ข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหาการดำเนินการอนุมัติการให้บริการเชื้อเพลิงอากาศยาน (คลังน้ำมัน) ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
มติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ครั้งที่ 182/2564 วันที่ 20 ธันวาคม 2564
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2565
สภาพปัญหาและข้อเท็จจริง
คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับเรื่องกล่าวหาร้องเรียนกรณีการขัดหรือแย้งของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2546 ที่ให้มีผู้ประกอบการคลังน้ำมันเพียงแห่งเดียวสำหรับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิโดยตั้งอยู่ในสนามบิน ว่าขัดหรือแย้งกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2549 ที่ให้ผู้ประกอบการคลังน้ำมันเอกชนรายอื่นสามารถสร้างคลังน้ำมันภายนอกเขตสนามบินสุวรรณภูมิได้หลายรายมากขึ้น นอกเหนือจากบริษัทเอกชนรายเดียวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2546 เพื่อให้เกิดการแข่งขันด้านราคาและการให้บริการคลังน้ำมันที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิอย่างเต็มที่ รวมทั้ง เพื่อให้เกิดความมั่นคงในระบบน้ำมันเชื้อเพลิงและลดความเสี่ยงในกรณีที่มีคลังน้ำมันให้บริการเพียงรายเดียว ซึ่งเห็นได้ว่า การขัดหรือแย้งของมติคณะรัฐมนตรีทั้ง 2 ครั้งดังกล่าว อาจนำไปสู่ประเด็นที่เกี่ยวกับการให้บริการในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้
ข้อเสนอแนะ
คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาแล้วเห็นควรมีข้อเสนอแนะไปยังคณะรัฐมนตรี เพื่อให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ดำเนินการประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการดำเนินการด้านการให้บริการเชื้อเพลิงอากาศยาน (คลังน้ำมัน) ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิร่วมกันอย่างเป็นระบบ เพื่อทำให้ปัญหาดังกล่าวได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม และมีข้อเสนอแนะให้คณะรัฐมนตรีพิจารณามติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ ที่มีมติให้มีผู้ประกอบการให้บริการน้ำมันเชื่อเพลิงของเครื่องบินเพียงรายเดียว ในขณะที่ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้เอกชนรายอื่นหลายรายสามารถเข้ามาให้บริการน้ำมันแก่เครื่องบินในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยมีเหตุผลเพื่อให้เกิดการแข่งขันด้านบริการ ซึ่งเห็นได้ว่า มติคณะรัฐมนตรีทั้ง 2 ฉบับ มีความขัดแย้งกันในหลักการ กล่าวคือ ฉบับหนึ่งยึดหลักการความปลอดภัยสูงสุดของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยให้มีผู้ให้บริการน้ำมันแก่เครื่องบินเพียงรายเดียว ในขณะที่อีกฉบับยึดหลักการให้เอกชนหลายรายสามารถเข้ามาให้บริการน้ำมันเครื่องบินในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ จึงเห็นสมควรที่คณะรัฐมนตรีควรพิจารณาตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีทั้ง 2 ฉบับ เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าจะดำเนินการตามหลักการใดที่จะเหมาะสมกับการให้บริการของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
มติคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
1. รับทราบข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหาการดำเนินการอนุมัติการให้บริการเชื้อเพลิงอากาศยาน (คลังน้ำมัน) ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ (1) ให้คณะกรรมการบริหารการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการดำเนินการด้านการให้บริการเชื้อเพลิงอากาศยาน (คลังน้ำมัน) ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ร่วมกันอย่างเป็นระบบ และ (2) คณะรัฐมนตรี ควรพิจารณาตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรี (11 กุมภาพันธ์ 2556) และมติคณะรัฐมนตรี (21 กุมภาพันธ์ 2559) เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าจะดำเนินการตามหลักการใดที่จะเหมาะสมกับการให้บริการของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอ
2. ให้กระทรวงคมนาคมเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับเรื่องนี้ไปพิจารณาดำเนินการ และรายงานผลการพิจารณาดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบภายใน 30 วัน
ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตในกระบวนการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA) ที่มาและความสำคัญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ประกอบกับพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ...
มาตรการฉบับประชาชน เรื่อง ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริต กรณีโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน
มาตรการ ความเห็น และข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติเห็นชอบ/เสนอ ครม.ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตในกระบวนการ จัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม Environmental Impact Assessment : EIA) มติ...
มาตรการป้องกันการทุจริตในกระบวนการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ ที่มาและความสำคัญ ปัญหาเกี่ยวกับ “แรงงานข้ามชาติผิดกฎหมาย” มีสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง คือ การทุจริตของเจ้าหน้าที่ หรือการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีหน...
มาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ที่มาและความสำคัญ ด้วยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ดำเนินการศึกษาการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร เนื่องจากปัจจุบันมีการขยายตัวของเมืองในด้านการก่อสร้างอาคารมากขึ้น โดยเฉพาะ...
การศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการข้อมูลประวัติอาชญากรรม ที่มาและความสำคัญ ด้วยคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร เมื่อปีพ.ศ. 2565 ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนผู้เคยตกเป็นผู้ต้องหา หรือจำเลยในคดีอาญา และคด...