องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International หรือ TI) เตรียมประกาศคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต หรือ CPI (Corruption Perceptions Index : CPI) ประจำปี 2020 ในวันที่ 28 มกราคม 2564 เวลา 12.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย
นายนิวัติไชย เกษมมงคล รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. เปิดเผยว่า ในวันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม 2564 เวลา 06.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นของประเทศเยอรมนี หรือประมาณ 12.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International หรือ TI) จะประกาศคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต หรือ CPI (Corruption Perceptions Index : CPI) ประจำปี 2020
องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International หรือ TI) เตรียมประกาศคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต หรือ CPI (Corruption Perceptions Index : CPI) ประจำปี 2020 ในวันที่ 28 มกราคม 2564 เวลา 12.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย
นายนิวัติไชย เกษมมงคล รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. เปิดเผยว่า ในวันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม 2564 เวลา 06.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นของประเทศเยอรมนี หรือประมาณ 12.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International หรือ TI) จะประกาศคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต หรือ CPI (Corruption Perceptions Index : CPI) ประจำปี 2020
สำหรับการประกาศคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต หรือ CPI ประจำปี 2019 ประเทศไทย ได้คะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ที่ 36 คะแนน จัดอยู่ในลำดับที่ 101 จากจำนวน 180 ประเทศทั่วโลก โดยประเทศเดนมาร์ก และนิวซีแลนด์ ได้อันดับที่ 1 ด้วยคะแนนสูงสุด 87 คะแนน สำหรับในประเทศกลุ่มอาเซียน ประเทศไทย จัดอยู่ในอันดับที่ 6 โดยมีประเทศสิงคโปร์ ได้คะแนนสูงสุด คือ 85 คะแนน ซึ่งคะแนนดัชนีการรับรู้ การทุจริต (CPI) ประจำปี 2020 นี้ ประเทศไทยจะได้คะแนนเพิ่มขึ้นหรือลดลง ต้องติดตามการประกาศจากองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ หรือ TI ในวันดังกล่าว ซึ่งสำนักงาน ป.ป.ช. จะนำข้อมูลมาเผยแพร่ให้ทราบอีกครั้ง และประชาชนยังสามารถติดตามข้อมูลข่าวเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ สำนักงาน ป.ป.ช. www.nacc.go.th
ทั้งนี้ คะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต หรือ CPI จะเป็นเครื่องมือในการบ่งชี้ที่สำคัญที่ทำให้หน่วยงานภาครัฐ ภาครัฐวิสาหกิจ ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคม สื่อมวลชน และประชาชนไทยจะต้องตระหนักถึง การแก้ไขปัญหาการทุจริตอย่างจริงจัง เนื่องจากการทุจริตนั้นถือว่าเป็นอาชญากรรมประเภทหนึ่งที่เป็นอุปสรรค ต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ และเพื่อให้สังคมไทยก้าวข้ามสภาวะความยากจน ความไม่เท่าเทียมกัน อย่างมีประสิทธิภาพ ทุกภาคส่วนจึงต้องแสดงความจริงจังและจริงใจในการแก้ไขปัญหาการทุจริต และปรับ ฐานความคิดในการไม่ทน ไม่เฉย กับการทุจริตทุกรูปแบบ ซึ่งตลอดปีที่ผ่านมานั้น สำนักงาน ป.ป.ช. ได้บูรณาการ การปฏิบัติงานร่วมกันในทุกภารกิจงาน ทั้งด้านการป้องกันการทุจริต ด้านการปราบปรามการทุจริต และ ด้านการตรวจสอบทรัพย์สิน รวมทั้งร่วมปฏิบัติงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และ ภาคประชาสังคม เพื่อจัดทำแผนงาน / โครงการ ยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริตให้เป็นไปตามเป้าหมาย ที่กำหนดไว้