Contrast
085af3c84b193dde4fe3ee98b489f4db.jpg

ป.ป.ช.พังงา พร้อมด้วย ชมรม STRONG-พังงา ร่วมดำเนินกิจกรรมจับตามองและแจ้งเบาะแส (Watch & Voice) (ครั้งที่ 2) ณ สถานีตรวจสอบน้ำหนักตะกั่วทุ่ง (ขาออก)

จากไชต์: สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดพังงา
จำนวนผู้เข้าชม: 97

08/03/2567
          วันที่ 8 มีนาคม 2567 นางสาวศุภาลักษณ์ จิรักษา ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดพังงา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ภารกิจป้องกันการทุจริตและสมาชิกเครือข่ายชมรม Strong - จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดพังงา รวมจำนวน 20 คน ร่วมดำเนินกิจกรรมจับตามองและแจ้งเบาะแส (Watch & Voice) (ครั้งที่ 2) ณ สถานีตรวจสอบน้ำหนักตะกั่วทุ่ง (ขาออก) ตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา เพื่อตรวจสอบ ติดตามและสังเกตการณ์การดำเนินการตามข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน โดยสถานีตรวจสอบน้ำหนักตะกั่วทุ่ง อยู่ในเขตความควบคุมของแขวงทางหลวงภูเก็ต มีด่านชั่งน้ำหนัก 2 ประเภท ได้แก่
          1. สถานีตรวจสอบน้ำหนักถาวร (Static) คือ สถานีแบบเครื่องชั่งน้ำหนักรถ ขณะหยุดนิ่ง ประกอบด้วย ระบบคัดแยกประเภทรถอัตโนมัติ กล้องอ่านทะเบียน กล้อง CCTV และอุปกรณ์ควบคุมอื่นๆ
            2. หน่วยชั่งน้ำหนักเคลื่อนที่ (Spot Check) มีหน้าที่ในการสุ่มตรวจรถบรรทุกที่มีน้ำหนักเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด โดยปฏิบัติงานในเส้นทางที่ไม่มีสถานีตรวจสอบน้ำหนักถาวรอยู่
            โดยสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดพังงา ได้มีการตรวจติดตามให้สถานีฯ ปฏิบัติเป็นไปตามแนวทาง/มาตรการ/วิธีการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน (Action Plan) ของกระทรวงคมนาคม ตามหนังสือด่วนที่สุด คค 0208/4798 ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2566 โดยพบว่าสถานีตรวจสอบน้ำหนักตะกั่วทุ่ง มีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับแนวทางของกระทรวงคมนาคม ดังกล่าว โดยมีการปฏิบัติงานร่วมหน่วยงานอื่นๆ เช่น ตำรวจทางหลวง สำนักงานขนส่งจังหวัดพังงา และตรวจสอบใบชั่งรถบรรทุกกรณี ปิดสถานีฯ ในส่วนของการประชาสัมพันธ์ พบว่าได้มีการประชาสัมพันธ์นโยบายและระบบการทำงานที่ถูกต้อง เพื่อสร้างความเข้าใจและให้เห็นถึงความจำเป็นในการควบคุมน้ำหนักของรถบรรทุก ให้แก่ผู้ประกอบการในพื้นที่ เช่น โรงโม่หิน ท่าทราย หรือ ผู้ประกอบการรถบรรทุกอื่นๆ รวมถึงมีการสร้างกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยการเผยแพร่ ช่องทางการแจ้งเบาะแสการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกินไว้ ณ สถานีฯ ประชาชน สามารถแจ้งมาทาง สายด่วน 1586 กด 5 ได้
         ผลจากการมีส่วนร่วมนั้น สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดพังงาและเครือข่าย STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต ได้มีข้อแนะนำ ให้สถานีฯ เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ช่องทางการแจ้งเบาะแสการทุจริตให้เป็นที่รับรู้ รับทราบของประชาชนในวงกว้างยิ่งขึ้น เพื่อให้ประชาชนแจ้งเบาะแสเมื่อพบเห็นการทุจริต พร้อมกันนี้ ได้รับทราบ ข้อจำกัด ปัญหา/อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงาน ซึ่งสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดพังงา จะรวบรวมข้อมูลเพื่อส่งข้อมูลไปยัง สำนักงาน ป.ป.ช. ส่วนกลาง เพื่อขับเคลื่อนมาตรการเชิงรุกต่อไป

Related