ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม มาตรการป้องกันการทุจริตจากกระบวนการเบิกจ่ายยา
ตามสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ
(มติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ครั้งที่ 79/2565 เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2565)
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565
สภาพปัญหาและข้อเท็จจริง
เมื่อปี พ.ศ. 2560 คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้เคยเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เรื่อง มาตรการป้องกันการทุจริตจากกระบวนการเบิกจ่ายยาตามสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ แต่จากการติดตามผลการดำเนินการตามมาตรการฯ ดังกล่าว พบว่า ไม่มีความสอดคล้องกับบริบทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและสถานการณ์ในปัจจุบัน เนื่องจากพบประเด็นปัญหาสำคัญเกี่ยวกับประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง เกณฑ์จริยธรรมการจัดซื้อจัดหาและการส่งเสริมการขายยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาของกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2564 ซึ่งใช้บังคับได้เฉพาะหน่วยงานและหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้นแต่หน่วยงานหรือหน่วยบริการอื่น ๆ ที่อยู่นอกเหนือสังกัดของกระทรวงสาธารณสุข จะไม่ถูกบังคับให้ปฏิบัติตามประกาศฯ ดังกล่าว คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงเห็นควรมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อให้บรรลุถึงเจตนารมณ์ของมาตรการป้องกันการทุจริตจากกระบวนการเบิกจ่ายยาตามสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ
ข้อเสนอแนะ (โดยสรุป)
ให้ “หน่วยงานและหน่วยบริการ ซึ่งข้าราชการสามารถเบิกจ่ายยาได้ตามสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาล” อาทิ โรงพยาบาลในมหาวิทยาลัยและโรงเรียนแพทย์ของคณะแพทยศาสตร์หรือวิทยาลัยแพทยศาสตร์ต่าง ๆ สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักการแพทย์ สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานแพทย์ใหญ่ สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมแพทย์ทหารบก สังกัดกองทัพบก กรมแพทย์ทหารเรือ สังกัดกองทัพเรือ กรมแพทย์ทหารอากาศ สังกัดกองทัพอากาศ ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ สังกัดกรมราชทัณฑ์ โรงพยาบาลในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น กำหนดหลักเกณฑ์จริยธรรมการจัดซื้อจัดหาและการส่งเสริมการขายยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ให้มีรายละเอียดในลักษณะเดียวกับของกระทรวงสาธารณสุข หรือดำเนินการอื่นใดตามภารกิจ บทบาท อำนาจหน้าที่ เพื่อให้มาตรการป้องกันการทุจริตจากกระบวนการเบิกจ่ายยาตามสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ สามารถบังคับใช้ครอบคลุมกับทุกหน่วยงานและหน่วยบริการ
ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตในกระบวนการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA) ที่มาและความสำคัญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ประกอบกับพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ...
มาตรการฉบับประชาชน เรื่อง ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริต กรณีโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน
มาตรการ ความเห็น และข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติเห็นชอบ/เสนอ ครม.ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตในกระบวนการ จัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม Environmental Impact Assessment : EIA) มติ...
มาตรการป้องกันการทุจริตในกระบวนการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ ที่มาและความสำคัญ ปัญหาเกี่ยวกับ “แรงงานข้ามชาติผิดกฎหมาย” มีสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง คือ การทุจริตของเจ้าหน้าที่ หรือการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีหน...
มาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ที่มาและความสำคัญ ด้วยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ดำเนินการศึกษาการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร เนื่องจากปัจจุบันมีการขยายตัวของเมืองในด้านการก่อสร้างอาคารมากขึ้น โดยเฉพาะ...
การศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการข้อมูลประวัติอาชญากรรม ที่มาและความสำคัญ ด้วยคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร เมื่อปีพ.ศ. 2565 ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนผู้เคยตกเป็นผู้ต้องหา หรือจำเลยในคดีอาญา และคด...