มาตรการเพื่อป้องกันการทุจริตในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
(มติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ครั้งที่ 44/2565 วันที่ 20 เมษายน 2565)
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2565
สภาพปัญหาและข้อเท็จจริง
การจัดเก็บภาษีเป็นเครื่องมือทางการคลังที่สำคัญที่สุดของรัฐบาลในการหารายได้เพื่อใช้จ่ายในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานและการสนับสนุนความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ นอกจากนั้นแล้ว ภาษีอากรยังเป็นเครื่องมือทางการคลังที่สำคัญของรัฐบาลในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในกรณีที่ภาวะเศรษฐกิจไม่ปกติ รัฐบาลจำเป็นต้องมีการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจจากข้อมูลสถิติการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม พบว่า มีการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นจำนวนมากถึงกว่า 3.32 ล้านบาท ซึ่งส่งผลให้เกิดการทุจริตในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นจำนวนมากตามมา โดยจากรายงานสถิติคดีศาลยุติธรรมประเภทข้อหาที่ขึ้นสู่ศาลภาษีอากรกลางเป็นจำนวนมากที่สุด คือ ข้อหาเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลกรณีร่วมกันทุจริตในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเท็จอีกหลายคดี เป็นจำนวนเงินหลายพันล้านบาท ซึ่งปัจจุบันการทุจริตภาษีอากรยังคงปรากฏให้เห็นอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่จะมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศอย่างรุนแรง โดยบางกรณีมีการใช้วิธีการทุจริตและวิธีการใหม่ ๆ หลายรูปแบบร่วมกัน ทำให้มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น และโดยส่วนใหญ่กระทำโดยลำพังไม่ได้ แต่จะเป็นการร่วมมือกันกระทำการทุจริต ระหว่างผู้มีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีอากรและภาคเอกชนที่ล้วนแต่มีผลประโยชน์แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
ข้อเสนอแนะ
คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงเห็นควรเสนอแนะให้กระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานหลักในการเชื่อมโยงข้อมูลกันระหว่างหน่วยงานจัดเก็บภาษี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าส่งออก ธนาคารพาณิชย์ และหน่วยงานด้านการจดทะเบียนพาณิชย์ จัดให้มีระบบการแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการทุจริตที่มีประสิทธิผล มีประสิทธิภาพ และจัดให้มีสินบนนำจับในกรณีมีผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตเกี่ยวกับภาษี
พร้อมทั้งให้กรมสรรพากรกำหนดมาตรการให้ผู้ประกอบการทุกรายต้องจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และรายงานภาษีซื้อ ภาษีขายในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มกลไกการตรวจสอบ ถ่วงดุล สอบยัน ในหน่วยจัดเก็บภาษี กรมศุลกากรควรเพิ่มกลไกการตรวจสอบเพิ่มเติมจากมาตรฐานที่มีอยู่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบผู้ส่งสินค้าส่งออกที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการทุจริตในการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงให้กระทรวงพาณิชย์และสถาบันการเงินควรมีการตรวจสอบเกี่ยวกับผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง
มาตรการ ความเห็น และข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติเห็นชอบ/เสนอ ครม.ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตในกระบวนการ จัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม Environmental Impact Assessment : EIA) มติ...
มาตรการป้องกันการทุจริตในกระบวนการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ ที่มาและความสำคัญ ปัญหาเกี่ยวกับ “แรงงานข้ามชาติผิดกฎหมาย” มีสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง คือ การทุจริตของเจ้าหน้าที่ หรือการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีหน...
มาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ที่มาและความสำคัญ ด้วยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ดำเนินการศึกษาการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร เนื่องจากปัจจุบันมีการขยายตัวของเมืองในด้านการก่อสร้างอาคารมากขึ้น โดยเฉพาะ...
การศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการข้อมูลประวัติอาชญากรรม ที่มาและความสำคัญ ด้วยคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร เมื่อปีพ.ศ. 2565 ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนผู้เคยตกเป็นผู้ต้องหา หรือจำเลยในคดีอาญา และคด...
ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการดำเนินงานร้านสงเคราะห์ผู้ต้องขัง ที่มาและความสำคัญ ด้วยกรมราชทัณฑ์ได้ขอรับคำแนะนำหรือแนวทางป้องกันและปราบปรามการทุจริต จากสำนักงาน ป.ป.ช. ในการวางมาตรการเพื่อป้องกันความเสียหายของกิจการร้านสงเคราะห์ผู้ต้อง...
ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างหนังสือและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning) ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ที่มาและความสำคัญ ด้วยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับเรื่องกล่าวหาร้องเรียนเกี่ยวกับการดำเนินการจัดซื้อหนัง...
มาตรการป้องกันความเสี่ยงต่อการทุจริตในกระบวนการพิจารณาอนุญาตประกอบกิจการดูดทรายในที่ดินของรัฐ ที่มาและความสำคัญ ด้วยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ดำเนินการศึกษามาตรการป้องกันความเสี่ยงต่อการทุจริตในกระบวนการพิจารณาอนุญาตประกอบกิจการดูดทรายในที่ดินของรัฐ นอก...
มาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการขุดดินและถมดินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ที่มาและความสำคัญ ด้วยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ดำเนินการศึกษามาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการขุดดินและถมดินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ด้วยปรากฏข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขุดดินโดยมิชอบด้ว...