Contrast
c97cfe27ec83610baa759c6cec3ef592.jpg

ประจำเดือนกรกฎาคม 2566

จากไชต์: สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุรินทร์
จำนวนผู้เข้าชม: 105

03/08/2566

1.1 กิจกรรมลงพื้นที่ตรวจสอบโครงการที่ปรากฏตามสื่อสังคมออนไลน์

  1. วันที่ 12กรกฎาคม2566

- ตามที่ได้รับแจ้งจากศูนย์ป้องปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงาน ป.ป.ช. (Corruption Deterrence Center หรือ CDC) กรณีปรากฏข่าวในสื่อออนไลน์ ว่าระบบประปาโซลาร์เซลหนองสวายจ๊ะ และแพสูบน้ำ ถูกปล่อยทิ้งร้าง ยังไม่มีการใช้งาน

นายธีรพงศ์ ยอดกุล ผู้อำนวยการ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุรินทร์ พร้อมด้วย กลุ่มงานป้องกันการทุจริต ลงพื้นที่สังเกตการณ์ตามที่ปรากฏเป็นข่าว โดยมีนายวิโรจน์ กองสนั่น นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสวาย เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนจากสำนักทรัพยากรน้ำที่ 5  ร่วมชี้แจง โดยผู้แทนจากสำนักทรัพยากรน้ำที่ 5 ให้ข้อมูลว่าองค์การบริหารส่วนตำบลสวายได้ขอรับการสนับสนุนโครงการก่อสร้างระบบกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ จากทางสำนักทรัพยากรน้ำที่ 5 โดยทางสำนักฯได้ติดตั้งแพสูบน้ำพร้อมปั๊ม แผงโซลาร์เซลและอุปกรณ์อื่นๆ งบประมาณ 1,780,000 บาท ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 ต่อมาในปี พ.ศ. 2564  เกิดฝนตกหนัก มีลมพายุทำให้แพสูบน้ำพลิกคว่ำ ทางคณะกรรมการกลุ่มผู้ใช้น้ำ(ผู้แทนของชุมชน) จึงแจ้งให้องค์การบริหารส่วนตำบลสวาย เก็บแพสูบน้ำขึ้นก่อน และยังไม่ได้รับการซ่อมแซมจนถึงปัจจุบัน ซึ่งโครงการนี้สำนักทรัพยากรน้ำที่ 5 ได้โอนให้องค์การบริหารส่วนตำบลสวายเป็นผู้บริหารจัดการเมื่อปี พ.ศ. 2565 ทั้งนี้สำนักทรัพยากรน้ำที่ 5 จะเข้ามาดำเนินการตรวจสอบและซ่อมแซมอุปกรณ์ทั้งหมดในโครงการนี้เพื่อให้สามารถใช้งานได้ตามปกติโดยเร็ว โดยสำนักทรัพยากรน้ำส่วนที่ 5 จะส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ให้สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุรินทร์ พิจารณาต่อไป และเมื่อดำเนินการแก้ไขซ่อมแซมเสร็จสิ้นจะประสานให้ทางสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุรินทร์ เข้ามาดำเนินการตรวจสอบอีกครั้ง

 

 

 

 

  1. วันที่ 12กรกฎาคม2566

-  ตามที่รับแจ้งจากสำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 3 ระบุว่ามีการปรับปรุงและขุดลอกคลองส่งน้ำบ้านบุอำเปาว์ (2 ฝั่ง) เพื่อส่งน้ำให้กับชาวบ้านงบประมาณโครงการ 30-40 ล้านบาท  ดำเนินการแล้วเสร็จตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 จนปัจจุบันไม่สามารถใช้งานได้

