Contrast
003f3ad68add2bf8a222acc4b7038305.jpg

การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วมของสำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 7 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

จากไชต์: สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 7
จำนวนผู้เข้าชม: 145

18/06/2567

การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วมของสำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 7

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

 

กิจกรรมที่ 1 คัดเลือกประเด็นความเสี่ยงต่อการทุจริตในพื้นที่

 

 

     

     

     

     

               เมื่อวันที่ 2 – 3 พฤศจิกายน 2566 สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 7 จัดโครงการ STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต  กิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริตในพื้นที่ภาค โครงการ สถานที่ ณ โรงแรม เบย์วินโดว์ แอท ซี อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี กิจกรรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สำนักงาน ป.ป.ช. ร่วมกับเครือข่ายชมรม STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริต ในเขตพื้นที่ ภาค 7 ร่วมกันวางแผนและคัดเลือกประเด็นความเสี่ยงต่อการทุจริตร่วมกัน เพื่อให้แก่ชมรม STRONG - จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดในพื้นที่ภาค ดำเนินการจับตามมองและแจ้งเบาะแสการทุจริตในแนวทางเดียวกัน มีการขยายผลครอบคลุมทุกจังหวัดในพื้นที่ภาค 7

 

 

(1) ประเด็นหรือเรื่องในการมีส่วนร่วม

                        คัดเลือกประเด็นความเสี่ยงต่อการทุจริตในพื้นที่

 

(2) สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 56 คน ประกอบด้วย

  1. โค้ช กรรมการ และสมาชิกชมรม STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริต จังหวัดในพื้นที่ภาค 7 ได้แก่ จังหวัดนครปฐม จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดราชบุรี จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 24 คน
  2. ผู้บริหารสำนักงาน ป.ป.ช. จำนวน 6 คน
  3. เจ้าหน้าที่ของสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด จำนวน 13 คน
  4. เจ้าหน้าที่โครงการ จำนวน 13 คน

 

(3) ผลจากการมีส่วนร่วม

ชมรมฯ ในพื้นที่ภาค 7 ได้กำหนดประเด็นความเสี่ยงต่อการทุจริต เป็นเป้าหมายดำเนินการ 4 ประเด็น ดังนี้

  1. สินบน
  2. การจัดซื้อจัดจ้าง
  3. คิดทำทิ้ง
  4. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          ทั้งนี้ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด และชมรมฯ จะนำประเด้นความเสี่ยงต่อการทุจริตไป วิเคราะห์การรวบรวมเรื่อง/กรณีที่อาจเสี่ยงต่อการทุจริตในพื้นที่ การสำรวจและการลงพื้นที่ นำไปสู่การแก้ไขปัญหาการทุจริตในระดับจังหวัดได้อย่างเป็นรูปธรรม

 

 

กิจกรรมที่ 2 ระดมความคิด วิเคราะห์ ความเสี่ยงต่อการทุจริตกรณี กรณี การก่อสร้างถนนผิวจราจรแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก ในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี

     

     

     

          เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ๒๕๖6 สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 7 จัดโครงการแก้ไขปัญหาการทุจริตในพื้นที่ กิจกรรมโครงการแก้ไขปัญหาการทุจริตในพื้นที่ (สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 7) กิจกรรมที่ 1 การระดมความคิดเห็นเพื่อกำหนดประเด็น จัดทำแผนงานและแนวทางในการขับเคลื่อน เพื่อป้องปรามหรือเฝ้าระวังปัญหาการทุจริตในพื้นที่ ณ โรงแรมศรีอู่ทองแกรนด์ ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี กิจกรรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เพื่อส่งเสริมให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และเครือข่ายภาคประชาสังคมในระดับพื้นที่ เข้ามามีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังปัญหาการทุจริต และให้ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะในการจัดทำมาตรการหรือข้อเสนอแนะในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบในระดับพื้นที่ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม

 

(1) ประเด็นหรือเรื่องในการมีส่วนร่วม

ความเสี่ยงต่อการทุจริตกรณี กรณี การก่อสร้างถนนผิวจราจรแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก ในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี

 

(2) สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 25 คน ประกอบด้วย

  1. ผู้บริหารสำนักงาน ป.ป.ช. จำนวน 1 คน
  2. เจ้าหน้าที่ของสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด จำนวน 1 คน
  3. เจ้าหน้าที่โครงการ จำนวน 5 คน
  4. สมาชิกชมรม STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริต จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 4 คน
  5. ผู้แทนจากสำนักงานทางหลวงชนบทที่ 18 (สุพรรณบุรี) จำนวน 2 คน
  6. ผู้แทนจากสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 1 คน
  7. ผู้แทนจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 3 จำนวน 1 คน
  8. ผู้แทนจากสำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 1 คน
  9. ผู้แทนจากโครงการชลประทานสุพรรณบุรี จำนวน 1 คน
  10. ผู้แทนจากสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 2 คน
  11. ผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 6 คน

 

(3) ผลจากการมีส่วนร่วม

สรุปประเด็น และแนวทางการขับเคลื่อน เพื่อป้องปรามหรือเฝ้าระวังปัญหาการทุจริตในพื้นที่กรณี การก่อสร้างถนนผิวจราจรแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 8 ประเด็น ดังนี้

  1. การสำรวจพื้นที่ที่จะดำเนินการก่อสร้าง
  2. การออกแบบชั้นโครงสร้างทางให้มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่
  3. การขออนุญาตใช้พื้นที่ก่อนดำเนินโครงการก่อสร้าง
  4. การกำกับควบคุมการนำส่งตัวอย่างวัสดุที่ส่งทดสอบ
  5. การขาดความรู้ความเข้าใจด้านช่าง ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ
  6. การควบคุมงานและการตรวจรับพัสดุงานคอนกรีตเสริมเหล็กที่กำลังอัดประลัย (Compressive Strength) และอายุคอนกรีตเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
  7. ความรู้ความเข้าใจในระบบราชการของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  8. การบรรเทาและป้องกันความชำรุดเสียหายที่อาจจะเกิดกับโครงการก่อสร้างถนนที่พื้นดินเดิมไม่แข็งแรงเพียงพอ

          ทั้งนี้ สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 7 ได้แจ้งเวียนสรุปประเด็น และแนวทางการขับเคลื่อน เพื่อป้องปรามหรือเฝ้าระวังปัญหาการทุจริตในพื้นที่ กรณี การก่อสร้างถนนผิวจราจรแบบคอนกรีตเสริมเหล็กแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการป้องกันและลดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการทุจริต เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

Related