วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ : 9 ธันวาคม 2557
ข้อเสนอแนะ
คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นสมควรมีข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาการจัดเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชาที่มีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจ ให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการการศึกษาทั้งระบบอย่างยั่งยืน อันเป็นพื้นฐานความเสมอภาคเริ่มต้นของปัจเจกบุคคลที่จะนำไปสู่การดำเนินชีวิตต่อไปอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และการคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่า ผลประโยชน์ส่วนตน โดยเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาและมีมติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาและดำเนินการ ตามมาตรา 19 (11) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริต พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 ดังนี้
มาตรการระยะสั้น
1) ให้กระทรวงศึกษาธิการทบทวนและแก้ไขประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เกี่ยวกับโรงเรียนสอนกวดวิชา โดยให้มีการจำแนกประเภทที่ชัดเจนเพื่อเป็นฐานข้อมูลของกระทรวงการคลัง ในการจัดเก็บภาษี
2) ให้กระทรวงการคลังพิจารณาจัดเก็บภาษีจากโรงเรียนสอนกวดวิชาที่มีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจ และดำเนินการแก้ไขกฎกระทรวงและ/หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้เหมาะสมสอดคล้อง
มาตรการระยะยาว
1) รัฐต้องมีบทบาทสำคัญในการสร้างความเป็นธรรมด้านโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพ โดยต้องมุ่งเน้นการขยายให้บริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพและทั่วถึง ปรับเปลี่ยนวิธีการวัดผลการเรียนและการสอบเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษาเพื่อลดแรงจูงใจ และความจ าเป็นในการกวดวิชา
2) กระทรวงศึกษาธิการต้องพัฒนาเรื่องระบบการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ และจัดโครงการสอนเสริมโดยจัดหาครูเก่งๆ ที่สอนดี พร้อมเผยแพร่การสอนหรือการติวผ่านทางสื่อต่างๆ แก่โรงเรียนทั่วประเทศอย่างทั่วถึง
3) การสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาต้องออกข้อสอบให้อยู่ในขอบเขตของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และควรปรับระบบการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในแต่ละระดับ ให้สอดคล้องกับการเรียนในระบบโรงเรียนตามปกติเท่านั้น และในการออกข้อสอบต้องไม่เกินจากหลักสูตรที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
มาตรการ ความเห็น และข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติเห็นชอบ/เสนอ ครม.ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตในกระบวนการ จัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม Environmental Impact Assessment : EIA) มติ...
มาตรการป้องกันการทุจริตในกระบวนการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ ที่มาและความสำคัญ ปัญหาเกี่ยวกับ “แรงงานข้ามชาติผิดกฎหมาย” มีสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง คือ การทุจริตของเจ้าหน้าที่ หรือการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีหน...
มาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ที่มาและความสำคัญ ด้วยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ดำเนินการศึกษาการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร เนื่องจากปัจจุบันมีการขยายตัวของเมืองในด้านการก่อสร้างอาคารมากขึ้น โดยเฉพาะ...
การศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการข้อมูลประวัติอาชญากรรม ที่มาและความสำคัญ ด้วยคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร เมื่อปีพ.ศ. 2565 ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนผู้เคยตกเป็นผู้ต้องหา หรือจำเลยในคดีอาญา และคด...
ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการดำเนินงานร้านสงเคราะห์ผู้ต้องขัง ที่มาและความสำคัญ ด้วยกรมราชทัณฑ์ได้ขอรับคำแนะนำหรือแนวทางป้องกันและปราบปรามการทุจริต จากสำนักงาน ป.ป.ช. ในการวางมาตรการเพื่อป้องกันความเสียหายของกิจการร้านสงเคราะห์ผู้ต้อง...
ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างหนังสือและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning) ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ที่มาและความสำคัญ ด้วยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับเรื่องกล่าวหาร้องเรียนเกี่ยวกับการดำเนินการจัดซื้อหนัง...
มาตรการป้องกันความเสี่ยงต่อการทุจริตในกระบวนการพิจารณาอนุญาตประกอบกิจการดูดทรายในที่ดินของรัฐ ที่มาและความสำคัญ ด้วยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ดำเนินการศึกษามาตรการป้องกันความเสี่ยงต่อการทุจริตในกระบวนการพิจารณาอนุญาตประกอบกิจการดูดทรายในที่ดินของรัฐ นอก...
มาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการขุดดินและถมดินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ที่มาและความสำคัญ ด้วยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ดำเนินการศึกษามาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการขุดดินและถมดินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ด้วยปรากฏข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขุดดินโดยมิชอบด้ว...