จากไชต์: สำนัก มาตรการเชิงรุกและนวัตกรรม
จำนวนผู้เข้าชม: 95
ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการขัดกันแห่งผลประโยชน์ส่วนบุคคลกับผลประโยชน์ส่วนรวม ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 127 และ มาตรา 128 กรณีภายหลังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ้นจากตำแหน่ง
ที่มาและความสำคัญ
ด้วยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ดำเนินการศึกษา การขัดกันแห่งผลประโยชน์ส่วนบุคคลกับผลประโยชน์ส่วนรวม ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 127 และ มาตรา 128 กรณีภายหลังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะสิ้นสุดลงเมื่อถึงคราวออกตามอายุของสภาผู้แทนราษฎรหรือมีการยุบสภา ประกอบกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 127 และ มาตรา 128 เป็นกฎหมายเพื่อป้องกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลกับผลประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งมีที่มาจากการที่เจ้าพนักงานของรัฐเป็นผู้ได้รับมอบอำนาจจากรัฐหรือเคยเป็นผู้ได้รับมอบอำนาจจากรัฐในการดำเนินกิจการต่าง ๆ แทนรัฐ จึงอาจทำให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ อีกทั้งเพื่อเป็นการป้องกันมิให้เจ้าพนักงานของรัฐมีการรับผลประโยชน์ภายหลังจากที่พ้นจากตำแหน่ง อันเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ กรณีมีการฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าว พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ได้กำหนดโทษไว้ในมาตรา 169 และ มาตรา 170
ข้อเสนอแนะ
เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตเกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ส่วนบุคคลกับผลประโยชน์ส่วนรวม ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 127 และ มาตรา 128 กรณีภายหลังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ้นจากตำแหน่ง คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้ว เห็นควรมีข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการขัดกันแห่งผลประโยชน์ส่วนบุคคลกับผลประโยชน์ส่วนรวม ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 127 และ มาตรา 128 กรณีภายหลังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ้นจากตำแหน่ง ตามนัยมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ไปยังคณะรัฐมนตรี และรัฐสภา