Contrast
Font
f605039c5d4a923106f9dea6632b4aa5.jpg

📍 เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต‼ ต่อเนื่องจากกระบวนการดำเนินคดีของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่เราพูดถึงก่อนหน้านี้ วันนี้เรามาดูอีกกลุ่มหนึ่งที่อาจตกเป็น “ผู้ถูกกล่าวหา” นั่นคือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ

จากไชต์: สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดพังงา
จำนวนผู้เข้าชม: 4

01/03/2568
📍 เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต‼
ต่อเนื่องจากกระบวนการดำเนินคดีของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่เราพูดถึงก่อนหน้านี้ วันนี้เรามาดูอีกกลุ่มหนึ่งที่อาจตกเป็น “ผู้ถูกกล่าวหา” นั่นคือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งหากมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่ หรือฝ่าฝืนกฎหมาย ก็อาจถูกไต่สวนและมีมติชี้มูลความผิดได้ มาดูกันเลยครับว่ากรณีไหนเข้าข่ายบ้าง!
กระบวนการดำเนินคดีของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ได้กำหนดเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการดำเนินการไต่สวนและมีมติชี้มูลความผิด หรือไต่สวนและวินิจฉัยเกี่ยวกับเจ้าพนักงานของรัฐที่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายโดยสามารถแยกเป็นกรณีได้ดังต่อไปนี้
(2) เจ้าหน้าที่ของรัฐ กรณีมีพฤติการณ์
- กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่
- ร่ำรวยผิดปกติ
- กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
- กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม
🔎 เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าข่ายเหล่านี้ อาจถูกไต่สวนและมีมติชี้มูลความผิดโดย ป.ป.ช. แล้วกลุ่มต่อไปที่อาจตกเป็น “ผู้ถูกกล่าวหา” จะเป็นใคร? และพฤติการณ์แบบไหนที่เข้าข่าย? 📌 ติดตามได้ในตอนต่อไป! ✅

Related