ป.ป.ช. ประชุมรับฟังความคิดเห็น “แนวทางการป้องกันความเสี่ยงการทุจริตเกี่ยวกับการจ่ายเงินสินบนและรางวัลจากการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่” ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
วันนี้ (12 มีนาคม 2567) สำนักงาน ป.ป.ช. จัดประชุมรับฟังความคิด“แนวทางการป้องกันความเสี่ยงการทุจริตเกี่ยวกับการจ่ายเงินสินบนและรางวัลจากการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่” มีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการจ่ายเงินสินบนและรางวัล ของพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อความเหมาะสม เป็นธรรม สอดคล้องกับการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติหน้าที่ และตอบแทนตามผลงานที่เน้นการปฏิบัติงานร่วมด้วยเป็นสำคัญ ทั้งนี้มีนางสุวณา สุวรรณจูฑ กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานการประชุม และมีผู้เข้าร่วมประชุม ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง กรมศุลกากร กรมบัญชีกลาง กรมสรรพสามิต สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงาน การตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สำนักงานงาน ป.ป.ช. รวมทั้งสิ้นจำนวน 40 คน ณ ห้องประชุมนนทบุรี 3 อาคาร 4 ชั้น 3
การประชุมในครั้งนี้มีประเด็นหารือที่สำคัญ เช่น 1) ผู้มีสิทธิได้รับเงินรางวัล 2) สัดส่วนและอัตราการจ่ายเงินสินบนและรางวัลที่เหมาะสม 3) ความเหมาะสม เป็นธรรมของการจ่ายเงินรางวัล 4) การป้องกันความเสี่ยงการใช้ดุลยพินิจและผลประโยชน์ทับซ้อน 5) แนวโน้มเปลี่ยนแปลงในกระบวนการในการดำเนินการจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัล
สืบเนื่องจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อปี พ.ศ. 2555 ได้เคยมีการเสนอข้อเสนอแนะการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการจ่ายเงินสินบนและรางวัลของกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง ต่อคณะรัฐมนตรี ตามนัยมาตรา 19 (11) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2556 และมอบหมายให้กระทรวงการคลังพิจารณาปรับปรุงแก้ไขระบบการจ่ายเงินสินบนและรางวัล และระบบงานของกรมศุลกากร เนื่องจากพบว่าการจ่ายเงินสินบนและรางวัลเป็นเหตุให้เกิดปัญหาในหลายประการ กล่าวคือ การเกิดพฤติกรรมบิดเบือนจากสิ่งที่ควรกระทำ (Moral Hazard) โดยมุ่งเน้นปฏิบัติงานเฉพาะงานที่มีเงินรางวัล หรือผลตอบแทนสูง หรือละเลยการปฏิบัติงานที่มีรางวัลหรือผลตอบแทนต่ำ หรือไม่มีผลตอบแทน ซึ่งอาจเป็นต้นเหตุของปัญหาการทุจริต และเกิดความไม่เสมอภาค และความไม่เป็นธรรมในระบบการทำงานของข้าราชการที่กลุ่มหนึ่งได้รับผลตอบแทนจากการปฏิบัติหน้าที่สูงกว่าข้าราชการอื่น ทั้ง ๆ ที่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ รวมถึงความเสี่ยงของการมีผลประโยชน์ทับซ้อนของผู้มีอำนาจในการกำหนดผู้มีสิทธิ์รับเงินรางวัลและกำหนดสัดส่วนของเงินรางวัลโดยกำหนดให้ตนเองมีสิทธิ์รับเงินรางวัลด้วยในฐานะผู้สั่งการให้มีการจับกุม เป็นการออกระเบียบที่ให้ประโยชน์แก่ตนเอง ซึ่งไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการกำหนดให้มีเงินรางวัลที่ต้องการส่งเสริมการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ หรืออาจนำไปสู่การสร้างพยานหลักฐานเท็จในการเบิกจ่ายเงินสินบน
อย่างไรก็ตาม ด้วยความทันสมัยและการเชื่อมต่อของเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ทำให้เกิดความคล่องตัวและเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเมื่อคำนึงถึงการสร้างความน่าเชื่อถือ ความเป็นมาตรฐานสากลในการปฏิบัติงานของภาครัฐไทยในเวทีนานาชาติ ดังนั้น จึงเกิดข้อคำถามถึงความจำเป็นและความเหมาะสมของการให้มีเงินรางวัลเพื่อตอบแทนการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ ตลอดจนความเป็นไปได้ ในการใช้ช่องทางตามระบบการกำหนดค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐ (ค่าตอบแทนพิเศษ) ที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เหมาะสมกับลักษณะการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่แทนระบบการจ่ายเงินรางวัลจากเงินค่าปรับที่ได้รับ เพื่อส่งเสริมให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความเสมอภาคในระบบราชการมากยิ่งขึ้น
ในการนี้ สำนักงาน ป.ป.ช. มุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การประชุมรับฟังความคิดเห็น “แนวทางการป้องกันความเสี่ยงการทุจริตเกี่ยวกับการจ่ายเงินสินบนและรางวัลจากการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่” ในครั้งนี้จะเป็นเวทีให้ส่วนราชการที่มีการจ่ายเงินสินบนและรางวัลจากการปฏิบัติหน้าที่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ตลอดจนพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แสดงความคิดเห็น ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์เพื่อการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ และวิธีการปฏิบัติราชการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตามนัยมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 และเกิดกลไกในการตรวจสอบ ป้องกัน ยับยั้ง การเข้าแสวงหาประโยชน์ส่วนตน และเกิดการพัฒนาแนวทางการปฏิบัติราชการเหมาะสม ทันสมัย โปร่งใส และเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น ต่อไป
มาตรการฉบับประชาชน เรื่อง ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริต กรณีโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน
มาตรการ ความเห็น และข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติเห็นชอบ/เสนอ ครม.ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตในกระบวนการ จัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม Environmental Impact Assessment : EIA) มติ...
มาตรการป้องกันการทุจริตในกระบวนการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ ที่มาและความสำคัญ ปัญหาเกี่ยวกับ “แรงงานข้ามชาติผิดกฎหมาย” มีสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง คือ การทุจริตของเจ้าหน้าที่ หรือการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีหน...
มาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ที่มาและความสำคัญ ด้วยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ดำเนินการศึกษาการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร เนื่องจากปัจจุบันมีการขยายตัวของเมืองในด้านการก่อสร้างอาคารมากขึ้น โดยเฉพาะ...
การศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการข้อมูลประวัติอาชญากรรม ที่มาและความสำคัญ ด้วยคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร เมื่อปีพ.ศ. 2565 ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนผู้เคยตกเป็นผู้ต้องหา หรือจำเลยในคดีอาญา และคด...
ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการดำเนินงานร้านสงเคราะห์ผู้ต้องขัง ที่มาและความสำคัญ ด้วยกรมราชทัณฑ์ได้ขอรับคำแนะนำหรือแนวทางป้องกันและปราบปรามการทุจริต จากสำนักงาน ป.ป.ช. ในการวางมาตรการเพื่อป้องกันความเสียหายของกิจการร้านสงเคราะห์ผู้ต้อง...
ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างหนังสือและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning) ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ที่มาและความสำคัญ ด้วยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับเรื่องกล่าวหาร้องเรียนเกี่ยวกับการดำเนินการจัดซื้อหนัง...