การสัมมนาวิชาการเพื่อยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต
ของประเทศไทย
ประเด็น : การขัดกันแห่งผลประโยน์
ป.ป.ช. จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริตของประเทศไทย (CPI) ประเด็น “การขัดกันแห่งผลประโยชน์”
*************************************
วันที่ 19 มกราคม 2566 สำนักงาน ป.ป.ช. โดยสำนักมาตรการเชิงรุกและนวัตกรรม จัดการสัมมนา
เชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริตของประเทศไทย (CPI) ประเด็น “การขัดกัน
แห่งผลประโยชน์” ภายใต้โครงการยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริตของประเทศไทยด้วยกลไกสหยุทธ์ (The STRONG Together against Corruption (TaC Team) to enhance Corruption Perceptions Index : CPI) ณ โรงแรม แกรนด์ ริชมอนด์ สไตลิช คอนเวนชั่น โฮเทล อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
ภาคเช้าเป็นการบรรยาย หัวข้อ “กฎหมายเกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์” โดย นายศักดิ์ชัย จันทร์แสงวัฒนา ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบทรัพย์สินภาคการเมือง โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับแนวคิดของ Conflict of interest หลักการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานของรัฐ และกฎหมายเกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 รวมถึงคดีตัวอย่างที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เห็นถึงสภาพปัญหาเกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์
และการบรรยาย หัวข้อ “การขัดกันแห่งผลประโยชน์” โดย นายอุทิศ บัวศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับหลักการคิดแยกแยะระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวมตามหลักการของสมองส่วนหน้า สมองส่วนกลาง สมองส่วนหลัง การแยกรัฐออกจากเจ้าหน้าที่ ระบบคิดฐานสอง (Binary Thinking) ผลประโยชน์ทับซ้อน 9 รูปแบบ
ส่วนในภาคบ่ายเป็นการบรรยาย หัวข้อ “มาตรฐานทางจริยธรรมเกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์” โดย นายพิรุฬ เพียรล้ำเลิศ ที่ปรึกษาระบบราชการ สำนักงาน ก.พ. โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับคุณธรรม (Moral / Virtue) และจริยธรรม (Ethics) และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การจัดทำมาตรฐานทางจริยธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การเปรียบเทียบการขับเคลื่อนมาตรฐานทางจริยธรรม ระหว่างปี 2540 2550 และ 2560 การกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรม ตามมาตรา ๕ (4) แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 “คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว และมีจิตสาธารณะ” รวมถึงกลไกการขับเคลื่อนมาตรฐานทางจริยธรรมและการรักษาจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
และกิจกรรมแบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็น ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมการสัมมนาฯ ได้ร่วมกันระดมความคิดเห็นเพื่อหามาตรการ/แนวทาง/ข้อเสนอแนะในการยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ของประเทศไทย ประเด็น “การขัดกันแห่งผลประโยชน์” ซึ่งในช่วงแรกเป็นการสะท้อนความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมการสัมมนาฯ ในประเด็นเกี่ยวกับสถานการณ์การขัดกันแห่งผลประโยชน์ หัวข้อ “คุณคิดว่า….เรื่องนี้ยังมีอยู่ในสังคมไทยหรือไม่ ?” และช่วงถัดไปเป็นการระดมความคิดเห็นในการหามาตรการ/แนวทาง/ข้อเสนอแนะในการยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ของประเทศไทย ประเด็น “การขัดกันแห่งผลประโยชน์”
ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตในกระบวนการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA) ที่มาและความสำคัญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ประกอบกับพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ...
มาตรการฉบับประชาชน เรื่อง ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริต กรณีโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน
มาตรการ ความเห็น และข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติเห็นชอบ/เสนอ ครม.ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตในกระบวนการ จัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม Environmental Impact Assessment : EIA) มติ...
มาตรการป้องกันการทุจริตในกระบวนการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ ที่มาและความสำคัญ ปัญหาเกี่ยวกับ “แรงงานข้ามชาติผิดกฎหมาย” มีสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง คือ การทุจริตของเจ้าหน้าที่ หรือการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีหน...
มาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ที่มาและความสำคัญ ด้วยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ดำเนินการศึกษาการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร เนื่องจากปัจจุบันมีการขยายตัวของเมืองในด้านการก่อสร้างอาคารมากขึ้น โดยเฉพาะ...
การศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการข้อมูลประวัติอาชญากรรม ที่มาและความสำคัญ ด้วยคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร เมื่อปีพ.ศ. 2565 ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนผู้เคยตกเป็นผู้ต้องหา หรือจำเลยในคดีอาญา และคด...