Contrast
3fae835c562532604eae4556cf1c1089.jpg

เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต!! ว่าด้วยเรื่องของประกาศ “หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาของเจ้าพนักงานของรัฐ พ.ศ.2563”

จากไชต์: สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดชลบุรี
จำนวนผู้เข้าชม: 6841

30/09/2565

เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต!! ว่าด้วยเรื่องของประกาศ “หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาของเจ้าพนักงานของรัฐ พ.ศ.2563” ตอนที่ 1

ก่อนอื่นวันนี้ เรามาทำความเข้าใจในเรื่องของ “การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยา” ตามหลักเกณฑ์ฯ กันก่อนครับว่ามีความหมายว่าอย่างไร

“การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยา” หมายความว่า การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้จากบุคคลที่ให้กันในโอกาสเทศกาลหรือวันสำคัญ และให้หมายความรวมถึงการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ในโอกาสการแสดงความยินดี การแสดงความขอบคุณ การต้อนรับ การแสดงความเสียใจ หรือการให้ตามมารยาทที่ถือปฏิบัติกันในสังคมด้วย  
--------------------------------------

เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต!! ว่าด้วยเรื่องของประกาศ “หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาของเจ้าพนักงานของรัฐ พ.ศ.2563” ตอนที่ 2

ตอนที่ 1 เราได้รับทราบความหมายของ “การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยา” ตามหลักเกณฑ์ฯ กันแล้วในตอนที่ 1 นอกจากนั้นประกาศหลักเกณฑ์ฯ ฉบับนี้ยังได้กำหนดคำนิยมความหมายของคำว่า “ญาติ” และ “ประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้” ที่เกี่ยวข้องกับเจ้าพนักงานของรัฐไว้ด้วยดังนี้

“ญาติ” หมายความว่า พี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมบิดามารดาเดียวกัน ลุง ป้า น้า อา คู่สมรส ผู้บุพการีหรือผู้สืบสันดานของคู่สมรส บุตรบุญธรรมหรือผู้รับบุตรบุญธรรม        

“ประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้” หมายความว่า สิ่งที่มีมูลค่า ได้แก่ การลดราคา การับความบันเทิง การรับบริการ การรับการฝึกอบรม หรือสิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกัน 

--------------------------------------

เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต!! ว่าด้วยเรื่องของประกาศ “หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาของเจ้าพนักงานของรัฐ พ.ศ.2563” ตอนที่ 3

ตอนที่ 3 นี้ เราจะมาดูกันว่าประกาศฉบับนี้ได้วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ “การรับและการห้ามรับทรัพย์สินของเจ้าพนักงานของรัฐ” ที่ต้องทราบและถือปฏิบัติไว้อย่างไรบ้าง

ห้ามรับ!!

- ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้นอกเหนือจากการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อันควรได้ตามกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เว้นแต่การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาที่กำหนดไว้ในประกาศนี้

รับได้!!

- ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้จากผู้ใดซึ่งมิใช่ญาติ ที่มีราคาหรือมูลค่าในการรับจากแต่ละบุคคล แต่ละโอกาสไม่เกินสามพันบาท
- ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ที่การให้นั้นเป็นการให้ในลักษณะให้กับบุคคลทั่วไป
--------------------------------------

เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต!! ว่าด้วยเรื่องของประกาศ “หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาของเจ้าพนักงานของรัฐ พ.ศ.2563” ตอนที่ 4

ต่อเนื่องมาถึงตอนที่ 4 แล้ว หลายๆ ท่านสงสัยว่าหากการรับทรัพย์สินฯ ของเจ้าพนักงานของรัฐที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือมีมูลค่ามากกว่าที่กำหนดไว้ตามประกาศหลักเกณฑ์ฯ โดยมีความจำเป็นต้องรับไว้เพื่อรักษาไมตรี มิตรภาพ หรือความสัมพันธ์อันดีระหว่าบุคคล เจ้าพนักงานของรัฐต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง?

สิ่งที่ต้องดำเนินการหากมีความจำเป็นต้องรับ!!

  1. แจ้งข้อเท็จจริงหรือประโยชน์อื่นใดต่อหัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ หรือผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานอื่นของรัฐ สถาบัน หรือองค์กรที่เจ้าพนักงานของรัฐผู้นั้นสังกัด
  2. ดำเนินการภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับสิ่งนั้นไว้
  3. หน่วยงานดำเนินการวินิจฉัยว่า มีเหตุผลความจำเป็น ความเหมาะสม สมควรในการรับทรัพย์สินฯ ดังกล่าวหรือไม่
  4.  ในกรณีที่หัวหน้าหน่วยงานตามข้อ 1. มีคำสั่งว่าไม่สมควรรับ ก็ให้คืนทรัพย์สินฯ ดังกล่าวกับผู้ให้ทันที
  5. ในกรณีไม่สามารถคืนได้ ให้ส่งมอบทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดดังกล่าวให้เป็นสิทธิของหน่วยงานที่เจ้าพนักงานของรัฐผู้นั้นสังกัดโดยเร็ว

     เมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวข้างต้นแล้ว ให้ถือว่าเจ้าพนักงานของรัฐผู้นั้นไม่เคยได้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดดังกล่าว

--------------------------------------

เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต!! ว่าด้วยเรื่องของประกาศ “หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาของเจ้าพนักงานของรัฐ พ.ศ.2563” ตอนที่ 5 (ตอนจบ)

มาถึงตอนสุดท้ายแล้ว สาระสำคัญของประกาศ “หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาของเจ้าพนักงานของรัฐ พ.ศ.2563” ดังกล่าวนี้นำมาบังคับใช้กับเจ้าพนักงานของรัฐในทุกระดับชั้น แต่หลายท่านอาจจะสงสัยว่าจะนำไปใช้กับผู้ดำรงในส่วนท้องถิ่นอย่างไรบ้าง ตอนที่ 5 นี้มีคำตอบครับ

“ในกรณีที่เจ้าพนักงานของรัฐผู้ได้รับทรัพย์สิน เป็นผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้แจ้งรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดนั้นต่อผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอน เพื่อดำเนินการต่อไป”

ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ของเจ้าพนักงานของรัฐตามประกาศหลักเกณฑ์ฯ ฉบับนี้ ให้ใช้บังคับกับผู้ซึ่งพ้นจากการเป็นเจ้าพนักงานของรัฐมาแล้วไม่ถึงสองปีด้วย

https://www.nacc.go.th/categorydetail/2021110415414676/20220921113123?

Related