สำนักส่งเสริมและบูรณาการการมีส่วนร่วมต้านทุจริต จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาแนวทางต้านและลดการทุจริตด้วยกลไกสหยุทธ์
กรณีพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริตกรุงเทพมหานคร ประจำเดือนพฤษภาคม (ครั้งที่ 17 - 24)
-----------------------------------------------------------------
เมื่อวันที่ 8, 15, 17, 29 และ 31 พฤษภาคม 2567 สำนักงาน ป.ป.ช. โดยสำนักส่งเสริมและบูรณาการการมีส่วนร่วมต้านทุจริต ได้จัดกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาแนวทางต้านและลดการทุจริตด้วยกลไกสหยุทธ์ กรณีพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริตกรุงเทพมหานคร (ครั้งที่ 17 - 21) จำนวน 10 เขต ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ภายใต้โครงการต้านและลดทุจริตด้วยกลไกสหยุทธ์กรณีพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริต (STRONG : Together against Corruption - TaC) โครงการดังกล่าว เป็นการร่วมมือระหว่างสำนักงาน ป.ป.ช. และกรุงเทพมหานคร ในการร่วมสร้างกรุงเทพมหานคร ให้โปร่งใสไร้ทุจริต "STRONG Smart Capital Bangkok"
การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการทั้ง 5 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และภาคส่วนต่าง ๆ ในการร่วมกันแก้ไขปัญหา มุ่งสู่การส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริตและมีส่วนร่วมต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ส่งผลให้คดีทุจริตลดลง ทั้งนี้ เครือข่ายภาคประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ร่วมกับหน่วยงานที่รับผิดชอบภายใต้สังกัดกรุงเทพมหานคร กำหนดแนวทาง/ข้อตกลง เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาหรือลดผลกระทบความเดือดร้อนของประชาชน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สู่การยกระดับค่าคะแนน CPI โดยได้ดำเนินการในวันเวลา ดังนี้
เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2567 ผู้แทนภาคประชาชนเขตสัมพันธวงศ์ ได้กำหนดประเด็นการจับตามองฯ กรณีการปล่อยให้มีการขายของกีดขวางทางเท้า และการเรียกเก็บเงินจากผู้ค้าหาบเร่แผงลอย บริเวณถนนเยาวราช ถนนแปลงนาม และถนนผดุงด้าว โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ ฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ ร่วมกำหนดแนวทาง/ข้อตกลง โดยจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา มีข้อเสนอว่า สำนักงานเขตควรมีการอบรมผู้ค้า ชี้แจงให้มีความเข้าใจกฎเกณฑ์ในการขายให้เข้าใจตรงกัน ไม่ว่าจะเป็นการให้ผู้ค้าคัดแยกขยะ และงดการล้างภาชนะบริเวณร้านค้า เพื่อลดการอุดตันและรักษาความสะอาด นอกจากนี้ สำนักงานเขตจะต้องเข้มงวดกวดขันประเด็นทางเท้าตามนโยบายของผู้ว่ากทม. โดยจัดระเบียบแผงค้าให้อยู่บนทางเดินเท้าเท่านั้น และปิดพื้นที่ 1 ช่องจราจรพร้อมแผงเหล็กกั้นตลอดแนว ทั้ง 2 ฝั่งถนน ให้เป็นพื้นที่สัญจรของประชาชนและนักท่องเที่ยวเพื่อลดอุบัติเหตุ และควรมีประชุมคณะกรรมการหาบเร่แผงลอย โดยการบูรณาการร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ตำรวจ ผู้ค้า เจ้าของอาคารพาณิชย์ พร้อมทั้ง ลงพื้นที่เพื่อตรวจความเรียบร้อย