มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตงบประมาณ งบเงินอุดหนุนสำหรับ
การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ
(มติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ครั้งที่ 56/2565 เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2565)
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2565
สภาพปัญหาและข้อเท็จจริง
ตามที่ได้ปรากฏปัญหาจากการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน กรณีการกระทำทุจริตของการทุจริตเงินอุดหนุนการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา โดยมีพฤติการณ์การทุจริตด้วยการนำรายชื่อนักเรียนที่ไม่มีตัวตนมาเบิกเงินอุดหนุน พบรายชื่อนักเรียนเกินเข้ามาในบัญชีชื่อนักเรียนที่มีอยู่จริง หรือ “นักเรียนผี” ทั้งนี้ ปัญหาการกระทำทุจริตดังกล่าว ส่งผลกระทบและเกิดความเสียหายเป็นวงกว้างในระดับประเทศ อีกทั้ง การกระทำทุจริตในการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ พบว่าอาจมีช่องว่างที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการกระทำทุจริตในหลายขั้นตอน และมีประเด็นสำคัญที่ต้องศึกษาหลายประเด็น ทั้งในด้านกฎ ระเบียบ ข้อบังคับทางกฎหมาย วิธีการและแนวทางปฏิบัติของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง
ข้อเสนอแนะ (โดยสรุป)
คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงได้เสนอมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตงบประมาณงบเงินอุดหนุนสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ ในประเด็นต่าง ๆ ประกอบด้วย
1. ประเด็นระบบการบริหารจัดการข้อมูลนักเรียน/นักศึกษา การจัดทำระบบการบริหารจัดการข้อมูลนักเรียน/นักศึกษาในลักษณะข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน โดยสามารถตรวจสอบจำนวนนักเรียน/นักศึกษา แต่ละสถานศึกษาได้อย่างทันทีทันใดและกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีปฏิบัติที่ชัดเจน และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนในการรายงานผลการตรวจสอบจำนวนนักเรียน
2. ประเด็นระบบการจัดสรรและเบิกจ่ายงบประมาณ
1) การจัดสรรงบประมาณ การทบทวนความเหมาะสมของอัตราเงินอุดหนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในแต่ละรายการ และทบทวนการจัดสรรงบประมาณของสถานศึกษาของรัฐกรณีงบเงินอุดหนุนรายการค่าจัดการเรียนการสอน ซึ่งสามารถนำไปใช้จ่ายเป็นงบลงทุนได้
2) การเบิกจ่ายงบประมาณ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเบิกจ่ายงบประมาณที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติที่ชัดเจน
3) การใช้จ่ายเงินอุดหนุนตามวัตถุประสงค์ การเสริมสร้างการรับรู้และเข้าใจ
ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินอุดหนุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการอุดหนุน
3. ประเด็นระบบการควบคุมตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ ผ่านระบบติดตาม ตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณเงินอุดหนุนโรงเรียน
มาตรการป้องกันการทุจริตในการเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทน เพื่อโอกาสในการเข้าเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามที่สำนักงาน ป.ป.ช. ได้มีมาตรการป้องกันการทุจริตในการเ...
การเรียกเก็บเงินบำรุงการศึกษาและเรียกเก็บเงินค่าปรับพื้นฐาน รวมถึงการเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษและหลักสูตรห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน &nbs...
การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดจากผู้พักโรงแรม จากการศึกษาข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดจากผู้พักโรงแรม นั้น ปรากฏมีการใช้อำนาจหน้าที่เฉพาะทางการบริหารงานข...
มาตรการป้องกันการทุจริตในกระบวนการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ ที่มาและความสำคัญ รัฐบาลได้มีนโยบายเร่งด่วนที่จะป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง แต่ปัจจุบันกลับปรากฏว่าได้มีผู้กระทำผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการและถูก...
ป.ป.ช. ลงพื้นที่เพื่อประชุมหารือ ณ สถานีตรวจสอบน้ำหนักวังน้อย (ขาออก) ในประเด็น “ผลการดำเนินงานตามมาตรการและแนวทางการผลักดันข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน”เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2568 สำนักงาน ป.ป.ช. โดยสำนักมาต...
ป.ป.ช. ลงพื้นที่เพื่อประชุมหารือ ณ สถานีตรวจสอบน้ำหนักวังน้อย (ขาออก) ในประเด็น “ผลการดำเนินงานตามมาตรการและแนวทางการผลักดันข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน”เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2568 สำนักงาน ป.ป.ช. โดยสำนักมาต...
ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตในกระบวนการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA) ที่มาและความสำคัญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ประกอบกับพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ...