จากไชต์: สำนัก มาตรการเชิงรุกและนวัตกรรม
จำนวนผู้เข้าชม: 119
วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ : 10 พฤศจิกายน 2558
ข้อเสนอแนะ
เพื่อให้แก้ไขปัญหาในการควบคุม กำกับดูแลในการประกอบธุรกิจร้านเกมและอินเทอร์เน็ต เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงเห็นสมควรเสนอให้มีการปรับปรุงการปฏิบัติราชการ เพื่อป้องกันหรือปราบปรามการทุจริตต่อหน้าที่ หรือการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามมาตรา 19 (11) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 โดยมีข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจร้านเกมและอินเทอร์เน็ต ดังนี้
1. การบังคับใช้กฎหมาย
1.1 ให้จัดตั้งคณะกรรมการควบคุมการประกอบธุรกิจร้านเกมและอินเทอร์เน็ตในระดับชาติ มีอำนาจหน้าที่ในการวางนโยบายควบคุม กำกับดูแลการประกอบธุรกิจร้านเกมและอินเทอร์เน็ต โดยมีปลัดกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธาน ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นกรรมการ โดยมีอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรมเป็นกรรมการและเลขานุการ
1.2 ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการควบคุมการประกอบธุรกิจร้านเกมและอินเทอร์เน็ต ในเขตกรุงเทพมหานคร และเขตจังหวัดอื่น มีอำนาจหน้าที่ในการวางแนวทางในการปฏิบัติเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจร้านเกมและอินเทอร์เน็ต ตลอดจนควบคุม กำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการควบคุมการประกอบธุรกิจร้านเกมและอินเทอร์เน็ต และตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดีทัศน์ พ.ศ. 2551 โดยให้มีองค์ประกอบของคณะกรรมการ ดังนี้
1.2.1 ในเขตกรุงเทพมหานคร อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรมเป็นประธาน หัวหน้าศูนย์เสมารักษ์ประจำสำนักงานศึกษาธิการภาค 13 ผู้แทนกรุงเทพมหานคร ผู้แทนกองบัญชาการตำรวจนครบาล ผู้แทนพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาเป็นกรรมการ โดยมีผู้อำนวยการสำนักภาพยนตร์และวีดีทัศน์เป็นกรรมการและเลขานุการ
1.2.2 ในเขตจังหวัดอื่น ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ปลัดจังหวัด หัวหน้าศูนย์เสมารักษ์ประจำสำนักงานศึกษาธิการภาค 1-12 ที่รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดนั้น ๆ ผู้แทนตำรวจภูธรจังหวัด ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้แทนพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา เป็นกรรมการ โดยมีวัฒนธรรมจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ
1.3 ให้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งตามประกาศกระทรวงวัฒนธรรม เรื่อง แต่งตั้งนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดีทัศน์ พ.ศ. 2551 วางแผนดำเนินการควบคุม กำกับ ดูแลการประกอบธุรกิจร้านเกมและอินเทอร์เน็ตให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามกฎหมาย
1.4 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 รับผิดชอบในการตรวจตรา สอดส่อง ดูแลเด็กและเยาวชนที่เข้าไปใช้บริการในร้านเกมและอินเทอร์เน็ต ให้เป็นไปตามเวลาที่กฎหมายกำหนด และกำหนดช่องทางการแจ้งเบาะแสหรือแจ้งเหตุให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กและเยาวชน
2. การมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่าง ๆ
2.1 ให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการ ดังนี้
2.1.1 กำหนดยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาสังคม โดยเฉพาะปัญหาการประกอบ ธุรกิจร้านเกมและอินเทอร์เน็ต เป็นส่วนสำคัญของยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาจังหวัด
2.1.2 พิจารณามอบหมายให้สำนักงานเขต (กรณีกรุงเทพมหานคร) เมืองพัทยา เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล แล้วแต่กรณี จัดให้มีการเพิ่มบทบาทจากภาคประชาชนภายในท้องถิ่นนั้น ๆ ในการมีส่วนร่วมสังเกตการณ์ สอดส่องร้านเกมและอินเทอร์เน็ต รวมทั้งจัดให้มีสายด่วนภายในชุมชน เพื่อรับแจ้งปัญหา ในกรณีที่ร้านเกมและอินเทอร์เน็ตกระทำผิดกฎหมาย
2.2 ให้กระทรวงศึกษาธิการกำหนดนโยบาย ดังนี้
2.2.1 สถานศึกษาต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะร้านเกมและอินเทอร์เน็ตที่ให้บริการในบริเวณใกล้เคียงกับสถานศึกษา โดยส่งเสริมให้ครู อาจารย์ ร่วมกับผู้ปกครองในการออกตรวจตรา และกำหนดให้มีจุดประสานงานตรงไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดีทัศน์ พ.ศ. 2551
2.2.2 ส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม โดยการพัฒนา ทักษะชีวิตและสร้างความตระหนักถึงการเล่นเกมและอินเทอร์เน็ตให้เหมาะสมกับเยาวชน
3. พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดีทัศน์ พ.ศ. 2551
แก้ไขประกาศกระทรวงวัฒนธรรม เรื่อง แต่งตั้งนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดีทัศน์ พ.ศ. 2551 โดยให้แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดีทัศน์ พ.ศ. 2551 เพิ่มเติม ดังนี้
1) ในเขตกรุงเทพมหานคร
(1) ข้าราชการในสังกัดสำนักงานเขต ซึ่งดำรงตำแหนงประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน ขึ้นไป หรือตำแหนงประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการขึ้นไป ทั้งนี้ ตามที่ผู้อำนวยการเขตมอบหมาย