ร่วมกับฝ่ายรักษาความสะอาดและสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันผู้แทนภาคประชาชนเขตดินแดง ได้กำหนดประเด็นการจับตามองฯ กรณีการปล่อยให้มีการขายของกีดขวางทางเท้า และการเรียกเก็บเงินจากผู้ค้าหาบเร่แผงลอย บริเวณตลาดสดห้วยขวาง เขตดินแดง โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ ฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขตดินแดง ร่วมกำหนดแนวทาง/ข้อตกลง โดยสำนักงานเขตดินแดง ได้มีการประสานและจัดประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่
การเคหะแห่งชาติดินแดง เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกันในการจัดระเบียบพื้นที่และลงพื้นที่กวดขัน ปัจจุบันได้มีข้อตกลงให้ร้านค้าหยุดขายทุกวันจันทร์ และหากพบผู้กระทำความผิด เจ้าหน้าที่จะออกไปตรวจแนะนำ และดำเนินการปรับเป็นพินัยต่อไป ทั้งนี้ สำนักงานเขตดินแดงได้มีการประสานกับทาง สน.ห้วยขวาง เพื่อกวดขันรถเร่ที่จอดขวางผิวจราจร ส่วนกรณีที่มีการประกอบกิจการกีดขวางทางเท้า ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงบนทางเท้าและท่อระบายน้ำ ทำให้เกิดความสกปรก อุดตันท่อระบายน้ำ น้ำท่วมขัง และก่อให้เกิดอุบัติเหตุ ฟุตบาทชำรุดก่อนเวลาอันควร ปัจจุบันทางสำนักงานเขตดินแดง ได้มีการยุบ ยกเลิกค้าขาย บริเวณตั้งแต่คลองดินแดงจนถึงพระพิฆเณศ สี่แยกห้วยขวาง และกรณีการเปิดร้านค้าขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีการตั้งวางโต๊ะเก้าอี้วางรุกล้ำทางเดินเท้า ทางสำนักงานเขตจะรับเรื่องไปประสานกับผู้ประกอบการและจัดระเบียบพื้นที่ต่อไป
เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 ผู้แทนภาคประชาชนเขตปทุมวัน ได้กำหนดประเด็นการจับตามองฯ กรณีการปล่อยให้ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยขายของกีดขวางทางเดินเท้า บริเวณซอยปลูกจิต บ่อนไก่ ถนนพระราม 4 โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ ฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขตปทุมวัน ร่วมกำหนดแนวทาง/ข้อตกลง โดยจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา มีข้อเสนอว่า กรณีที่เจ้าของตึกเอกชนมีการจับจองพื้นที่หน้าอาคาร และวางของบนทางเท้า ทางฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขตปทุมวัน ได้มีการติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์ รวมทั้งมีเจ้าหน้าที่สายตรวจลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์ ส่วนกรณีการปล่อยให้เช่าพื้นที่ฯ ทางฝ่ายเทศกิจได้มีการจัดระเบียบ หากมีวางของกีดขวางทางเท้า ได้บังคับโทษตามกฎหมาย ขณะที่บางพื้นที่เป็นของส่วนทรัพย์สินฯ บังคับตามระเบียบพื้นที่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และกรณีที่มีรถจักรยานยนต์ขับขี่บนทางเท้า ทางฝ่ายเทศกิจ ได้ดำเนินการกวดขันและจับกุมบังคับใช้ตามกฎหมาย ทั้งนี้ ประสานกับทางจราจร สน.ปทุมวัน และสน.ลุมพินี ในการบังคับใช้กฎหมาย เนื่องจากพื้นที่บริเวณดังกล่าว เป็นพื้นที่ของหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะชุมชนพัฒนาบ่อนไก่เป็นพื้นที่ส่วนบุคคล นอกอำนาจหน้าที่ อย่างไรก็ตามทางเอกชนสามารถเข้าทำ MOU กับทางกทม. และสั่งการมายังสำนักงานเขตในการจัดสรรรวมถึงจัดระเบียบดูแลพื้นที่ ในขณะเดียวกันผู้แทน
