สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดมหาสารคาม แถลงผลการดำเนินงานประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2567 ดังนี้
ในช่วงวันที่ 1 – 20 สิงหาคม 2567 คณะเจ้าหน้าที่กลุ่มงานตรวจสอบทรัพย์สิน สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดมหาสารคาม ดำเนินการจัดประชุมชี้แจงการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้แก่ผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีฯ ตามมาตรา 102 (9) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ซึ่งจัดประชุมจำนวน 7 ครั้ง โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือผู้บริหารท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลรับผิดชอบระบบแจ้งทะเบียนผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน (Online Declaration Registration System : ODRS) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ 13 อำเภอของจังหวัดมหาสารคาม
เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2567 นายเสกสรรณ์ สมมาตย์ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดมหาสารคาม มอบหมายให้เจ้าหน้าที่กลุ่มงานป้องกันการทุจริต ลงพื้นที่ติดตาม ตรวจเยี่ยมการดำเนินโครงการอาหารกลางวันนักเรียน และโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ของโรงเรียนบ้านพงโพด อ.บรบือ จ.มหาสารคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 ของโรงเรียนบ้านพงโพด อ.บรบือ จ.มหาสารคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 และช่วงวันที่ 19 – 23 สิงหาคม 2567 เจ้าหน้าที่กลุ่มงานป้องกันการทุจริต เข้าร่วมกับ กลุ่มตรวจสอบภายใน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดมหาสารคาม และ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ลงพื้นที่ติดตามตรวจเยี่ยมการดำเนินโครงการอาหารกลางวันนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2
3. จัดโครงการปักหมุดพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริต ถกปัญหาจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเกี่ยวกับงานก่อสร้างบัญชีนวัตกรรมไทย และการบุกรุกทรัพยากรธรรมชาติ
เมื่อวันที่ 15 – 16 สิงหาคม 2567 ที่ห้องชื่นชม โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดมหาสารคาม จัดโครงการปักหมุดพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริต (โครงการต่อเนื่องขยายผล) สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดมหาสารคาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันการทุจริตในระดับจังหวัด เกิดการพัฒนาแผนที่พื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริตที่มาจากการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายภาครัฐ และภาคเอกชน ซึ่งโครงการดังกล่าว ประกอบด้วย 2 กิจกรรม คือ 1. กิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการปักหมุดพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริตในพื้นที่ 2. กิจกรรมลงพื้นที่ติดตามการแก้ไขปัญหาเพื่อลดความเสี่ยงต่อการทุจริต
การจัดกิจกรรมในครั้งนี้เป็นกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการปักหมุดพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริตในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม โดยมีกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย คณะกรรมการชมรม STRONG จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดมหาสารคาม และเครือข่ายภาคประชาชนในพื้นที่ 13 อำเภอของจังหวัดมหาสารคาม รวม 70 คน โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ฤทธิรงค์ สุน้อยพรม ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชน ด้านวิชาการ สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิด กล่าวรายงานโดย นายพีระณัฐ สีทองเดชารัตน์ เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานป้องกันการทุจริต