นายธีรพงศ์ ยอดกุล ผู้อำนวยการ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุรินทร์ พร้อมด้วย กลุ่มงานป้องกันการทุจริต จากการลงพื้นที่ตรวจสอบพบว่าเป็นโครงการขององค์การบริหารส่วนตำบลบักได  โดยองค์การบริหารส่วนตำบลบักไดชี้แจงว่า โครงการที่เกี่ยวข้องกับอ่างเก็บน้ำบ้านบุอำเปาว์ มี 2 โครงการ ประกอบด้วย โครงการขุดลอกอ่างเก็บน้ำบ้านบุอำเปา (ฝั่งแรก) งบประมาณ 16,080,000 บาท และโครงการก่อสร้างคลองส่งน้ำ (คลองดาดคอนกรีต) บ้านบุอำเปาว์ งบประมาณ 3,512,220 บาท  ส่วนโครงการที่มีปัญหาคือโครงการที่ 2 เนื่องจากคลองส่งน้ำเกิดความชำรุดเสียหาย จำนวน 3 จุด จึงไม่สามารถส่งน้ำให้แก่ชาวบ้านได้ ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลบักได ได้มีหนังสือแจ้งผู้รับจ้างให้เข้ามาดำเนินการ จำนวน 4 ครั้งแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างรอผู้รับจ้างเข้ามาดำเนินการซ่อมแซมคลองส่งน้ำฯ หากผู้รับจ้างดำเนินการแก้ไขเสร็จสิ้น ทางองค์การบริหารส่วนตำบลบักได จะรายงานให้สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุรินทร์ ทราบต่อไป ส่วนโครงการที่ 1 องค์การบริหารส่วนตำบลบักไดได้ของบประมาณจากกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อดำเนินการในระยะที่ 2 งบประมาณจำนวน 26,000,000 บาท เพื่อดำเนินการขุดลอกอ่างเก็บน้ำบ้านบุอำเปาว์ ให้เเล้วเสร็จทั้ง 2 ระยะ เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้น้ำได้อย่างเพียงพอ

1.2  การดำเนินกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการ

  1. วันที่ 6กรกฎาคม2566

     - นายธีรพงศ์ ยอดกุล ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุรินทร์ พร้อมด้วยกลุ่มงานป้องกันการทุจริต ประชุมติดตามโครงการซ่อมสร้างผิวทางแอสฟัลท์ติกคอนกรีต โดยวิธี (Pavement In – Place Recycling) รหัสสายทาง สร.ถ. 10049 ท่าตูม - จอมพระ ตำบลท่าตูม,  เมืองแก อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ร่วมกับผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ เจ้าของโครงการ ผู้แทนเทศบาลตำบลเมืองแก เจ้าของพื้นที่ และผู้แทนชมรมStrong-จิตพอเพียงต้านทุจริต จังหวัดสุรินทร์ และเครือข่ายภาคประชาชน เข้าร่วมสังเกตการณ์ และลงพื้นที่ โดยสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุรินทร์ ได้เสนอโครงการต้านและลดทุจริตด้วยกลไกสหยุทธ์ เฉพาะกรณีพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริต (STRONG: Together against Corruption-TaC) เป็นหนึ่งในวาระการประชุมของคณะกรมการจังหวัดสุรินทร์ ครั้งที่12/2565 วันที่ 27 ธันวาคม 2565 และสรุปประเด็นและนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการผลักดันการดำเนินงานตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการต่อต้าน      การทุจริตและประพฤติมิชอบ จังหวัดสุรินทร์ ครั้งที่ 1/2566 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งได้เป็นข้อตกลงต้านและลดทุจริตในกรณีพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริต โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ได้มีคำสั่งแต่งตั้งผู้ตรวจสอบโครงการที่อยู่ระหว่างประกันความชำรุดบกพร่อง เพื่อดำเนินการตรวจสอบความชำรุดบกพร่องก่อนคืนหลักประกันสัญญา โดยเป็นการตรวจทุก 3 เดือน จนกระทั่งครบกำหนดคืนหลักประกันสัญญา ซึ่งหากพบความชำรุดบกพร่องจะต้องรายงานผลให้หน่วยงานได้ทราบ ภายหลัง   การลงพื้นที่ พบว่าสภาพถนนใช้งานได้ตามปกติ โดยผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุรินทร์ ได้ให้คำแนะนำเพื่อให้หน่วยงานดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบและหลักเกณฑ์

  1. วันที่10 กรกฎาคม2566  

     - นายธีรพงศ์ ยอดกุล ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุรินทร์ มอบหมายให้กลุ่มงานป้องกันการทุจริต ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม ติดตาม และสังเกตการณ์การดำเนินโครงการอาหารกลางวันและโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ณ โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ (ช่วงเช้า) โดยได้รับทราบข้อมูลการดำเนินโครงการจาก นายเสงี่ยม วงค์พล ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง (ช่วงบ่าย) ได้เข้าพบนายดุสิต สาลี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโชกเหนือ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง นายบุญส่ง สายไทย ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลโชกเหนือ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมให้ข้อมูลการดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและโรงเรียนในสังกัด โดยทางสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุรินทร์ ได้ให้คำแนะนำ รวมทั้งเน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ทั้ง 2 โรงเรียน ดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบกฏหมาย และแนวทางปฎิบัติของโครงการอาหารกลางวันและโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน

  1. วันที่13 กรกฎาคม2566  

-  นายธีรพงศ์ ยอดกุล ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุรินทร์ พร้อมด้วยกลุ่มงานป้องกันการทุจริต ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม ติดตาม และสังเกตการณ์การดำเนินโครงการอาหารกลางวันและโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ณ โรงเรียนบ้านคอโค โรงเรียนเมืองสุรินทร์ (ช่วงเช้า) โรงเรียนบ้านจันรม (ช่วงบ่าย) อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ร่วมกับ นายสุภณัฐ ศิริทอง ผู้อำนวยการกลุ่มงานกฎหมายระเบียบและเรื่องร้องทุกข์ สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ ผู้แทนสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ ผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบลคอโค ผู้แทนเทศบาลเมืองสุรินทร์ ผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบลตาอ็อง ผู้แทนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 และผู้แทนชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต จังหวัดสุรินทร์ โดยได้รับทราบข้อมูลการดำเนินโครงการจากผู้อำนวยการโรงเรียนทั้ง 3 โรงเรียน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดยทางสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุรินทร์  สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ และสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ ได้ให้คำแนะนำ รวมทั้งเน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ทั้ง 3 โรงเรียน ดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบกฏหมาย และแนวทางปฎิบัติของโครงการอาหารกลางวันและโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน 

  1. วันที่ 24 กรกฏาคม 2566

- นายธีรพงศ์ ยอดกุล ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุรินทร์ พร้อมด้วยกลุ่มงานป้องกันการทุจริต ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม ติดตาม และสังเกตการณ์การดำเนินโครงการอาหารกลางวันและโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ณ โรงเรียนบ้านเมืองแก อำเภอท่าตูม โรงเรียนบ้านม่วงหมาก อำเภอรัตนบุรี (ช่วงเช้า) โรงเรียนบ้านเซียงซิน-โนนดู่ อำเภอโนนนารายณ์ (ช่วงบ่าย) ร่วมกับ นายสุภณัฐ ศิริทอง ผู้อำนวยการกลุ่มงานกฎหมายระเบียบและเรื่องร้องทุกข์ สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ ผู้แทนสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ ผู้แทนเทศบาลตำบลเมืองแก ผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบลธาตุ ผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบลคำผง ผู้แทนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 โดยได้รับทราบข้อมูลการดำเนินโครงการจากผู้อำนวยการโรงเรียนทั้ง 3 โรงเรียน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดยทางสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุรินทร์ สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ และสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ ได้ให้คำแนะนำ รวมทั้งเน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ทั้ง 3 โรงเรียน ดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบ   กฏหมาย และแนวทางปฎิบัติของโครงการอาหารกลางวันและโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน  โดยการลงพื้นที่ดังกล่าวไม่ใช่เป็นการตรวจสอบเพื่อรับรองความถูกต้องของการดำเนินโครงการเป็นเพียงการป้องปรามการทุจริตอันอาจเกิดจากการดำเนินโครงการ

Related