ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน
(มติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ครั้งที่ .../2564)
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2564
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565
คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้เสนอข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกินต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา สรุปได้ว่า เห็นควรให้กระทรวงคมนาคมเป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการแก้ไขปัญหา ในประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. การบังคับใช้กฎหมายให้สามารถเอาผิดและลงโทษผู้ประกอบการที่บรรทุกน้ำหนักเกินได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยในการจับกุมผู้กระทำความผิดฐานใช้รถบรรทุกน้ำหนักเกิน ให้เจ้าพนักงานทางหลวงแจ้งต่อพนักงานสอบสวนด้วยว่า ขอให้ดำเนินคดีกับผู้ประกอบการรถบรรทุกในฐานะเป็นผู้ใช้ จ้าง วานของผู้ขับขี่รถบรรทุกคันก่อเหตุ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 ด้วย
2. พิจารณาการจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (MOU) ในการควบคุม กำกับ ดูแลถนนในแต่ละเขตความรับผิดชอบอย่างบูรณาการ เพื่อจัดการกับรถบรรทุกที่กระทำความผิดอย่างเข้มงวด ตลอดจนต้องมีการอบรม สร้างความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน รวมทั้งการจับกุมผู้กระทำความผิดให้แก่เจ้าหน้าที่ของกรมทางหลวงชนบทและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแล และควบคุมการใช้ถนนของรถบรรทุก
3. จัดให้มีการประชุมหารือร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาในประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย
4. ให้มีการออกมาตรการให้รถบรรทุกมีใบชั่งระบุน้ำหนักบรรทุกตั้งแต่ต้นทาง โดยเครื่องชั่งที่ได้รับการตรวจสอบมาตรฐานจากสำนักงานกลางชั่งตวงวัด กระทรวงพาณิชย์ การควบคุมน้ำหนักที่ต้นทางให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ศูนย์กระจายสินค้าต่าง ๆ ท่าเรือ นิคมอุตสาหกรรม และโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น และรถบรรทุกต้องจัดให้มีป้ายแสดงน้ำหนักที่บรรทุกจริงขณะวิ่งด้วย พร้อมทั้ง สร้างช่องทางให้ประชาชนแจ้งเบาะแสเมื่อพบผู้กระทำความผิด
5. ผลักดันการนำระบบเทคโนโลยีอัตโนมัติมาใช้ในการดำเนินการ เช่น เทคโนโลยีการตรวจชั่งน้ำหนักรถบรรทุกโดยใช้เครื่องชั่งน้ำหนักขณะเคลื่อนที่ความเร็วสูง (High-speed weigh-in-motion; HSWIM) และเทคโนโลยีการตรวจชั่งน้ำหนักรถบรรทุกชนิดติดตั้งใต้สะพาน (Bridge weigh-in-motion; BWIM) มาใช้ในการจับกุมรถบรรทุกน้ำหนักเกิน เพื่อลดปฏิสัมพันธ์และการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการชั่งน้ำหนัก ซึ่งจะส่งผลให้การบังคับใช้หรือปฏิบัติตามกฎหมายเป็นไปอย่างเท่าเทียม เสมอภาคไม่เลือกปฏิบัติ ทั้งนี้ ให้สำนักงานกลางชั่ง ตวง วัด กระทรวงพาณิชย์ ดำเนินการพิจารณารับรองเครื่องชั่ง เพื่อให้อุปกรณ์ระบบเทคโนโลยีอัตโนมัติ สามารถนำไปใช้งานได้อย่างเป็นมาตรฐานสากล และสามารถนำไปใช้ในกระบวนการกำกับบังคับใช้กฎหมายได้
6. เพิ่มมาตรการการกำกับดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่มีปัญหาการทุจริต การละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมายจากผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานนั้น เพื่อแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความถูกต้องเป็นธรรม โปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้
ข้อเท็จจริง
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2564 รับทราบข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เสนอ และให้กระทรวงคมนาคมเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไปพิจารณาดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วและรายงานผลการดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบภายใน 30 วัน
2. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ 15 มีนาคม 2565 รับทราบตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอรายงานผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกินของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (28 ธันวาคม 2564) ที่ให้กระทรวงคมนาคม เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไปพิจารณาดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว และให้รายงานผลการดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบภายใน 30 วัน สรุปได้ ดังนี้
2.1 การแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน
2.2 กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท และกรมการขนส่งทางบก ได้จัดทำแนวทาง มาตรการ และวิธีการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน ประกอบด้วย มาตรการระยะสั้น ระยะยาว มาตรการเชิงรุก และมาตรการทางกฎหมายเบื้องต้น โดยจะมีการนำข้อมูลผลการตรวจสอบการดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช.มาจัดกลุ่มและกำหนดเป็นแนวทาง/มาตรการเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกินต่อไป
2.3 คณะกรรมการพิจารณาแนวทางการดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกินอยู่ระหว่างติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการ รวมทั้งพิจารณากำหนดแนวทาง/มาตรการเพิ่มเติมเพื่อจัดกลุ่มและประมวลข้อมูล กำหนดกิจกรรม และจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action plan) ให้มีความชัดเจน โดยจะรับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไปกำหนดแนวทางการบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
3. กระทรวงคมนาคม ได้มีหนังสือที่ คค 0208/9586 ลงวันที่ 24 พ.ย. 2565 รายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการดำเนินการตามข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกินของกระทรวงคมนาคม โดยมีข้อมูลแผนการดำเนินงาน ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา มาตรการ/วิธีการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน
ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตในกระบวนการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA) ที่มาและความสำคัญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ประกอบกับพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ...
มาตรการฉบับประชาชน เรื่อง ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริต กรณีโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน
มาตรการ ความเห็น และข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติเห็นชอบ/เสนอ ครม.ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตในกระบวนการ จัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม Environmental Impact Assessment : EIA) มติ...
มาตรการป้องกันการทุจริตในกระบวนการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ ที่มาและความสำคัญ ปัญหาเกี่ยวกับ “แรงงานข้ามชาติผิดกฎหมาย” มีสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง คือ การทุจริตของเจ้าหน้าที่ หรือการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีหน...
มาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ที่มาและความสำคัญ ด้วยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ดำเนินการศึกษาการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร เนื่องจากปัจจุบันมีการขยายตัวของเมืองในด้านการก่อสร้างอาคารมากขึ้น โดยเฉพาะ...
การศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการข้อมูลประวัติอาชญากรรม ที่มาและความสำคัญ ด้วยคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร เมื่อปีพ.ศ. 2565 ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนผู้เคยตกเป็นผู้ต้องหา หรือจำเลยในคดีอาญา และคด...