Contrast
Font
94a90d149ae8c53ee1abe7544e53d24b.jpg

ป.ป.ช. เข้าร่วมประชุม GlobE Network ครั้งที่ 5 ณ กรุงปักกิ่ง มุ่งเสริมความร่วมมือสากล

จากไชต์: สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ
จำนวนผู้เข้าชม: 132

24/09/2567

ป.ป.ช. เข้าร่วมประชุม GlobE Network ครั้งที่ 5 ณ กรุงปักกิ่ง มุ่งเสริมความร่วมมือสากล

 

เมื่อวันอังคารที่ 24 กันยายน 2567 นายเอกวิทย์ วัชชวัลคุ กรรมการ ป.ป.ช. พร้อมด้วย นายนิติพันธุ์ ประจวบเหมาะ รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. และเจ้าหน้าที่สำนักกิจการและคดีทุจริตระหว่างประเทศ เข้าร่วมการประชุม The Plenary Meeting of the Global Operational Network of Anti-Corruption Law Enforcement Authorities (GlobE Network) สมัยที่ 5 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน

 

การประชุมดังกล่าวเป็นการประชุมประจำปีของ GlobE Network ซึ่งเป็นเครือข่ายสากลของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายจากรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต (UNCAC)  มีวัตถุประสงค์ให้หน่วยงานสมาชิก (member authority) ได้เสริมสร้างความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินคดีทุจริตระหว่างประเทศ

 

ปัจจุบัน GlobE Network มีสมาชิกจาก 119 ประเทศ ในส่วนของประเทศไทย สำนักงาน ป.ป.ช. ในฐานะองค์กรหลักในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและหน่วยงานกลางในการให้ความร่วมมือระหว่างประเทศตามพันธกรณีด้านการต่อต้านการทุจริต ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 และสำนักงานอัยการสูงสุด ในฐานะผู้ประสานงานกลางตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นสมาชิกของเครือข่ายฯ ดังกล่าว ทั้งนี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้เห็นชอบให้สำนักงาน ปปง. ในฐานะหน่วยข่าวกรองทางการเงิน (Financial Intelligence Unit) ซึ่งสามารถประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกรรมทางการเงินในคดีทุจริตเพื่อประโยชน์ในการยึด อายัดและติดตามทรัพย์สินในคดีทุจริตกลับคืนประเทศไทย เป็นหน่วยงานที่มีความเหมาะสมในการเป็นสมาชิกเครือข่ายฯ ลำดับที่ 3 ของไทยต่อไป

 

ในโอกาสนี้ นายเอกวิทย์ วัชชวัลคุ กรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ได้กล่าวถ้อยแถลงแสดงความมุ่งมั่นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการดำเนินคดีทุจริตระหว่างประเทศ โดยอาศัยความร่วมมือกับสำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงาน ปปง. โดยได้เน้นย้ำความสำคัญในเรื่องการปฏิเสธการให้ที่พักพิง (Denial of Safe Haven) กับเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้กระทำความผิดคดีทุจริตรวมถึงทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำความผิดดังกล่าว และการประสานงานกับหน่วยงานต่างประเทศในการรวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลพยานหลักฐานและข่าวกรองเพื่อประโยชน์ในการสืบสวนสอบสวนคดีทุจริตและการติดตามทรัพย์สินคืนต่อ

Related