ข้อเสนอแนะแนวทางบูรณาการขับเคลื่อนการป้องกันความเสี่ยงต่อการทุจริต
เชิงนโยบายในขั้นตอนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
(มติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ครั้งที่ 63/2565 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2565)
ความเป็นมา/ข้อเท็จจริง
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2562 รับทราบเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบายและคู่มือการใช้เกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เสนอ โดยมอบหมายสำนักงาน ป.ป.ท. เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับสำนักงาน ก.พ.ร. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องพิจารณาการกำหนดเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบายให้มีความเหมาะสมหรือสอดคล้องกับหลักเกณฑ์หรือแนวทางการประเมินอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้ว เพื่อให้สามารถนำเกณฑ์ดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม คุ้มค่า และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยไม่เป็นการสร้างภาระหรืองบประมาณให้กับภาครัฐ
สำนักงาน ป.ป.ช. ได้จัดทำข้อเสนอแนะแนวทางบูรณาการขับเคลื่อนการป้องกันความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบายในขั้นตอนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้การดำเนินการตามเกณฑ์
ชี้วัดความเสี่ยงต่อการทุจริตฯ ดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสนอแนะ
-> ข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน
โดยให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินร่วมบูรณาการในส่วนของขั้นการดำเนินการโครงการ (Project Implementation Stage) โดยทำหน้าที่การตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณก่อนการจ่าย (Pre-Audit) เพื่อเป็นการตรวจสอบในเชิงรุกหรือการตรวจสอบเชิงป้องปราม และร่วมบูรณาการในส่วนของขั้นการสรุปผลหลังการดำเนินโครงการ (Project Evaluation Stage) โดยทำหน้าที่ร่วมกันประเมินผลการบริหารจัดการความเสี่ยงต่อการทุจริตและประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณในแง่ของประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ และ
-> ข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี
เพื่อให้พิจารณามอบหมายสำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง สำนักงาน ป.ป.ท. และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยให้ศึกษาข้อมูลแนวทางการบูรณาการป้องกันความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย ในขั้นตอนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจของหน่วยงานเพื่อขับเคลื่อนแนวทางการป้องกันการทุจริตเชิงนโยบายในขั้นตอนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด เพื่อให้เกิดผลในการป้องกันการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการทางนโยบายบริหารราชการแผ่นดินและการนำนโยบายลงสู่การปฏิบัติ ผ่านแผนงานหรือโครงการในการบริหารราชการแผ่นดินต่อไป
ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตในกระบวนการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA) ที่มาและความสำคัญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ประกอบกับพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ...
มาตรการฉบับประชาชน เรื่อง ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริต กรณีโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน
มาตรการ ความเห็น และข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติเห็นชอบ/เสนอ ครม.ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตในกระบวนการ จัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม Environmental Impact Assessment : EIA) มติ...
มาตรการป้องกันการทุจริตในกระบวนการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ ที่มาและความสำคัญ ปัญหาเกี่ยวกับ “แรงงานข้ามชาติผิดกฎหมาย” มีสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง คือ การทุจริตของเจ้าหน้าที่ หรือการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีหน...
มาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ที่มาและความสำคัญ ด้วยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ดำเนินการศึกษาการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร เนื่องจากปัจจุบันมีการขยายตัวของเมืองในด้านการก่อสร้างอาคารมากขึ้น โดยเฉพาะ...
การศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการข้อมูลประวัติอาชญากรรม ที่มาและความสำคัญ ด้วยคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร เมื่อปีพ.ศ. 2565 ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนผู้เคยตกเป็นผู้ต้องหา หรือจำเลยในคดีอาญา และคด...