Contrast
Font
1fcce43cc37e47be1cfed22d7c1a5573.jpg

📍 เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต‼ กระบวนการดำเนินคดีของคณะกรรมการ ป.ป.ช.

จากไชต์: สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดพังงา
จำนวนผู้เข้าชม: 56

22/03/2568
📍 เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต‼
ตลอดหลายโพสต์ที่ผ่านมา เราได้พูดถึงกลุ่มที่อาจตกเป็น “ผู้ถูกกล่าวหา” ในกระบวนการของ ป.ป.ช. มาถึงกรณีสุดท้ายที่ต้องรู้! นอกจากเจ้าหน้าที่ของรัฐแล้ว ยังมี บุคคลและนิติบุคคลอื่น ที่เกี่ยวข้องกับการให้หรือรับสินบน หรือกระทำความผิดตามกฎหมายที่อยู่ในอำนาจของ ป.ป.ช. เช่น การทุจริต การใช้อำนาจโดยมิชอบ และการฮั้วประมูล ไปติดตามกันได้เลยครับ
กระบวนการดำเนินคดีของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ได้กำหนดเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการดำเนินการไต่สวนและมีมติชี้มูลความผิด หรือไต่สวนและวินิจฉัยเกี่ยวกับเจ้าพนักงานของรัฐที่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายโดยสามารถแยกเป็นกรณีได้ดังต่อไปนี้
(5) บุคคลตาม (1) และ (2) รวมถึงบุคคลอื่นซึ่งเป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนรวมทั้งผู้ให้ ผู้ขอให้ หรือรับว่าจะให้ หรือนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดตาม (1) และ (2) กระทำความผิดตามกฎหมายอื่นที่กฎหมายกำหนดให้อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เช่น ก. ความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561
ข. ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502
ค. ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542
การทุจริตไม่ได้เกิดขึ้นเพียงฝ่ายเดียว
ไม่ว่าจะเป็นผู้ให้ ผู้รับ หรือผู้สนับสนุน ต่างก็มีส่วนในการทำลายระบบธรรมาภิบาล และเสี่ยงต่อบทลงโทษทางกฎหมาย ร่วมกันสร้างสังคมที่โปร่งใส ด้วยการไม่สนับสนุนการทุจริตทุกรูปแบบ!
 
 
 
 

Related