Contrast
banner_default_3.jpg

โครงสร้างภายในสำนัก

จากไชต์: สำนักเฝ้าระวังและประเมินสภาวการณ์ทุจริต
จำนวนผู้เข้าชม: 343

29/05/2566

การแบ่งหน่วยงานภายใน

โดยแบ่งหน่วยงานภายในเป็น 1 ฝ่าย 2 กลุ่ม และมีอัตรากำลังจำนวน 24 อัตรา ประกอบด้วย

-ผู้อำนวยการ (อำนวยการระดับสูง)

1) ฝ่ายบริหารทั่วไป

หน้าที่ความรับผิดชอบ

  • ปฏิบัติงานธุรการและงานสารบรรณของสำนัก
  • ปฏิบัติงานเลขานุการและงานการประชุมของสำนัก
  • ปฏิบัติงานเกี่ยวกับพัสดุ ครุภัณฑ์ การเงินและงบประมาณประจำงวดของสำนัก
  • ดำเนินการเกี่ยวกับงานบริหารทรัพยากรบุคคลเบื้องต้นของสำนัก
  • วิเคราะห์และจัดทำแผนการพัฒนาองค์กรต่างๆ ของหน่วยงาน เช่น การบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน และสนับสนุนข้อมูลสำหรับการบริหารจัดการของผู้บังคับบัญชา
  • ประสานการจัดทำแผนงาน โครงการ และงบประมาณ รวมทั้งการรายงานผลการปฏิบัติงาน การใช้จ่ายงบประมาณและสถิติของสำนัก
  • ประสานและปฏิบัติงานอื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย ตลอดจนสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

2) กลุ่มเฝ้าระวังและประเมินสภาวการณ์ทุจริต

หน้าที่ความรับผิดชอบ

  • ติดตาม เฝ้าระวัง ประเมินสภาวการณ์อย่างรวดเร็ว (rapid appraisal) เพื่อเตือนภัยเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่บ่งชี้ว่าจะมีการทุจริตเกิดขึ้นในสังคมไทย เพื่อเสนอโดยเร็วต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปขยายผล เช่น สร้างการตื่นรู้ (realise) การจัดกิจกรรมการป้องกัน และการนำไปสร้างมาตรการป้องกันเชิงรุก
  • ตรวจสอบกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นว่ามีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการดำเนินการอย่างใดในหน่วยงานของรัฐอันอาจนำไปสู่การทุจริตหรือส่อว่าอาจมีการทุจริต และรายงานผลการตรวจสอบ พร้อมทั้งข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไขต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณามีหนังสือแจ้งให้หน่วยงานของรัฐ และคณะรัฐมนตรีทราบ รวมทั้งติดตามผลการดำเนินการตามมติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ดังกล่าว
  • ประสานกับสำนักงาน ป.ป.ช. ภาคและสำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัด รวมทั้งหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเป็นเครือข่าย เพื่อร่วมติดตาม เฝ้าระวัง ประเมินสภาวการณ์ทุจริตอย่างรวดเร็ว (rapid appraisal) เพื่อให้เกิดการป้องกันโดยเร็ว
  • ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเป็นเครือข่าย
  • เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ วิธีการและแนวทางในการติดตามเฝ้าระวังการทุจริตให้กับเครือข่าย
  • จัดทำรายงานผลการดำเนินการสำรวจ ติดตาม และประเมินสถานการณ์การทุจริตของประเทศ ทุกไตรมาส และเสนอต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.
  • ติดตามและประเมินผลความสำเร็จและความคุ้มค่าในการดำเนินงาน และจัดทำรายงานเสนอต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. รวมทั้งประสานสำนักมาตรการเชิงรุกและนวัตกรรมเพื่อนำไปประกอบการพิจารณากำหนดมาตรการ ความเห็น และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
  • ประสานและปฏิบัติงานอื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย ตลอดจนสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

3) กลุ่มสำรวจการรับรู้การทุจริต

หน้าที่ความรับผิดชอบ

  • ดำเนินการสำรวจการรับรู้การทุจริตปีละหนึ่งครั้ง และจัดทำรายงานเสนอต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. รวมทั้งเผยแพร่ต่อสาธารณะในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล (International Anti-Corruption Day)
  • ประสานกับสำนักงาน ป.ป.ช. ภาคและสำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัด รวมทั้งหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมสำรวจการรับรู้การทุจริต
  • จัดทำรายงานผลการดำเนินการของกลุ่มสำรวจการรับรู้การทุจริต ส่งให้กลุ่มเฝ้าระวังและประเมินสภาวการณ์ทุจริต เพื่อนำไปวิเคราะห์และประเมินผลสำเร็จและความคุ้มค่า และจัดทำรายงานผลการดำเนินการ

ประสานและปฏิบัติงานอื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย ตลอดจนสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

Related