จากไชต์: สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ
จำนวนผู้เข้าชม: 316
สำนักงาน ป.ป.ช. ปัตตานี สังเกตการณ์ตรวจรับงาน จ้างขุดลอกร่องน้ำชายฝั่งทะเล
Sand Bypassing ร่องน้ำบางมะรวด งบกว่า 94 ล้านบาท
วันที่ 6 ธันวาคม 2567 เวลา 10.00 น. ผอ.ป.ป.ช.ปัตตานี มอบหมายให้เจ้าหน้าที่กลุ่มงานป้องกันการทุจริตลงพื้นที่สังเกตการณ์การตรวจรับงานโครงการจ้างก่อสร้างขุดลอกร่องน้ำชายฝั่งทะเล Sand Bypassing ร่องน้ำบางมะรวด อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี ของกรมเจ้าท่า ด้วยงบประมาณ 94,370,000 บาท โดยมีคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ
ซึ่งนำโดย นายนรินทร์ศักย์ สัทธาประสิทธิ์ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า ประธานกรรมการตรวจรับ นายภาณุ ภาศักดี ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 4 กรรมการตรวจรับ และนายประกาศิต ณ มณี ผู้ควบคุมงาน เป็นผู้นำตรวจ
สำหรับการเข้าสังเกตการณ์ในครั้งนี้เป็นไปตามนโยบายเฝ้าระวังการทุจริตการดำเนินโครงการเกี่ยวกับการขุดลอกร่องน้ำของสำนักงาน ป.ป.ช. จากข้อมูล พบว่า โครงการดังกล่าวมีการลงนามสัญญาเลขที่ 46/2567/พย.
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2567 มีระยะเวลาดำเนินการ 150 วัน เริ่มสัญญา 19 กรกฎาคม 2567 สิ้นสุดสัญญา 15 ธันวาคม 2567 มีบริษัท เอ็มเอส 101 จำกัด เป็นผู้รับจ้าง ด้วยเงินงบประมาณ 94,370,000 บาท กำหนดงวดงาน 20 งวด
ปริมาณวัสดุขุดลอก 550,000 ลบ.ม. ปัจจุบันผู้รับจ้างดำเนินการแล้วเสร็จ มีการส่งมอบงาน 3 ครั้ง วัสดุขุดลอกรวม 550,784 ลบ.ม. และคณะกรรมการตรวจรับได้ตรวจรับแล้ว 2 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 (งวด 1-5) ระยะเวลาดำเนินการ 17 ส.ค. – 13 ก.ย. 67 (28 วัน) พื้นที่ขุดลอกSand bypassing กม.0+000 ถึง กม.0+550 ปริมาณวัสดุขุดลอก 159,245 ลบ.ม.
ครั้งที่ 2 (งวด 6-10) ระยะเวลาดำเนินการ 14 ก.ย. – 15 ต.ค. 67 (32 วัน) พื้นที่ขุดลอก Sand bypassing กม.0+000 ถึง กม.0+550 ปริมาณวัสดุขุดลอก 33,669 ลบ.ม.และร่องน้ำ กม.0+100 ถึง กม.1+000 ปริมาณวัสดุขุดลอก 88,019 ลบ.ม.รวมวัสดุขุดลอก 121,688 ลบ.ม.
สำหรับการตรวจรับงานครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 (งวด 11-20) ระยะเวลาดำเนินการ 16 ต.ค. – 2 ธ.ค. 67
(48 วัน) พื้นที่ขุดลอกร่องน้ำ กม.-0+400 ถึง กม.1+000 ปริมาณวัสดุขุดลอก 249,900 ลบ.ม. และร่องน้ำ (ด้านใน) กม.0+000 ถึง กม.0+700 ปริมาณวัสดุขุดลอก 19,950 ลบ.ม. รวมวัสดุขุดลอก 269,850 ลบ.ม.
จากการเข้าสังเกตการณ์เป็นการตรวจรับงานครั้งที่ 3 (งวด 11-20) พบว่า ในช่วงดังกล่าวมีระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำทะเลต่ำสุด 1.08 เมตร โดยได้ทำการสุ่มตรวจเก็บข้อมูลสอบความลึกโดยใช้เครื่องมือค้นหาตำแหน่งด้วยดาวเทียม (GPS) และวัดความลึกท้องน้ำ (Echo Sounder) บริเวณร่องน้ำโซนที่ 1 โซน 3 และโซนที่ 4 ซึ่งเป็นจุดทิ้งดิน ส่วนบริเวณโซนที่ 2 ซึ่งเป็นบริเวณพื้นที่ Sand Bypassing ไม่สามารถสุ่มตรวจได้เนื่องจากมีคลื่นสูง และหลังจากนี้
จะนำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบกับแบบรูปรายการ และเปรียบเทียบระยะเวลาและกำลังการทำงานของเครื่องจักรทั้งหมด (เรือขุด) กับปริมาตรดินขุด เพื่อนำมาตรวจสอบว่ามีการขุดลอกเป็นไปตามแบบรูปรายการและมีปริมาณดินขุดได้
ตามสัญญาหรือไม่ หรือมีข้อสังเกตต่อการดำเนินการอย่างไร เพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกันการทุจริต ทั้งนี้ ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องปฏิบัติราชการตามหน้าที่และอำนาจให้เป็นไปตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่และงบประมาณหน่วยงานของภาครัฐ