จากไชต์: สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ
จำนวนผู้เข้าชม: 205
ป.ป.ช. เข้าร่วมหารือข้อราชการระดับทวิภาคี ในงาน GlobE Network สมัยที่ 5 ณ กรุงปักกิ่ง
เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2567 ในการประชุม Plenary Meeting of the Global Operational Network of Anti-Corruption Law Enforcement Authorities (GlobE Network) สมัยที่ 5 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
นายเอกวิทย์ วัชชวัลคุ กรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย นายนิติพันธุ์ ประจวบเหมาะ รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. และเจ้าหน้าที่สำนักกิจการและคดีทุจริตระหว่างประเทศ สำนักงาน ป.ป.ช. พร้อมด้วย นายจุมพล พันธุ์สัมฤทธิ์ รองอัยการสูงสุด ได้หารือข้อราชการระดับทวิภาคีร่วมกับผู้แทนหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายด้านการต่อต้านการทุจริตจากประเทศต่าง ๆ ดังนี้
1. การหารือข้อราชการกับ Mr. Cai Wei อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ คณะกรรมการการตรวจตราแห่งชาติ (The National Commission of Supervision (NCS) แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ผู้แทนคณะกรรมการการตรวจตราแห่งชาติ และผู้แทนไทย ได้หารือร่วมกันโดยเน้นย้ำความสำคัญของความร่วมมือระหว่างประเทศในกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินการกับทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด โดย Mr. Cai Wei ได้แสดงความขอบคุณคณะผู้แทนไทยที่ให้ความสำคัญกับการประชุมเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในครั้งนี้
2.การหารือข้อราชการกับ H.E. Humaid Abushits, Chairman of Accountability Authority แห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ประธานหน่วยงานตรวจสอบแห่งอียิปต์ และคณะผู้แทนไทย ได้หารือถึงความร่วมมือระหว่างกันในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเพื่อส่งเสริมการค้าขายและการลงทุนที่สุจริตระหว่างสองประเทศ และไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำความผิด ซึ่งเป็นการแนวทางที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต (UNCAC)
นอกจากนี้ ในการประชุม Plenary Meeting of the Global Operational Network of Anti-Corruption Law Enforcement Authorities (GlobE Network) ครั้งนี้ มีวาระการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ (Steering Committee of the GlobE Network) เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานต่าง ๆ ของ GlobE Network โดยนายเอกวิทย์ วัชชวัลคุ กรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ได้ร่วมลงคะแนนเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารฯ ดังกล่าว
ซึ่งที่ประชุมได้รับรองผลการเลือกตั้ง ดังนี้ ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการฯ (Chair) สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการฯ (Vice-Chair) และกรรมการ ประกอบด้วย สาธารณรัฐประชาชนจีน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สาธารณรัฐเกาหลีใต้ สหพันธรัฐรัสเซีย สาธารณรัฐอินเดีย ราชอาณาจักรสเปน สาธารณรัฐอิตาลี เกรนาดา ราชอาณาจักรโรมาเนีย สหพันธ์สาธารณัฐไนจีเรีย สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิไตยเอธิโอเปีย สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ และสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี (พ.ศ. 2568-2570)