เกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย ในขั้นตอนการพัฒนานโยบาย (Policy Formation) เพื่อรองรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ที่มาและความสำคัญ
เกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบายในขั้นตอนการพัฒนานโยบาย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้พรรคการเมืองได้มีกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบ ความคุ้มค่า ความเป็นไปได้และความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบายในนโยบายที่พรรคได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ประกาศโฆษณาหาเสียงเลือกตั้ง และให้พรรคการเมืองได้แสดงออกถึงแนวนโยบายที่แสดงถึงเจตจำนงทางการเมือง (Political will) ในการต่อต้านการทุจริตผ่านนโยบายการป้องกันการทุจริตที่พรรคการเมืองที่ใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง และการมีเครื่องมือที่ทำให้สาธารณชนมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกพรรคการเมือง และมีส่วนร่วมในการกำกับติดตาม ตรวจสอบการดำเนินนโยบายของพรรคการเมือง
เกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย ในขั้นตอนการพัฒนานโยบาย ประกอบไปด้วยหัวข้อที่เป็นคำถามและหัวข้อที่เป็นกิจกรรมที่จะใช้บ่งชี้ว่าการพัฒนานโยบายนั้น มีการแสดงให้เห็นถึงความรอบคอบและความโปร่งใสในการพัฒนานโยบายหรือไม่ โดยหัวข้อคำถามและหัวข้อกิจกรรมที่บรรจุอยู่ในเกณฑ์ชี้วัดในขั้นตอนการพัฒนานโยบายนี้ หากประเมินแล้วพบว่าพรรคการเมืองได้ปฏิบัติและปรากฏให้มีกิจกรรมเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการพัฒนานโยบายสำหรับใช้ในการประกาศโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมือง จะสามารถสะท้อนให้เห็นว่าการพัฒนานโยบายของพรรคการเมืองนั้นมีความน่าเชื่อถือ โปร่งใส และสามารถชี้แจงรายละเอียดของการพัฒนานโยบายนั้นต่อสาธารณะได้
โดยเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย ในขั้นตอนการพัฒนานโยบาย มีองค์ประกอบของเกณฑ์การประเมิน ดังนี้
๑) มีการประเมินความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย (มีเกณฑ์ชี้วัดย่อย ๔ เกณฑ์)
๒) มีกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบ ความคุ้มค่า ความเป็นไปได้ และความเสี่ยงของนโยบายด้วยการมีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบ (มีเกณฑ์ชี้วัดย่อย ๖ เกณฑ์)
๓) มีแนวนโยบายด้านเจตจำนงทางการเมือง (Political will) ของพรรคการเมืองในการต่อต้านการทุจริต (มีเกณฑ์ชี้วัดย่อย ๒ เกณฑ์)
๔) มีการเสริมสร้างความโปร่งใสในการพัฒนานโยบายของพรรคการเมือง (มีเกณฑ์ชี้วัดย่อย ๕ เกณฑ์)
ข้อเสนอแนะ
เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย ในขั้นตอนการพัฒนานโยบาย (Policy Formation) เพื่อรองรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้ว เห็นควรมีข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย ในขั้นตอนการพัฒนานโยบาย (Policy Formation) เพื่อรองรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามนัยมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 โดย แบบรายงานการดำเนินการตามเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย ในขั้นตอนการพัฒนานโยบาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ:
๑. ให้พรรคการเมืองได้แสดงออกถึงแนวนโยบายที่แสดงถึงเจตจำนงทางการเมือง (Political will) ในการต่อต้านการทุจริต ผ่านนโยบายที่ใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง
๒. ให้สาธารณชนมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกพรรคการเมือง และมีส่วนร่วมในการกำกับติดตาม ตรวจสอบการดำเนินนโยบายของพรรคการเมือง
๓. ให้พรรคการเมืองได้มีกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบ ความคุ้มค่า ความเป็นไปได้และความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย ให้เกิดความโปร่งใสในการพัฒนานโยบายของพรรคการเมือง
แผนการดำเนินงานเพื่อยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต(Corruption Perceptions Index : CPI) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สำนักงาน ป.ป.ช. ได้กำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองผลการปฏิบัติราชการของสำนักงาน ป.ป.ช. ประจ...
มาตรการป้องกันการทุจริตในการเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทน เพื่อโอกาสในการเข้าเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามที่สำนักงาน ป.ป.ช. ได้มีมาตรการป้องกันการทุจริตในการเ...
การเรียกเก็บเงินบำรุงการศึกษาและเรียกเก็บเงินค่าปรับพื้นฐาน รวมถึงการเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษและหลักสูตรห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน &nbs...
การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดจากผู้พักโรงแรม จากการศึกษาข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดจากผู้พักโรงแรม นั้น ปรากฏมีการใช้อำนาจหน้าที่เฉพาะทางการบริหารงานข...
มาตรการป้องกันการทุจริตในกระบวนการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ ที่มาและความสำคัญ รัฐบาลได้มีนโยบายเร่งด่วนที่จะป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง แต่ปัจจุบันกลับปรากฏว่าได้มีผู้กระทำผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการและถูก...
ป.ป.ช. ลงพื้นที่เพื่อประชุมหารือ ณ สถานีตรวจสอบน้ำหนักวังน้อย (ขาออก) ในประเด็น “ผลการดำเนินงานตามมาตรการและแนวทางการผลักดันข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน”เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2568 สำนักงาน ป.ป.ช. โดยสำนักมาต...