ภาคประชาชนเขตบางคอแหลม ได้กำหนดประเด็นการจับตามองฯ การพิจารณาแผนพัฒนาชุมชน และการบริหารงาน/ความคุ้มค่าในการใช้งบประมาณ โครงการชุมชนเข้มแข็งพัฒนาตนเองตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2566 โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสังคม สำนักงานเขตบางคอแหลม ร่วมกำหนดแนวทาง/ข้อตกลง โดยจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา มีข้อเสนอว่า สำนักงานเขตควรมีเวทีให้ทางภาคประชาชนได้ร่วมเสนอข้อคิดเห็นผ่านเวทีชุมชน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างผู้ว่า กทม. ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการและอยู่ระหว่างชุมชนเขียนขอความประสงค์ในการจัดซื้อจัดจ้าง ทั้งนี้ ทางสำนักงานเขตจะนำงบประมาณเหลือจ่ายคืนกลับให้กรุงเทพมหานคร และในอนาคต กทม. อาจจะมีนโยบายให้งบประมาณชุมชนได้ดำเนินการด้วยตนเอง
เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2567 ผู้แทนภาคประชาชนเขตบางบอน ได้กำหนดประเด็นการจับตามองฯ การพิจารณาแผนพัฒนาชุมชน และการบริหารงาน/ความคุ้มค่าในการใช้งบประมาณ โครงการชุมชนเข้มแข็งพัฒนาตนเองตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2566 ในพื้นที่เขตบางบอน โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสังคม สำนักงานเขตบางบอน ร่วมกำหนดแนวทาง/ข้อตกลง โดยจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา มีข้อเสนอว่า ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสังคม มีการเปิดเวทีเพื่อให้ชุมชนเสนอความต้องการ จากนั้นคณะจัดทำแผน คณะกรรการกำหนดรายละเอียดพัสดุครุภัณฑ์ และคณะกรรมการตรวจรับจะดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป กรณีได้ของไม่ตรงตามความต้องการ คุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน เมื่อเทียบกับของที่ซื้อจากแหล่งงบประมาณอื่น สามารถเสนอความต้องการสินค้าได้เพื่อจัดทำแผนโครงการในปีงบประมาณถัดไป ทั้งนี้ สามารถส่งของที่ชำรุดเพื่อซ่อมแซมได้ โดยมีระยะเวลาประกันสินค้า ไม่เกิน 1 ปี ในขณะเดียวกันผู้แทนภาคประชาชนเขตราษฎร์บูรณะ ได้กำหนดประเด็นการจับตามองฯ การพิจารณาแผนพัฒนาชุมชน และการบริหารงาน/ความคุ้มค่าในการใช้งบประมาณ โครงการชุมชนเข้มแข็งพัฒนาตนเองตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2566 ในพื้นที่เขตราษฎร์บูรณะ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสังคม สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ ร่วมกำหนดแนวทาง/ข้อตกลง โดยจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา มีข้อเสนอว่า ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสังคม สำนักเขตควรชี้แจงและประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนได้เข้าใจถึงรายละเอียด วัตถุประสงค์ ขั้นตอน และระยะเวลาการดำเนินโครงการ รวมถึงรายการพัสดุ/ครุภัณฑ์ ที่ชุมชนสามารถจัดซื้อจัดจ้างได้ อย่างชัดเจน ตั้งแต่ตอนเปิดเวทีประชาคม และอาจจะยกตัวอย่างกิจกรรมที่สามรถจัดซื้อจัดจ้างได้สำเร็จในปีที่ผ่านมา โดยอาจจัดทำเป็น infographic หรือสรุปข้อมูลให้อ่านและเข้าใจได้ง่าย เพื่อให้ประชนเข้าใจอย่างทั่วถึง ลดข้อขัดแย้งและประเด็นคำถาม และชุมชนจะขอพัสดุ/ครุภัณฑ์ ไม่ผิดไปจากวัตถุประสงค์โครงการ รวมถึงรายละเอียด พัสดุ/ครุภัณฑ์กลาง ของสำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร ที่ชุมชนสามารถจัดซื้อจัดจ้างได้ทำให้ชุมชนได้พิจารณาขอและได้รับของตามที่ต้องการเพื่อเป็นป้องกันการไม่ตรวจรับและคืนสินค้า
