Contrast
df1c9ebd2e9ad10263d2baa80aa22215.jpg

การประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนและหน่วยงานของรัฐมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำภาค 6 ครั้งที่ 1/2567

จากไชต์: สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 6
จำนวนผู้เข้าชม: 208

08/03/2567
           วันที่ 8 มีนาคม 2567 สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 6 จัดประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนและหน่วยงานของรัฐมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ประจำภาค 6 ครั้งที่ 1/2567 ณ ห้องประชุมสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดพิษณุโลก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก และระบบ Web Conference โดยมี พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วยคณะอนุกรรมการฯ ดังนี้

                      1. นายสุทนต์ กล้าการขาย

                      2. นางสาวเอกรัตน์ นาคาคง ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย

                      3. นายวิษณุ วิทยวราวัฒน์ ผู้ตรวจราชการกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น

                      4. นางสาวธิดานันท์ สุขมาก ผู้แทนผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี

                      5. นายปกรณ์ ด่านสีทอง ประธานหอการค้าจังหวัดพิษณุโลก 

                      6. นายสุรจิต วงศ์กังแห ผู้แทนประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลก

                      7. พลตำรวจตรี อรรถกิจ กรณ์ทอง

                      8. นายนคเรศ นิลวงศ์ ประธานชมรม STRONG - จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดพิษณุโลก

                      9. นายพิทักษ์ มหบุญพาชัย โค้ช STRONG - จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดกำแพงเพชร

                      10. นางนฺชจรินทร์ รอบบรรเจิด

                      11. นายธีรชาติ ภัทรภิญโญ

                      12. นายมนต์ชัย รุ่งชาญชัย

                      13. นายวณิชย์ ศุภวณิชย์สกุลผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภาค ๖

                      14. นางสาวเสริมศรี บุญคง 

                      15. นางสาวจุฬาลักษณ์ วงค์สิริ

 
           การประชุมครั้งนี้ มุ่งเน้นการขับเคลื่อนการป้องกันการทุจริต โดยมีวาระการพิจารณา จำนวน 8 เรื่อง ประกอบด้วย
                      1.ข้อเสนอแนะเพื่อยกระดับผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในเขตพื้นที่ภาค 6
                      2. ผลวิเคราะห์และแนวทางการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็น 21 การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ตัวชี้วัดที่ 1.1 สัดส่วนของเด็กและเยาวชนไทยมีพฤติกรรมที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์ สุจริต ต่อเด็กและเยาวชนไทยทั้งหมด
                      3. การสร้างความร่วมมือในการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาในหน่วยงานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 6
                      4. การสร้างความร่วมมือในการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 6 ในส่วนของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                      5. กรอบแนวทางการจัดทำบันทึกความเข้าใจ (Memorandum Of Understanding : MOU) กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา
                      6. ผลวิเคราะห์และแนวทางการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็น 21 การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ตัวชี้วัดที่ 1.2 สัดส่วนของประชาชนที่มีวัฒนธรรม ค่านิยมสุจริต มีทัศนคติ และพฤติกรรม ในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบต่อประชาชนทั้งหมด
                      7. ผลวิเคราะห์และแนวทางการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็น 21 การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ตัวชี้วัดที่ 2.1 จำนวนคดีทุจริตในภาพรวมลดลง
                      8. (ร่าง) กรอบการศึกษาความเสี่ยงการทุจริตประพฤติมิชอบ กรณีการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร พื้นที่ภาค 6
 
 
           ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการ สปท. ประจำภาค 6 ได้ให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ต่อประเด็นที่ฝ่ายเลขาฯ เสนอให้พิจารณา ดังนี้ 
                      1. เห็นชอบให้นำข้อเสนอแนะเพื่อยกระดับผลการประเมิน ITA ไปใช้ดำเนินการในเขตพื้นที่ภาค 6 และให้วิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้หน่วยงานยังไม่ผ่านประเมินเพิ่มเติมเพื่อให้มีการยกระดับที่ตรงจุดมากยิ่งขึ้น
                      2. เห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็น 21 การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ตัวชี้วัดที่ 1.1,1.2 และ 2.1 ให้สำนักงาน ป.ป.ช. นำไปขับเคลื่อนในพื้นที่ภาค 6 ต่อไป และให้ตรวจสอบตัวเลขจำนวนคดีทุจริตให้สอดคล้องกับความเป็นจริง
                      3. เห็นชอบแนวทางการสร้างความร่วมมือในการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 6 ทั้งในส่วนของ สพฐ.และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งสำนักงาน ป.ป.ช. จะเริ่มดำเนินการในช่วงเปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2567
                      4. เห็นชอบกรอบแนวทางการจัดทำบันทึกความเข้าใจ (Memorandum Of Understanding : MOU) กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา โดยให้เริ่มนำร่องในจังหวัดที่มีผลการสำรวจไม่ผ่านเกณฑ์เป้าหมาย ได้แก่จังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดสุโขทัย
                      5. เห็นชอบ (ร่าง) กรอบการศึกษาความเสี่ยงการทุจริตประพฤติมิชอบ กรณีการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร พื้นที่ภาค 6 โดยให้เลือกศึกษาพื้นที่ ที่มีปัญหารุนแรงก่อน
 
           ทั้งนี้ สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 6 จะนำข้อสั่งการและข้อเสนอแนะที่ได้รับมติจากคณะอนุกรรมการฯ ไปดำเนินการต่อไป และจะรายงานผลการดำเนินการในการประชุมครั้งถัดไป
 
 
 

Related