Contrast
14f434d83040348283c415376ce5a4ad.png

ป.ป.ช. โคราช ผนึกกำลัง STRONG จังหวัด ปักหมุดหยุดโกง 32 อำเภอ

จากไชต์: สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดนครราชสีมา
จำนวนผู้เข้าชม: 3

21/02/2568

           วันที่ 20 – 21 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดนครราชสีมา ดำเนินกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการปักหมุดแผนที่พื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริตในพื้นที่จังหวัด ภายใต้โครงการปักหมุดพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริต กิจกรรม : ปักหมุดพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริต (สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดนครราชสีมา) ณ โรงแรม ดิ อิมพีเรียล โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ โคราช ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประเด็นเสี่ยง พื้นที่เสี่ยง และนำไปสู่การปักหมุดแผนที่พื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริตในพื้นที่จังหวัด ผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกันซึ่งข้อมูลที่ได้จากการดำเนินกิจกรรม ในครั้งนี้ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดนครราชสีมา จะดำเนินการนำเข้าข้อมูลผ่านระบบแผนที่ต่อต้านการทุจริตประเทศไทย (Thailand Mapping of Anti-Corruption : TMAC) หรือ ระบบ TMAC ซึ่งเป็นระบบการแสดงผลข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริตของประเทศทั้งในด้านการป้องกันเชิงรุกและการปราบปรามการทุจริตในรูปแบบของแผนที่ภูมิศาสตร์ เพื่อให้เห็นถึงรูปแบบ พฤติการณ์ ความถี่ ความเสี่ยง และข้อมูลประกอบที่เป็นประโยชน์ สำหรับการแสวงหาแนวทางในการป้องกันและลดการทุจริต ซึ่งปัจจุบัน ระบบ TMAC ถูกกำหนดเป็นฟังก์ชันเชื่อมโยงกับระบบ CDS ของสำนักงาน ป.ป.ช. โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวสุรีรัตน์ นวลฉิมพลี ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานพิธีเปิดโครงการ/กิจกรรมดังกล่าว

           การดำเนินกิจกรรมประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลัก ได้แก่ การบรรยายให้ความรู้ หัวข้อ “ประเด็นเสี่ยง/ข้อสังเกต/ข้อตรวจพบ ที่อาจส่งผลให้เกิดการทุจริตเกี่ยวกับการดำเนินโครงการก่อสร้างถนนและโครงการขุดลอกแหล่งน้ำ” โดยได้รับเกียรติจากนายยศกร ศรีคลัง ผู้อำนวยการกลุ่มประสานการป้องกันการทุจริตภาค 3 สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 3 และวิทยากรจากแขวงทางหลวงนครราชสีมา
ที่มาบรรยายให้ความรู้ในหัวข้อ “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการดำเนินโครงการก่อสร้างถนนตามมาตรฐานงานทางหลวงท้องถิ่นที่มีความถูกต้องตามมาตรฐานสากลและวิธีการสังเกตความผิดปกติจากกระบวนการ/ขั้นตอนการก่อสร้างหรือซ่อมแซมถนน เพื่อเฝ้าระวังการทุจริตในพื้นที่”  และกิจกรรมแบ่งกลุ่มประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อปักหมุดพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริตระดับจังหวัด และหาแนวทาง การเฝ้าระวัง ป้องกัน ป้องปราม การทุจริตระดับพื้นที่ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โดยได้รับความอนุเคราะห์วิทยากร จากสำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 3 และ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดชัยภูมิ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย โค้ช กรรมการ สมาชิกชมรม STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริต จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นผู้แทนทั้ง 32 อำเภอ รวมจำนวน 110 คน ร่วมระดมความคิดเห็นวิเคราะห์ประเด็นเสี่ยง พื้นที่เสี่ยงและปักหมุดแผนที่พื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริตในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา รวมทั้งวิเคราะห์แนวทาง การเฝ้าระวัง ป้องกัน ป้องปราม การทุจริตระดับพื้นที่ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา

Related