จากไชต์: สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดมหาสารคาม
จำนวนผู้เข้าชม: 316
สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดมหาสารคาม แถลงผลการดำเนินงานประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 ดังนี้
วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม 2567 ที่ศูนย์ประชุมแก่งเลิงจาน อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดมหาสารคาม จัดกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการสมาชิกชมรมเยาวชน STRONG จิตพอเพียงต้านทุจริต ภายใต้โครงการ STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนในจังหวัดมหาสารคาม มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีทัศนคติ ค่านิยม ไม่ยอมรับการทุจริตทุกรูปแบบ ส่งเสริมให้กลุ่มเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริต ร่วมเสนอแนวคิดและกำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนการป้องกันการทุจริตในระดับพื้นที่ด้วยพลังเยาวชน รวมทั้งขยายองค์ความรู้การป้องกันและปราบปรามการทุจริตไปยังครอบครัว สถานศึกษา และชุมชน ในกิจกรรมฯ ครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.ฤทธิรงค์ สุน้อยพรม ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชน ด้านวิชาการ สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ โดยมีนายนิรัตน์ เนื่องศรี ประธานชมรม STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดมหาสารคาม กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม สำหรับเนื้อในกิจกรรมช่วงแรก เป็นการบรรยายความรู้ หัวข้อ “บทบาทเยาวชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต” และแนะนำการเข้าใช้งานแพลตฟอร์มหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา โดย นายพีระณัฐ สีทองเดชารัตน์ เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มงานป้องกันการทุจริต สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดมหาสารคาม จากนั้นเป็นการบรรยายความรู้ หัวข้อ “ผลกระทบจากการทุจริต และแนวทางสังเกตการณ์การทุจริตเกี่ยวกับงานก่อสร้างของหน่วยงานภาครัฐที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง” โดยมี นายโฆษิต เหล่าสุวรรณ ประธานหอการค้าจังหวัดมหาสารคาม และกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการต่อต้านการทุจริต สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท) เป็นวิทยากร และการทำกิจกรรมระดมความคิดเห็น ในหัวข้อ “เครือข่ายเยาวชน กับการสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต” โดย คณะวิทยากรจากสถาบันพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชน กิจกรรมดังกล่าวมีนักเรียน นิสิต นักศึกษา และเยาวชน ในจังหวัดมหาสารคามเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 50 คน จากสถานศึกษาและหน่วยงาน 5 แห่ง ประกอบด้วย โรงเรียนโกสุมวิทยาสรรค์ โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) โรงเรียนผดุงนารี และสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดมหาสารคาม
จากการลงพื้นที่พบว่าฟาร์มสุกรดังกล่าว เป็นฟาร์มสุกรขุน ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 7 ตำบลโคกก่อ มีโรงเรือนแบบปิด และมีระบบจัดการสิ่งปฏิกูล และตั้งอยู่ห่างจากชุมชนรอบข้างไม่น้อยกว่า 1 กิโลเมตร มีใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยก่อนหน้าที่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ ได้ร้องเรียนปัญหาไปยังองค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่อ เพื่อให้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและให้ผู้ประกอบกิจการได้แก้ไขปัญหาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน หลังจากนั้นก็ได้รับการแก้ไขปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็น แต่ก็ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด จึงได้มีการจัดทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการ ผู้เดือดร้อนในชุมชน และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการได้ลดจำนวนการเลี้ยงสุกรลงเหลือ 600 ตัว และให้ดำเนินการตามวิธีการขจัดกลิ่นไม่ให้สร้างความเดือดร้อนรำคาญต่อประชาชน ซึ่งเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบการดำเนินการตามเงื่อนไขที่กำหนดเป็นระยะเรื่อยมา รวมทั้งศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ได้ดำเนินการตรวจวัดกลิ่น เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2566 เวลา 09.00 – 15.00 น. โดยใช้เครื่องมือตรวจวัดกลิ่น nasal ranger ใช้เกณฑ์อัตราส่วน Dilution – to-threshold (D/T) ซึ่งผลการตรวจวัด พบว่า ครั้งแรก เวลา 11.37 น. ได้ค่าความเข้มกลิ่นน้อยกว่า 2 หน่วยกลิ่น (D/T) ครั้งที่ 2 เวลา 11.52 น. ได้ค่าความเข้มกลิ่น 7 หน่วยกลิ่น (D/T) ครั้งที่ 3 เวลา 12.02 น. ได้ค่าความเข้มกลิ่น 15 หน่วยกลิ่น (D/T) และได้แจ้งผลว่าสถานประกอบกิจการฟาร์มสุกรดังกล่าวก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญต่อผู้อาศัยใกล้เคียงจริง
