Contrast
Font
ca3302d66787ac424fdf365de45585b6.jpg

ป.ป.ช. จัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการแผนงานพัฒนาแนวทางต้านและลดทุจริตด้วยกลไกสหยุทธ์ เฉพาะกรณีพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริต ประเด็นระดับประเทศ ในพื้นที่ภาคเหนือ

จากไชต์: สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ
จำนวนผู้เข้าชม: 44

23/01/2568

วันที่ 21 - 22 มกราคม 2568 สำนักงาน ป.ป.ช. โดยสำนักส่งเสริมและบูรณาการการมีส่วนร่วมต้านทุจริต จัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาแนวทางต้านและลดทุจริตด้วยกลไกสหยุทธ์ กรณีพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริต แผนงานพัฒนาแนวทางต้านและลดทุจริตด้วยกลไกสหยุทธ์เฉพาะกรณีพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริต ประเด็นระดับประเทศ โครงการต้านและลดทุจริตด้วยกลไกสหยุทธ์เฉพาะกรณีพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริต (STRONG: Together against Corruption-TaC) ครั้งที่ 1 ภาคเหนือ (พื้นที่ภาค 5 และ ภาค 6) โดยมีผู้บริหาร เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 5 สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด และผู้แทนชมรม STRONG - จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดเชียงใหม่ ชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต จังหวัดเชียงราย และชมรม STRONG -จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดพิจิตร เข้าร่วมการประชุม จำนวนกว่า 100 คน ณ โรงแรม ไอบิส สไตล์ เชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งการประชุมครั้งนี้เป็นการส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐตลอดจนองค์กรปกครองท้องถิ่นร่วมบูรณาการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้นำข้อตกลงฯ ตามประเด็นความเสี่ยง ที่กำหนด ไปขยายผลเป็นแนวทางต้านและลดการทุจริตด้วยกลไกสหยุทธ์ เพื่อให้ทุกหน่วยงานสามารถนำแนวทางและวิธีการขยายผลไปปรับใช้ในการปฏิบัติงาน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการทุจริตในโครงการก่อสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ต่อไป
--
กิจกรรมการประชุมวันแรก
ภาคเช้า นางวริดา ตันบุญเอก ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและบูรณาการการมีส่วนร่วมต้านทุจริต กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม พร้อมทั้งชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดประชุม จากนั้นเป็นการอภิปรายหัวข้อ “สำนักงาน ป.ป.ช. กับกลไกสหยุทธ์ ต้านและลดทุจริตในประเด็นเสี่ยงระดับประเทศ” โดยคณะวิทยากรสำนักงาน ป.ป.ช.
นายกรกิฎ วันเที่ยง ผู้อำนวยการกลุ่มไต่สวน 4 สำนักไต่สวนการทุจริตภาครัฐ 2 นางสาวเนรัชราพิน สิทธิกัณย์ ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารพัสดุ สำนักบริหารทรัพย์สิน และนายวันชัย สีขาว ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต สำนักวิจัยและบริการวิชาการด้านป้องกันและปราบปรามการทุจริต ต่อด้วยการบรรยายหัวข้อ “การพัฒนาระบบการกำกับติดตามการบริหารโครงการก่อสร้างเพื่อป้องกันปัญหาการทุจริตของหน่วยงานภาครัฐ (e-CPPM)” และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมาตรฐานราคากลางงานก่อสร้างเพื่อเพิ่มทักษะ
ในการปฏิบัติงานและป้องกันการทุจริตในโครงการก่อสร้างภาครัฐ” โดย รองศาสตราจารย์ ดร. สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ รองคณบดีฝ่ายบริหารและพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นายนิทัศน์
บุญมี นักวิจัย และนักวิชาการอิสระ และการบรรยายหัวข้อ “วิธีการบริหารสัญญาจ้างก่อสร้างผ่านระบบ e-CPPM เพื่อยกระดับความโปร่งใสและตรวจสอบได้ของการดำเนินงานโครงการก่อสร้างภาครัฐ” โดย นางสาวพิชามญชุ์ กาหลง นักวิชาการพัสดุเชี่ยวชาญ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล
--
ภาคบ่าย เป็นการแบ่งกลุ่มประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกระบวนงานเชิงบูรณาการ เพื่อต้านและลดความเสี่ยงต่อการทุจริต ในโครงการก่อสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในประเด็นองค์ความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับความเสี่ยงต่อการทุจริตในโครงการก่อสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) พร้อมทั้งนำเสนอผลการสรุปแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็นของแต่ละกลุ่ม เพื่อนำไปรวบรวมเป็นข้อมูลสำหรับนำไปพัฒนาระบบกระบวนการในการตรวจสอบเพื่อความโปร่งใสในการดำเนินโครงการก่อสร้างของภาครัฐต่อไป
--
วันที่สอง เป็นการแบ่งกลุ่มประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนข้อมูลกระบวนงานเชิงบูรณาการ เพื่อต้านและลดความเสี่ยงต่อการทุจริต ในโครงการก่อสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประเด็นการบูรณาการความร่วมมือเพื่อผลักดันให้เกิดการใช้งานระบบการกำกับติดตามการบริหารโครงการก่อสร้างภาครัฐ (e-CPPM) ข้อตกลงร่วมสำหรับการลดความเสี่ยงต่อการทุจริตในโครงการก่อสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประเด็นความเสี่ยงต่อ
การทุจริต การออกใบอนุมัติ/ใบอนุญาตการก่อสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการป้องกันการทุจริต เรื่อง การออกใบอนุญาตก่อสร้างของสำนักงาน ป.ป.ช. ที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรี
เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐทุกระดับที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันลดความเสี่ยงในเรื่องดังกล่าว จากนั้นเป็นการนำเสนอผลสรุปของการประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็น เพื่อรวบรวมข้อมูลและความคิดเห็น นำไปพัฒนาปรับปรุงระบบการกำกับติดตามการบริหารโครงการก่อสร้างภาครัฐ (e-CPPM) รวมถึงการออกใบอนุมัติ/ใบอนุญาตการก่อสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป

Related