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2567 ผู้แทนภาคประชาชนเขตหลักสี่ ได้กำหนดประเด็นการจับตามองฯ กรณีที่มีการปล่อยให้ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยขายของกีดขวางทางเดินเท้า และการปล่อยให้มีการค้านอกจุดผ่อนผัน
บริเวณซอยวิภาวดี 25 โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ ฝ่ายเทศกิจสำนักงานเขตหลักสี่ ร่วมกำหนดแนวทาง/ข้อตกลง โดยจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา มีข้อเสนอว่า เนื่องจากบริเวณซอยวิภาวดีเป็นบริเวณที่ตกการสำรวจผู้ค้า สำนักงานเขตจึงได้มีการประชุมคณะกรรมการหาบเร่ - แผงลอยระดับเขต เมื่อวันที่ 25 เม.ย. 67 มีมติที่ประชุมว่าให้ฝ่ายเทศกิจจัดระเบียบผู้ค้าในซอยวิภาวดี 25 ให้ประชาชนสามารถใช้ทางเท้า
ในการค้าขายได้ และให้ทำการปรับเป็นพินัยกับผู้ค้าหาบเร่ - แผงลอยทุกราย เพื่อให้การช่วยเหลือการดำรงชีพของประชาชน นอกจากนี้ได้มีการจัดประชุมผู้ค้าในซอยวิภาวดี 25 ให้ทราบมติคณะกรรมการจัดระเบียบหาบเร่ - แผงลอยระดับเขต ในการจัดระเบียบและบริเวณที่ห้ามตั้งวางจำหน่ายสินค้า เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2567 ส่วนกรณีพบผู้ตั้งแผงลอยในลักษณะกึ่งถาวร ฝ่ายเทศกิจได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ค้าเก็บแผงลอยให้เรียบร้อย หากไม่ปฏิบัติตามจะมีการรื้อถอน และตีเส้นแบ่งเขตการขาย รวมถึงฝ่ายเทศกิจควรมีการดำเนินการแก้ไขปัญหาให้หมดไปอย่างชัดเจน (บังคับใช้มาตรการและบทลงโทษตามระดับความผิด) หากบางพื้นที่ที่อยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ของสำนักงานเขต เช่น บริเวณชุมชนเคหะ ซึ่งเป็นพื้นที่ของการเคหะ สำนักงานเขตควรประสานงานกับการเคหะเพื่อแก้ปัญหา นอกจากนี้ยังมีกรณีมีน้ำมันรั่วไหลจากการซ่อมรถ รวมถึงสิ่งปฏิกูลจากการค้าขายที่ทิ้งลงบนทางเท้าและท่อระบายน้ำ เกิดความสกปรก ไม่เป็นระเบียบ ไขมันอุดตันท่อระบายน้ำ เป็นความรับผิดชอบของฝ่ายสิ่งแวดล้อมจึงควรประสานงานระหว่างฝ่ายเพื่อแก้ปัญหา ส่วนกรณีผู้เก็บค่าเช่าพื้นที่แทนเจ้าหน้าที่ของเขต ไม่ได้มาจากสำนักงานเขต มีการแอบอ้างเพื่อหาผลประโยชน์ ฝ่ายเทศกิจจึงควรกวดขันตรวจสอบกรณีดังกล่าวเพื่อไม่ให้เกิดกรณีดังกล่าวเดียวขึ้นอีก อีกทั้ง ประชาชนในพื้นที่มีส่วนนำเสนอพื้นที่ทำการค้าแก่สำนักงานเขต เนื่องจากประชาชนในพื้นที่จะทราบว่าพื้นที่บริเวณไหนเป็นบริเวณที่ประชาชนสัญจรผ่านไปมาเหมาะแก่การค้าขาย ในขณะเดียวกันผู้แทนภาคประชาชนเขตดอนเมือง ได้กำหนดประเด็นการจับตามองฯ ตรวจสอบความคุ้มค่าและระยะเวลาการดำเนินงานตามสัญญาโครงการปรับปรุงถนนเชิดวุฒากาศ บริเวณแยกหน้าสำนักงานเขตดอนเมือง ถึงคูนายกิมสาย 1 โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ ฝ่ายโยธา สำนักงานเขตดอนเมือง ร่วมกำหนดแนวทาง/ข้อตกลง โดยจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา มีข้อเสนอว่า กรณีการดำเนินการโครงการเกิดความล่าช้า เนื่องจากมีการดำเนินงานปรับปรุงงานประปา