สำหรับกิจกรรมในช่วงเช้าของวันแรกเป็นการเสวนาในหัวข้อ “ความเสี่ยงทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ : งานก่อสร้าง และบัญชีนวัตกรรมไทย” โดยผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย นายประจักษ์ หล้าจางวาง โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดมหาสารคาม นายสุรัช แก่นผา นักวิชาการคลังชำนาญการ สำนักงานคลังจังหวัดมหาสารคาม นายนิรัตน์ เนื่องศรี ประธานชมรม STRONG–จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดมหาสารคาม นายวรรษภณ จำปาวงษ์ พนักงานไต่สวน ระดับกลาง ดำเนินรายการ โดย นายภูวดล สานุการ เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตปฏิบัติการ และในภาคบ่ายของวันแรกถึงวันที่สองของการดำเนินกิจกรรมฯ เป็นการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม ระดมความคิดเห็นประเด็นความเสี่ยงทุจริต ปัญหา และผลกระทบ ในประเด็น
- การจัดซื้อจัดจ้างบัญชีนวัตกรรมไทย ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม
- การบุกรุกทรัพยากรธรรมชาติ ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม
- การดำเนินโครงการก่อสร้างของหน่วยงานภาครัฐ ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม
จากนั้นเป็นกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กระบวนการมีส่วนร่วมและข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการทุจริตในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม โดยมีนายพีระณัฐ สีทองเดชารัตน์ หัวหน้ากลุ่มงานป้องกันการทุจริต เป็นผู้ดำเนินการ และในช่วงสุดท้ายของการดำเนินกิจกรรมฯ เป็นหัวข้อการอภิปราย และนำเสนอผลการระดมความคิดเห็นประเด็นปัญหาความเสี่ยงทุจริต พร้อมข้อเสนอแนะแนวทางขับเคลื่อนเพื่อแก้ไขปัญหาระดับจังหวัดมหาสารคาม ตามประเด็นที่แต่ละกลุ่มได้ร่วมกันเสนอข้อมูล โดยมีนายนิพพิชฌน์ ภัทรวิริยะคุณ เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตปฏิบัติการ เป็นผู้ดำเนินการ
ตามที่ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดมหาสารคาม ได้รับแจ้งข้อมูลจากศูนย์ป้องปรามการทุจริตแห่งชาติ (Corruption Deterrence Center : CDC) กรณีได้รับแจ้งข้อมูลเบาะแสจากเครือข่ายภาคประชาชนและจากสื่อสังคมออนไลน์ กรณีเพจปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน เสนอข่าวเนื่องจากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดำเนินโครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ขององค์การบริหารส่วนตำบลเขวาไร่ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งมีข้อสงสัยว่าโครงการก่อสร้างดังกล่าวอาจมีความหนาของถนนคอนกรีตหนาไม่ถึง 0.15 เมตร นั้น (อ่านเรื่องเดิม กรณีเพจปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้านนำเสนอข้อมูล https://www.facebook.com/share/p/EFNicbuzzWy6BzYU/?)
เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2567 นายเสกสรรณ์ สมมาตย์ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดมหาสารคาม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กลุ่มงานป้องกันการทุจริต ลงพื้นที่ขอทราบข้อมูลและข้อเท็จจริงเบื้องต้นตามกรณีดังกล่าว จากการลงพื้นที่พบว่าโครงการก่อสร้างตามที่ได้รับแจ้งเบาะแสดังกล่าว คือโครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านหนองเขื่อนน้อย หมู่ที่ 12 ขนาดกว้าง 4.00 เมตร หนา 0.15 เมตร ยาว 228 เมตร มูลค่า 495,000 บาท ซึ่งได้ทำการสุ่มตรวจวัดความหนาของถนนในเบื้องต้นตลอดเส้นทางจำนวนกว่า 20 จุด พบว่ามีความหนา 0.15 เมตร และบางจุด มีความหนาเกิน 0.15 เมตร โดยทางผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของ อบต.เขวาไร่ ได้ชี้แจงข้อมูลว่าโครงการดังกล่าว ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา ปัจจุบันได้มีการส่งมอบงานและตรวจรับและเบิกจ่ายให้ผู้รับจ้างแล้ว ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งการก่อสร้างได้ดำเนินการเป็นไปตามสัญญา และเป็นไปตามแบบรูปรายการที่กำหนด