ทั้งนี้ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดมหาสารคาม ได้ร่วมให้ข้อสังเกตต่อเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ องค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่อ สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเมืองมหาสารคาม สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดมหาสารคาม และศูนย์ดำรงธรรมอำเภอเมืองมหาสารคาม เป็นต้น ในการร่วมกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาตามอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องของแต่ละหน่วยงาน เพื่อให้ประชาชนได้รับการบรรเทาความเดือดร้อน รวมทั้งผู้ประกอบกิจการ สามารถประกอบกิจการได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนดต่อไปวันที่ 29 มีนาคม 2567 นายเสกสรรณ์ สมมาตย์ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดมหาสารคาม มอบหมายให้นายพีระณัฐ สีทองเดชารัตน์ เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานป้องกันการทุจริต นำคณะเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ติดตามข้อเท็จจริงจากกรณีที่ได้รับหนังสือแจ้งเบาะแสการทุจริตจากเครือข่ายภาคประชาชน เนื่องจากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลเชียงยืน ว่ามีการแบ่งซื้อแบ่งจ้างโครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 2 โครงการ ซึ่งมีพื้นที่ดำเนินการติดกัน ดำเนินการก่อสร้างพร้อมกัน และมีผู้รับจ้างรายเดียวกัน
จากการลงพื้นที่ขอทราบข้อเท็จจริง ผู้เกี่ยวข้องขององค์การบริหารส่วนตำบลเชียงยืน ได้ให้ข้อมูลว่า ตามประเด็นที่มีการแจ้งเบาะแสนั้น เป็นโครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 2 โครงการ คือ
1) สัญญาเลขที่ 012/2567 ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2566 ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านสร้างแก้ว หมู่ที่ 17 เส้นบ้านนายแดง ถึง หลังโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม ขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 212 เมตร หนา 0.15 เมตร หรือพื้นที่คอนกรีตไม่น้อยกว่า 848 ตารางเมตร พร้อมป้ายโครงการ วงเงินจ้างก่อสร้าง 494,000 บาท
2) สัญญาเลขที่ 016/2567 ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2566 ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านสร้างแก้ว หมู่ที่ 17 เส้นข้างบริษัทคูโบต้า ถึง บ่อขยะ ขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 170 เมตร หนา 0.15 เมตร หรือพื้นที่คอนกรีตไม่น้อยกว่า 850 ตารางเมตร พร้อมป้ายโครงการ วงเงินจ้างก่อสร้าง 494,000 บาท
โดย อบต.เชียงยืน ชี้แจงข้อมูลว่า ทั้ง 2 โครงการดังกล่าว ได้ดำเนินการตาม พรบ.จัดซื้อจัดจ้างฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 55(3) , มาตรา 56 (2) (ข) และระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุดที่ กค(กวจ.) 0405.4/2725 ลงวันที่ 21 มกราคม 2563 เรื่อง ข้อหารือการแบ่งซื้อแบ่งจ้าง และได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า ทั้ง 2 โครงการดังกล่าวมีสถานที่ก่อสร้างอยู่ที่หมู่ที่ 17 เหมือนกัน และอยู่บริเวณใกล้เคียงกัน แต่สถานที่ของถนนอยู่คนละเส้นและขนาดของถนนมีความกว้างไม่เท่ากัน จึงต้องการดำเนินการจ้างก่อสร้างแยกกันเป็น 2 โครงการ
ในการลงพื้นที่ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดมหาสารคาม ได้เชิญผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมให้ข้อสังเกตตามประเด็นต่าง ๆ ประกอบด้วย
- นายสุรัช แก่นผา นักวิชาการคลังชำนาญการ ผู้แทนสำนักงานคลังจังหวัดมหาสารคาม
- ดร.ฤทธิรงค์ สุน้อยพรม ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชน ด้านวิชาการ สำนักนายกรัฐมนตรี
- นายโฆษิต เหล่าสุวรรณ กรรมการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมฯ (กรรมการ สปท. สำนักงาน ป.ป.ท.)
- นายวันชัย สุวรรณทัต และว่าที่ร้อยตรี บุญเหลือ สีทิศ ผู้แทนชมรม STRONG จังหวัดมหาสารคาม
ซึ่งคณะติดตามฯ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า โครงการดังกล่าว เป็นงานประเภทเดียวกัน คืองานทางคอนกรีตเสริมเหล็ก ระยะเวลาดำเนินการพร้อมกัน คือ 18 ตุลาคม 2566 – 15 มกราคม 2567 สถานที่ดำเนินการติดกันคือโครงการที่ 1 มีจุดเริ่มต้นก่อสร้างติดกับด้านข้างบริเวณท้ายโครงการที่ 2 ซึ่งแม้จะมีขนาดปริมาณงานไม่เท่ากัน แต่ควรพิจารณากำหนดรายละเอียดที่เกี่ยวข้องและการประกาศจัดซื้อจัดจ้างมิให้เป็นการเอื้อประโยชน์แก่ผู้ประกอบการรายใดรายหนึ่งเป็นการเฉพาะ ซึ่งงานก่อสร้างทั้ง 2 โครงการดังกล่าวใช้วิธีจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง มีผู้รับจ้างรายเดียวกัน คือ หจก. อ. นำโชค 1992 และตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมว่างบประมาณในการจ้างก่อสร้างนั้นมาจากงบประมาณใด ได้รับจัดสรรเมื่อใด ทั้งนี้ ปัจจุบันโครงการดังกล่าวได้มีการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่ได้ดำเนินการตรวจรับและยังไม่ได้มีการเบิกจ่ายงบประมาณให้กับผู้รับจ้างแต่อย่างใด เนื่องจากพบว่ามีปริมาณงานบางส่วนอาจไม่เป็นไปตามสัญญาจ้างก่อสร้าง ซึ่งหน่วยงานได้แจ้งต่อผู้รับจ้างให้ดำเนินการแก้ไขแล้วอยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไขงานของผู้รับจ้างซึ่งปัจจุบันเกินระยะเวลาที่กำหนดสัญญาแล้ว ทางคณะติดตามฯ จึงได้ตั้งข้อสังเกตและแจ้งให้ผู้เกี่ยข้องดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจ เพื่อมิให้เกิดการทุจริตและความเสียหายแก่งบประมาณภาครัฐต่อไปวันที่ 23 - 24 มีนาคม 2567 นายเสกสรรณ์ สมมาตย์ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดมหาสารคาม มอบหมายให้นายพีระณัฐ สีทองเดชารัตน์ เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตชำนาญการพิเศษ พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ติดตามสังเกตการณ์การดำเนินการรับนักเรียน ปีการศึกษา 2567 ตามมาตรการป้องกันการทุจริตในการเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทนเพื่อโอกาสในการเข้าเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยวันที่ 23 มีนาคม 2567 สังเกตการณ์การสอบเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม.1) ของโรงเรียนผดุงนารี ซึ่งสามารถรับนักเรียนในระดับชั้น ม. 1 ประเภทห้องเรียนปกติ 16 ห้อง จำนวน 640 คน และห้องเรียนพิเศษ 2 ห้อง จำนวน 60 คน รวม 18 ห้อง จำนวน 700 คน ซึ่งห้องเรียนพิเศษได้มีการดำเนินการคัดเลือกนักเรียนเสร็จสิ้นเรียบร้อยก่อนหน้าแล้ว ส่วนในการสอบในวันนี้เป็นการสอบของนักเรียนทั่วไป ซึ่งจะรับนักเรียนในเขตพื้นที่บริการร้อยละ 30 และนักเรียนนอกเขตบริการร้อยละ 70 ซึ่งจากการสอบถามข้อมูลทราบว่ามีนักเรียนสมัครจำนวน 991 คน ซึ่งมากกว่าจำนวนที่สามารถรองรับได้ จึงอาจทำให้มีนักเรียนที่ต้องผิดหวังในการสอบแข่งขันเข้าเรียน จากการสังเกตการณ์ พบว่าในห้องสอบหลายห้องจะมีนักเรียนขาดสอบประมาณ 3 - 10 คน นอกจากนี้ยังพบว่ามีผู้ปกครองมาร่วมให้กำลังใจบุตรหลานเป็นจำนวนมาก และวันที่ 24 มีนาคม 2567 สังเกตการณ์การสอบเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม.4) ของโรงเรียนสารคามพิทยาคมซึ่งในปีการศึกษา 2567 โรงเรียนสารคามพิทยาคม มีแผนรับนักเรียนในระดับชั้น ม. 1 ห้องเรียนทั่วไป จำนวน 400 คน/ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (SMTE) จำนวน 138 คน/ห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ จำนวน 60 คน/ห้องเรียนพิเศษกีฬา 40 คน ซึ่งห้องเรียนทั่วไป มียอดผู้สมัครในเขตพื้นที่บริการ 211 คน นอกเขตฯ 573 คน และมีนักเรียนเงื่อนไขพิเศษคือบุตรบุคลากร จำนวน 5 คน ส่วนระดับชั้น ม. 4 ห้องเรียนทั่วไป วิทย์-คณิต 320 คน คณิต-ภาษา 80 คน/ ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (SMTE) จำนวน 138 คน/ห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ จำนวน 30 คน/ห้องเรียนพิเศษภาษาต่างประเทศ จำนวน 36 คน/ห้องเรียนพิเศษกีฬา 40 คน
ทั้งนี้ โรงเรียนทั้ง 2 แห่ง เป็นโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง โดยการติดตาม สังเกตการณ์ดังกล่าว เป็นการดำเนินการตามมาตรการในเชิงป้องกันการทุจริตเชิงรุก หากพบว่ามีการกล่าวหาร้องเรียนว่ามีการทุจริตในภายหลัง จะมีการดำเนินการในการตรวจสอบเชิงลึกตามหน้าที่และอำนาจที่กฎหมายกำหนดต่อไปวันที่ 26 มีนาคม 2567 เวลา 09.30 น. ที่ห้องประชุม 409 ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดมหาสารคาม สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดมหาสารคาม ร่วมกับ สำนักงานจังหวัดมหาสารคาม จัดประชุมคณะกรรมการผลักดันการดำเนินงานตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ จังหวัดมหาสารคาม ครั้งที่ 1/2567 โดยมีนางสาวปราณี วงศ์บุตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานในการประชุม ในการประชุมครั้งนี้มีวาระสำคัญ ๆ ได้แก่
(1) ผลการประเมินดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perception Index : CPI) ปี 2566 ของประเทศไทย
(2) รายงานความก้าวหน้าการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) จังหวัดมหาสารคาม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
(3) รายงานความก้าวหน้าการเปิดใช้ระบบแพลตฟอร์มต้านทุจริตศึกษา (Anti-Corruption Education Platform) และการเปิดใช้หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา จังหวัดมหาสารคาม
(4) รายงานผลการดำเนินการจับตามองและแจ้งเบาะแส (Watch & Voice) ของชมรม STRONG – จิตเพียง ต้านทุจริตจังหวัดมหาสารคาม (ประธานชมรม STRONG)
(5) รายงานสรุปผลรวมคดี ศอตช. และข้อมูลกล่าวหา/ร้องเรียน ที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงาน ป.ป.ท. เขต 4 (ผู้แทนสำนักงาน ป.ป.ท. เขต 4)
(6) มาตรการส่งเสริมความโปร่งใสการบริหารจัดการการดำเนินงาน กรณีโครงการอาหารกลางวันนักเรียน และโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน จังหวัดมหาสารคาม
(7) (ร่าง) แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการผลักดันการดำเนินงานตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ จังหวัดมหาสารคาม