดทรายดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อทรัพย์สินและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างไร หรือไม่ หรือสมควรที่จะอนุญาตให้มีการดูดทรายในพื้นที่หรือไม่ อย่างไร เพื่อเป็นแนวทางให้กับคณะกรรมการพิจารณาอนุญาตดูดทรายส่วนกลาง (กพด.) หรือคณะอนุกรรมการพิจารณาอนุญาตดูดทราย (อพด.) ได้ศึกษาประกอบการพิจารณาอนุญาต สำหรับการควบคุมในขั้นตอนการดูดทราย สมควรกำหนดมาตรการเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบหรือเงื่อนไขอย่างเคร่งครัด โดยแต่งตั้งผู้แทนขององค์กรปกครองสวนท้องถิ่นและผู้แทนของประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุม และต้องกำหนดมาตรการในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมหลังใบอนุญาตให้ดูดทรายหมดอายุด้วย
- ให้กรมควบคุมมลพิษและองค์กรปกครองสวนท้องถิ่นร่วมกันกำหนดมาตรการควบคุม แหล่งกำเนิดมลพิษที่เป็นสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ เพื่อมิให้เป็นสาเหตุในการก่อมลพิษทางน้ำ เช่น การกำหนดเป็นนโยบาย ให้มีการสร้างและใช้ระบบการบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชนที่ตั้งอยู่ริมลำน้ำ การเข้มงวดในการใช้มาตรการทางด้านกฎหมายเพื่อควบคุมมลพิษจากสิ่งลวงล้ำลำน้ำ เป็นต้น รวมถึงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนในการลดการใช้น้ำและการจัดการน้ำเสียอย่างถูกวิธี
- ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดรวมกับหน่วยงานที่รับผิดชอบลำน้ำหรือแหลงน้ำ ประเมินศักยภาพของแหล่งน้ำหรือลำน้ำที่ได้อนุญาตหรือจะอนุญาตให้มีแพลอยน้ำ แพคนอยู่ หรือแพที่ใช้บริการนักทองเที่ยว ใน ลำน้ำหรือแหล่งน้ำในพื้นที่รับผิดชอบ ว่ามีขีดความสามารถที่เหมาะสมในการรองรับแพลอยน้ำ แพคนอยู่ หรือแพที่ใช้บริการนักทองเที่ยวได้จำนวนเท่าใด และให้กำหนดมาตรการที่เข้มข้นเพื่อบังคับมิให้มีการกระทำผิดระเบียบกฎหมาย เช่น การออกระเบียบหรือข้อกำหนดเรื่องการจดทะเบียน การควบคุมด้านความปลอดภัยทางน้ำ การควบคุมการก่อมลพิษทางน้ำและการจัดระเบียบในด้านต่าง ๆ ของแพลอยน้ำ แพคนอยู่หรือแพที่ใช้บริการนักทองเที่ยว โดยการดำเนินการดังกล่าวต้องจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการและมีกรอบเวลาที่ชัดเจน รวมถึงการให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนด้วย
- ให้กรมเจ้าท่าและหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับสิ่งล่วงล้ำน้ำ ทบทวนภารกิจที่ถ่ายโอนอำนาจ ให้แก่หน่วยราชการสวนภูมิภาคและองค์กรปกครองสวนท้องถิ่น โดยการศึกษาและปรับปรุงหลักเกณฑ์ ระเบียบ วิธีปฏิบัติ สร้างความรู้ความเข้าใจอย่างชัดเจน และให้การสนับสนุน ติดตามการทำงานอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง รวมถึงการส่งเสริมให้หน่วยงานที่รับโอนภารกิจได้มีการเชื่อมโยงบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานหรือองค์กรทุกภาคส่วนที่รับผิดชอบเกี่ยวกับลำน้ำในพื้นที่ด้วย
- ให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับของกรมเจ้าท่าหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ เกี่ยวกับสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ กำชับ ควบคุม ดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาหรือเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบให้ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต หากพบว่ามีผู้กระทำความผิดให้ลงโทษอย่างเด็ดขาดทุกราย และให้ถือว่าเป็นความบกพร่องของผู้บังคับบัญชาด้วย
มาตรการระยะยาว
- ในกรณีที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในด้านความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ หรือความจำเป็นอื่น ที่จะต้องนำพื้นที่โดยการถมทะเลหรือที่ดินชายหาดมาใช้ประโยชน์ รัฐต้องเข้ามาควบคุมการถมทะเล โดยตรากฎหมายเฉพำหรับการถมทะเลหรือชายหาด โดยมีการกำหนดรายละเอียด หลักเกณฑ์ ขั้นตอนอย่าง ชัดเจน รวมทั้งให้มีหน่วยงานที่ควบคุมเรื่องนี้โดยตรงด้วย
- จัดตั้งหน่วยงานกลางในการบังคับคดี เพื่อรับผิดชอบและทำหน้าที่บังคับคดี ในกรณีมีผู้ฝ่าฝืนหรือมีผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งของศาล ที่มีคำสั่งให้รื้อถอนสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ หรือจัดการอื่นใดเกี่ยวกับสิ่งล่วงล้ำลำน้ำโดยผิดกฎหมาย ให้กับทุกกระทรวง ทบวง กรม โดยการกำหนดหลักเกณฑ์ ระเบียบหรือมาตรการบังคับให้ผู้กระทำความผิดเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ในการดำเนินการ และหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ดำเนินการไม่ต้องรับผิดชอบในความเสียหาย ที่เกิดขึ้น เว้นแต่เป็นการกระทำโดยเจตนาที่จะให้เกิดความเสียหายเกินสมควรแก่วิสัยและพฤติการณ์
- พิจารณาแก้ไขและเพิ่มอัตราโทษของความผิดเกี่ยวกับสิ่งล่วงล้ำลำน้ำโดยผิดกฎหมายและ ให้ถือว่าความผิดเกี่ยวกับสิ่งล่วงล้ำลำน้ำโดยผิดกฎหมายเป็นความผิดต่อเนื่อง จนกว่าจะมีการรื้อถอนหรือแก้ไข ให้ถูกต้อง
ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ
- สมควรกำหนดให้การแก้ไขปัญหาและการพัฒนาแหล่งน้ำหรือลำน้ำทั้งหมดของประเทศ เป็นวาระแห่งชาติ การบำรุงรักษาและพัฒนา 25 ลุ่มน้ำสำคัญของประเทศ และแหล่งน้ำสำคัญของชาติ ต้องกำหนดเป็นนโยบายอย่างชัดเจนว่าจะดำเนินการอย่างไร โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการที่มีอำนาจหน้าที่ รับผิดชอบ โดยมีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน และมอบหมายให้กรมทรัพยากรน้ำหรือหน่วยงานของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นฝ่ายเลขานุการ และเป็นหน่วยงานหลักในการทำงาน และให้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการรวมทั้งในระดับชาติและระดับภูมิภาค ที่ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ซึ่งในเบื้องต้นควรสั่งให้มีการสำรวจการบุกรุก การล่วงล้ำลำน้ำ และการทำลายพื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่ลุ่ม และพื้นที่ทางระบายน้ำหลาก เพื่อให้ทราบสภาพข้อมูลที่เป็นปัจจุบันของพื้นที่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ พร้อมทั้งมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดตรวจสอบยืนยันข้อมูลนั้น และ ให้คณะกรรมการซึ่งมีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานดังกล่าวข้างต้น กำหนดนโยบายและวาง แผนการแก้ไขปัญหา โดยกำหนดแผนปฏิบัติการและกรอบเวลาในการทำงานอย่างชัดเจน ทั้งนี้ การดำเนินงาน ควรยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นเป็นสำคัญด้วย
- มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือส่วนราชการที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับลำน้ำ ศึกษาสภาพปัญหา ข้อเท็จจริงอย่างชัดเจนว่า การดำเนินการของหน่วยปฏิบัติมีปัญหาอย่างไร และนำข้อมูลดังกล่าวมากำหนดแผนเพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่าง ถูกต้อง โดยในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ ควรกำหนดให้ดำเนินการในรูปของคณะกรรมการ ตั้งแต่ระดับล่าง หรือตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัดขึ้นมา ซึ่งคณะกรรมการแต่ละชุดควรประกอบด้วยผู้แทนจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการลำน้ำ กำหนดอำนาจหน้าที่ แผนปฏิบัติงานที่ชัดเจน รวมถึงกำหนดให้มีการพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการทุกระดับให้มีความเข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง และเพื่อลดปัญหาความซ้ำซ้อนในการทำงาน จึงควรยึดหลักการทำงานแบบบูรณาการกับทุกภาคส่วนในทุกระดับ สำหรับการกำหนดโครงการเพื่อการแก้ไขปัญหาและพัฒนาลำน้ำหรือแหล่งน้ำต้องมีที่มาหรือหลักเกณฑ์ที่แน่นอน ชัดเจน ทั้งนี้ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาสิ่งล่วงล้ำลำน้ำโดยผิดกฎหมาย และการใช้ทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด
- มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำทั้งหมด ร่วมกันทำการศึกษา วิเคราะห์ และดำเนินการแก้ไขระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรน้ำทั้งระบบของประเทศ โดยให้มีกฎหมายกลางที่มีการกำหนดและแบ่งอำนาจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานอย่างเป็นระบบและมีความ ชัดเจน สามารถบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้ทุกหน่วยงานมีความชัดเจนในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องว่า หน่วยงานของตนมีขอบเขต อำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติงานเพียงใด และต้องดำเนินการอย่างไร หรือต้องประสานกับหน่วยงานอื่นใน ลักษณะใด
มติคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 รับทราบเกี่ยวกับการดำเนินการตามมาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยกระทรวงคมนาคมได้จัดประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบว่า มาตรการต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับและเป็นภารกิจของหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการจำนวนมาก ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอไว้ชั้นหนึ่งก่อน และให้กระทรวงคมนาคมเร่งดำเนินการจัดการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจัดทำรายงานผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการในประเด็นต่าง ๆ ให้ครบถ้วน แล้วแจ้งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีทราบอีกครั้งหนึ่งภายใน 20 วัน นับจากวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ เพื่อที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
ต่อมา คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2559 มีมติรับทราบผลการพิจารณาตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เกี่ยวกับเรื่องมาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ โดยกระทรวงคมนาคมได้เสนอแผนบูรณาการมาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 5 แผนงาน ได้แก่ (1) สำรวจจัดทำแผนที่ฐานข้อมูลสิ่งปลูกสร้างล่วงล้ำลำแม่น้ำทั่วประเทศ (2) การแก้ไขสิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำที่ไม่ได้รับอนุญาต (3) การป้องกันการปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำโดยผิดกฎหมาย (4) การปรับปรุงและแก้ไขกฎหมาย และ (5) การรณรงค์และประชาสัมพันธ์ ซึ่งการดำเนินงานตามแผนงานนี้จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคม โดยกรมเจ้าท่าจะร่วมกับกระทรวงมหาดไทยติดตามการดำเนินงานและความคืบหน้าต่อไปเป็นระยะ ๆ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