ข้อเสนอแนะ ประเด็นการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับให้บริการกระจายเสียง
ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.)
(มติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ครั้งที่ 65/2565 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2565)
สภาพปัญหาและข้อเท็จจริง
สำนักงาน ป.ป.ช. ได้ดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับประเด็นการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับให้บริการกระจายเสียง ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) พบว่า พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๔๔/๑ กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการกระจายเสียง ให้บุคคลอื่นเช่าเวลาดำเนินรายการบางช่วงเวลาสำหรับการประกอบกิจการ กระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ได้ และประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การแบ่งเวลาให้ผู้อื่นดำเนินรายการ พ.ศ. ๒๕๕๖ ข้อ 5 กำหนดให้บุคคลอื่นเช่าเวลาดำเนินรายการบางช่วงเวลาสำหรับการประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ได้ นั้น อาจส่งผลให้เอกชนบางรายได้รับประโยชน์และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจากการประมูล รวมถึงการลงทุน โดยการดำเนินการดังกล่าว อาจก่อให้รัฐสูญเสียโอกาสที่จะได้รับรายได้จากการประมูลคลื่นความถี่ และอาจจะเป็นการกีดกันผู้ประกอบการรายใหม่ที่จะเข้ามาแข่งขันในอุตสาหกรรมวิทยุกระจายเสียง ประกอบกับ การจัดสรรคลื่นความถี่ให้กับหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ และการจัดทำประกาศหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่มีผลกระทบในวงกว้าง ผู้มีส่วนได้เสียอาจจะยังไม่มีความเข้าใจในหลักการและเหตุผล หรือกระบวนการดำเนินงานของสำนักงาน กสทช. ซึ่งอาจจะเกิดกรณีร้องเรียนเรื่องดังกล่าวในอนาคต
ข้อเสนอแนะ (โดนสรุป)
คณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการประชุมครั้งที่ 69/2565 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2565 มีมติเห็นชอบให้มีหนังสือประสานไปยัง สำนักงาน กสทช. เพื่อให้รับทราบถึงปัญหาและพิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอแนะ ดังนี้
1. พิจารณาเพิ่มช่องทางการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ในเชิงรุกเกี่ยวกับเรื่องที่มีผลกระทบสำคัญกับผู้มีส่วนได้เสียทุกขั้นตอนของการดำเนินงาน เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียได้รับทราบการดำเนินงานในขั้นตอนต่าง ๆ และนำไปปรับใช้ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
2. พิจารณาการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง เกี่ยวกับการเขียนข้อเสนอโครงการให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งทุนของกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม
3. พิจารณาให้มีการศึกษากรณีหน่วยงานของรัฐที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการประเภทบริการสาธารณะแบ่งเวลาให้ผู้อื่นดําเนินรายการ โดยเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย ประโยชน์ที่จะได้รับ ปัญหาและผลกระทบ รวมถึงช่องว่างที่อาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้ประกอบการรายใหม่ หรือผู้ประกอบกิจการธุรกิจ โดยยึดหลักความเท่าเทียมและหลักการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ต่อไป
แผนการดำเนินงานเพื่อยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต(Corruption Perceptions Index : CPI) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สำนักงาน ป.ป.ช. ได้กำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองผลการปฏิบัติราชการของสำนักงาน ป.ป.ช. ประจ...
มาตรการป้องกันการทุจริตในการเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทน เพื่อโอกาสในการเข้าเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามที่สำนักงาน ป.ป.ช. ได้มีมาตรการป้องกันการทุจริตในการเ...
การเรียกเก็บเงินบำรุงการศึกษาและเรียกเก็บเงินค่าปรับพื้นฐาน รวมถึงการเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษและหลักสูตรห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน &nbs...
การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดจากผู้พักโรงแรม จากการศึกษาข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดจากผู้พักโรงแรม นั้น ปรากฏมีการใช้อำนาจหน้าที่เฉพาะทางการบริหารงานข...
มาตรการป้องกันการทุจริตในกระบวนการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ ที่มาและความสำคัญ รัฐบาลได้มีนโยบายเร่งด่วนที่จะป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง แต่ปัจจุบันกลับปรากฏว่าได้มีผู้กระทำผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการและถูก...
ป.ป.ช. ลงพื้นที่เพื่อประชุมหารือ ณ สถานีตรวจสอบน้ำหนักวังน้อย (ขาออก) ในประเด็น “ผลการดำเนินงานตามมาตรการและแนวทางการผลักดันข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน”เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2568 สำนักงาน ป.ป.ช. โดยสำนักมาต...