ส่วนกรณีที่มีภาพข่าวปรากฏในสื่อสังคมออนไลน์ว่าความหนาของถนนคอนกรีตที่ก่อสร้างหนาไม่ถึง 0.15 เมตร นั้น คณะกรรมการตรวจรับพัสดุได้ยืนยันว่าได้ตรวจสอบความหนาของถนนคอนกรีตตลอดความยาวเส้นทางก่อนที่จะมีการตรวจรับและเบิกจ่ายเงินให้กับผู้รับจ้าง นอกจากนี้ ยังให้ข้อมูลว่าภาพข่าวที่ปรากฎตามสื่อสังคมออนไลน์ อาจเกิดจากการกลั่นแกล้งของคู่แข่งทางการเมือง เพื่อหวังผลประโยชน์ทางการเมืองก็ได้ โดยสังเกตจากกรณีงานก่อสร้างดังกล่าวมีระยะทางผ่านที่ดินของประชาชนหลายครัวเรือน ซึ่งบางครัวเรือนเป็นผู้เสียประโยชน์ทางการเมืองจากการแพ้การเลือกตั้งในครั้งที่ผ่านมา
นายกฤษณ์ สืบเมืองซ้าย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขวาไร่ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หลังจากผู้รับจ้างเทคอนกรีตแล้วเสร็จได้มีการทักท้วงจากประชาชนที่มีที่ดินติดเส้นทางดังกล่าว ว่ามีพื้นที่บางส่วนของถนนที่ไปรุกล้ำที่ดินส่วนบุคคลซึ่งมีระยะทางประมาณ 10 -20 เมตร เมื่อตรวจสอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วพบว่ามีการรุกล้ำจริง จึงได้ดำเนินการปรับลดความกว้างของถนนบางส่วนและให้ผู้รับจ้างดำเนินการตัดคอนกรีตที่ได้เทเสร็จแล้วออกไปตลอดระยะของเส้นทางที่มีการรุกล้ำดังกล่าว ซึ่งหากสังเกตในภาพที่มีการเสนอในสื่อโซเชียลนั้น จะพบว่าเป็นภาพที่ถ่ายเมื่อช่วงที่มีการตัดแผ่นคอนกรีตออกใหม่ๆ ซึ่งบริเวณมีการตัดคอนกรีตออกไปนั้นบางจุดได้รับความเสียหายจากการตัดทำให้ด้านล่างของแผ่นคอนกรีตมีการแตกและหลุดออกจากกัน ทำให้ความหนาของคอนกรีตจุดดังกล่าวน้อยกว่า 0.15 เมตร ผู้แจ้งข้อมูลอาจอาศัยจุดนี้ถ่ายภาพแล้วนำไปลงสื่อในภายหลัง เพราะพื้นที่โดยรอบตามภาพที่นำเสนอนั้นยังไม่มีวัชพืชขึ้นปกคลุม ถ้าเปรียบเทียบกับสภาพพื้นที่ปัจจุบันจะแตกต่างกัน เพราะมีหญ้าและวัชพืชขึ้นปกคลุมหมดแล้ว
อย่างไรก็ตาม สำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดมหาสารคาม ได้ขอเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการฯ เพื่อติดตามตรวจสอบ และได้ให้ข้อเสนอแนะกับหน่วยงานเจ้าของโครงการให้ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และแนวทางของทางราชการที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดการทุจริต และจะติดตามการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลเขวาไร่ต่อไป
จึงแถลงมาให้ทราบโดยทั่วกัน
สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดมหาสารคาม ขอแถลงผลการดำเนินงานประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ดังนี้
สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดมหาสารคาม ขอประกาศเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบ ของผู้บริหารท้องถิ่นให้สาธารณชนทราบ จำนวน 1 ราย คือ นายประยงค์ ปักการะโต ตำแหน่ง นายกเทศมนตรีตำบลหัวดง กรณีเข้ารับตำแหน่ง วันที่ 30 กันยายน 2567...
สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดมหาสารคาม ขอแถลงผลการดำเนินงานประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 โดยเป็นเรื่องกล่าวหาที่ได้ดำเนินการไต่สวนเบื้องต้นแล้วเสร็จ และคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิด และตกไป จำนวน 1 เรื่อง ดังนี้ กรณีเรื่องกล่าวหา นายอุดม กึกก้อง...
สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดมหาสารคาม ขอแถลงผลการดำเนินงานประจำเดือนกันยายน 2567 โดยการสรุปผลการดำเนินงานของปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ประกอบด้วยผลการดำเนินงานตามภารกิจหลัก 3 ด้าน ดังนี้