(2) พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา
2) ในเขตจังหวัดอื่น
(1) ปลัดจังหวัดและข้าราชการสังกัดที่ทำการปกครองจังหวัด ซึ่งดำรงตำแหนงประเภท ทั่วไป ระดับชำนาญงานขึ้นไป หรือตำแหนงประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการขึ้นไป ทั้งนี้ ตามที่ปลัดจังหวัด มอบหมาย
(2) พนักงานในสังกัดเทศบาล ซึ่งดำรงตำแหนงประเภททั่วไประดับชำนาญงานขึ้นไป หรือตำแหนงประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการขึ้นไป ทั้งนี้ ตามที่ปลัดเทศบาลมอบหมาย
(3) พนักงานในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งดำรงตำแหนงประเภททั่วไป ระดับชำนาญงานขึ้นไป หรือตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการขึ้นไป ทั้งนี้ ตามที่ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล มอบหมาย
(4) พนักงานในสังกัดเมืองพัทยา ซึ่งดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงานขึ้นไป หรือตำแหนงประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการขึ้นไป ทั้งนี้ ตามที่ปลัดเมืองพัทยามอบหมาย
(5) พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา
4. การดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
4.1 ให้คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติวางนโยบายซึ่งมุ่งเน้นให้ความสำคัญในการคุ้มครองเด็กที่เข้าใช้บริการร้านเกมและอินเทอร์เน็ต
4.2 ให้คณะกรรมการคุ้มครองเด็กกรุงเทพมหานครและคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด วางแนวทางในการปฏิบัติในการคุ้มครองเด็กที่เข้าใช้บริการร้านเกมและอินเทอร์เน็ตให้ชัดเจน เป็นการเฉพาะ ตลอดจนควบคุม กำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
4.3 ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกระทรวงศึกษาธิการร่วมกันพิจารณานำบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา 30 มาตรา 66 และมาตรา 67 มาพิจารณากำหนดเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการตรวจจับและควบคุมการประกอบธุรกิจร้านเกมและอินเทอร์เน็ต
4.4 ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์พิจารณาในกรณีที่พบเด็กติดเกม และอินเทอร์เน็ตหรือพบเด็กเล่นเกมและอินเทอร์เน็ตนอกเวลาที่กฎหมายกำหนด ว่าเป็นเด็กที่ประพฤติไม่เหมาะสมเสี่ยงต่อการกระทำความผิดตามนิยามในพะราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา 4 และอาจบังคับใช้มาตรการปรับพฤติกรรมเด็ก ตามมาตรา 44 โดยเรียกผู้ปกครองมาทำความตกลงในการคุ้มครองดูแลเด็ก ตามที่กำหนดไว้ได้
4.5 ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กำหนดยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาตลอดจนแนวทางการเยียวยาเด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับการติดเกมและอินเทอร์เน็ต เป็นส่วนสำคัญของ ยุทธศาสตร์กระทรวง
5. การปรับปรุงกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องให้ทันต่อสถานการณ์
5.1 ให้กระทรวงวัฒนธรรมแก้ไขกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตและการประกอบกิจการร้านวีดีทัศน์ พ.ศ. 2552 โดยกำหนดให้มีการกำหนดเวลาปิด – เปิดร้านเกมและอินเทอร์เน็ตให้มีความเหมาะสม
5.2 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเสนอกฎหมายเพื่อบังคับใช้ในการประกอบธุรกิจร้านเกมและอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะ โดยให้กำหนดนิยามของเกมให้ครอบคลุม ดังนี้
“เกม” หมายถึง “เกมการเล่นที่มีการประมวลผลโปรแกรม ข้อมูลโดยใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ โดยการสุ่มโปรแกรมข้อมูลตามแต่ผู้เล่นที่จะเลือกเล่นตามความรู้ความสามารถ หรือที่ผู้เล่นอื่นซึ่งเป็นผู้เล่นร่วมเป็นผู้กำหนด”
“ร้านเกมและอินเทอร์เน็ต” หมายถึง “ร้านที่มีวัสดุ อุปกรณ์ จอภาพ ไว้ให้บริการเล่นเกม และอินเทอร์เน็ตเป็นปกติโดยท าเป็นธุรกิจหรือได้รับผลประโยชน์ตอบแทน”
5.3 ในการเผยแพร่เกมและเกมออนไลน์ที่ให้บริการในประเทศไทย ต้องได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดีทัศน์ พ.ศ. 2551 ก่อนที่จะให้บริการ หากกระทรวงวัฒนธรรมพิจารณาแล้ว เห็นว่าเกมดังกล่าวเป็นเกมที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม กระทรวงวัฒนธรรมมีหน้าที่แจ้งให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงาน กสทช. และผู้ให้บริการ (ISP) ทำการปิดกั้น
5.4 ให้กระทรวงวัฒนธรรมดำเนินการเพื่อให้มีการศึกษาถึงแนวคิด รูปแบบ ประโยชน์และ ความเหมาะสมในการจัดระดับเนื้อหาความรุนแรงของเกม (Game Rating)
5.5 ให้กระทรวงวัฒนธรรมดำเนินการศึกษาแนวทาง ความเป็นไปได้ในการกำหนดเขต (โซนนิ่ง) ร้านเกมและอินเทอร์เน็ต
5.6 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อให้มีการแก้ไขกฎหมายเพิ่มเติมบทลงโทษทางอาญา ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจร้านเกมและอินเทอร์เน็ตกรณีที่เกี่ยวข้องกับการเข้าใช้บริการของผู้ซึ่งมีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ รวมทั้งในกรณีการเปิดให้บริการร้านเกมและอินเทอร์เน็ตโดยไม่ได้รับใบอนุญาต