บริเวณหน้าตลาดใหม่ ทางสำนักงานเขต ควรมีการประชาสัมพันธ์พิจารณาเปรียบเทียบปรับโครงการล่าช้า รวมถึงควรประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการสัญจรขณะโครงการอยู่ระหว่างก่อสร้าง รวมถึงการดูแลความปลอดภัยจากอุบัติเหตุที่อาจะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการดังกล่าว นอกจากนี้สำนักงานเขตควรมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลโครงการ ผ่านทางเว็บไซต์ระบบเผยแพร่ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของหน่วยงานกรุงเทพมหานคร https://egp.bangkok.go.th/ และความคืบหน้าการดำเนินโครงการ
ทางเว็ปไซต์สำนักงานเขตโดยตรง รวมถึงมีการติดป้ายประชาสัมพันธ์การก่อสร้างในพื้นที่ และติดป้ายโครงการเมื่อเซ็นสัญญาแล้วเสร็จ
เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2567 ผู้แทนภาคประชาชนเขตมีนบุรี ได้กำหนดประเด็นการจับตามองฯ ตรวจสอบความคุ้มค่าการใช้งบประมาณและคุณภาพการก่อสร้างถนน กรณีถนนชำรุดหลังจากก่อสร้างเสร็จเพียง 1 ปี บริเวณชุมชนมีนบุรี การ์เด้นโฮม แยก 9 ซอยราษฎร์อุทิศ 48 แขวงแสนแสบ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ ฝ่ายโยธา สำนักงานเขตมีนบุรี ร่วมกำหนดแนวทาง/ข้อตกลง โดยจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา มีข้อเสนอว่า วัสดุที่ใช้ก่อสร้างพื้นผิวถนน ได้มีการส่งตัวอย่างวัสดุตรวจสอบคุณภาพ ไปยังหน่วยตรวจสอบกองวิเคราะห์และวิจัยให้บริการทดสอบคุณภาพวัสดุก่อสร้าง กทม. ก่อนที่จะนำไปใช้จริง ซึ่งการคัดเลือกผู้รับจ้าง เป็นวิธีการคัดเลือกผู้รับจ้างตามระเบียบของกรุงเทพฯ และกรมบัญชีกลาง สำนักงานเขตควรมีการประชุมร่วมกับผู้นำชุมชนเป็นประจำทุกเดือนเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความต้องการในการบรรเทา/เยียวยา
ความเดือดร้อน นอกจากนี้ สำนักงานเขตยังเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนสามารถนำเสนอเรื่องผ่านผู้นำชุมชนผ่าน Line ฝ่ายพัฒนาชุมชนหรือติดต่อสำนักงานเขตได้โดยตรง เบอร์โทร ฝ่ายโยธา 0-2914-5831 และ
มีการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของสำนักงานเขตผ่านทาง Facebook fanpage : สำนักงานเขตมีนบุรี ในขณะเดียวกัน ผู้แทนภาคประชาชนเขตคลองสามวา ได้กำหนดประเด็นการจับตามองฯ ตรวจสอบความคุ้มค่าการใช้งบประมาณและแผนงานสำหรับการจัดสร้างสวน 15 นาที ในเขตพื้นที่คลองสามวา โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสวนสาธารณะ สำนักงานเขตคลองสามวา ร่วมกำหนดแนวทาง/ข้อตกลง โดยจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา มีข้อเสนอว่า ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสวนสาธารณะ สำนักงานเขต ควรกวดขันในการดูแลรักษาสวนสาธารณะ รวมถึงประสานงานการติดตั้งเสาไฟฟ้ากับฝ่ายโยธา นอกจากนี้สำนักงานเขต ควรใช้ทุกช่องทางประชาสัมพันธ์โครงการ วัตถุประสงค์ของโครงการ การใช้งบประมาณ รวมถึงการทำงานของสำนักงานเขตและความคืบหน้าในการดำเนินการ ให้ประชาชนได้รับทราบกันอย่างทั่วถึง อีกทั้งควรทำการสำรวจพื้นที่และประชาคมก่อนของบประมาณจัดสร้างสวน เพื่อให้ได้พื้นที่ในการสร้างสวนได้อย่างเหมาะสมและเอื้อต่อการใช้งานตามความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง