Contrast
banner_default_3.jpg

การประชุมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ : นโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการทุจริต ประเด็น การอนุมัติ อนุญาต

จากไชต์: สำนัก มาตรการเชิงรุกและนวัตกรรม
จำนวนผู้เข้าชม: 115

25/11/2565

การประชุมเชิงปฏิบัติการ
ภายใต้โครงการยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต
ของประเทศไทย
ด้วยกลไกสหยุทธ์ (The STRONG Together against Corruption (TaC Team) to enhance
Corruption Perceptions Index : CPI)

 

หัวข้อ : นโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการทุจริต
           ประเด็น การอนุมัติ อนุญาต

 

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 เวลา 08.00 – 16.00 น.

ณ โรงแรม ทีเค. พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร

 

กำหนดการ

สำนักงาน ป.ป.ช. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ รับฟังความคิดเห็น เพื่อผลักดันการพัฒนามาตรการ และข้อเสนอแนะที่ลดโอกาสการทุจริตในหน่วยงานภาครัฐ
 
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 สำนักงาน ป.ป.ช. โดยสำนักมาตรการเชิงรุกและนวัตกรรม จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “รับฟังความคิดเห็น เพื่อผลักดันการพัฒนามาตรการ และข้อเสนอแนะที่ลดโอกาสการทุจริตในหน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจในการให้บริการ ประชาชน และการพิจารณาอนุมัติ อนุญาต” นำไปสู่การปฏิบัติ และเกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม นายอุทิศ บัวศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานเปิดการประชุม และนางสาวลัดดา เดือนสว่าง ผู้อำนวยการสำนักมาตรการเชิงรุกและนวัตกรรม กล่าววัตถุประสงค์ ณ โรงแรม
ที.เค. พาเลซ & คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่
เนื่องปัจจุบันกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาอนุมัติ อนุญาต มีจำนวนมากมายหลายฉบับ
จึงเป็นเหตุให้ประชาชนจะต้องขออนุญาตดำเนินการใดจากทางราชการหลายแห่งด้วยกัน รวมถึงมีความคลุมเครือไม่ชัดเจน ซึ่งเป็นการสร้างภาระให้แก่ประชาชนเป็นอย่างมาก รวมถึงอาจเป็นช่องทางให้เกิดการเรียกรับผลประโยชน์ต่อผู้รับบริการ และผู้รับบริการต้องการความสะดวกรวดเร็วในการรับบริการจึงยอมจ่ายสินบน โดยเห็นได้ตามสื่อออนไลน์ ตลอดจนบทความจากหนังสือพิมพ์หลายฉบับ และอาจจะมีเจ้าพนักงานของรัฐผู้เกี่ยวข้อง เข้าไปมีส่วนรู้เห็นเป็นใจ หรือเอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบการ ซึ่งสำนักงาน ป.ป.ช.อยู่ระหว่างการพัฒนามาตรการ และข้อเสนอแนะที่ลดโอกาสการทุจริตในหน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจในการให้บริการประชาชน และการพิจารณาอนุมัติ อนุญาต เพื่อเสนอมาตรการป้องกันการทุจริตต่อคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 32 ดังกล่าว การประกอบกิจการของประชาชนจะต้องขออนุญาตจากส่วนราชการหลายแห่ง อีกทั้งเป็นอุปสรรคต่อประชาชนในการยื่นคำขออนุญาตดำเนินการต่าง ๆ ทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาชน และภาคธุรกิจ ควรได้รับการพิจารณาอนุญาตของทางราชการอย่างเป็นธรรม โดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบโดยมิชอบจากหน่วยงานรัฐที่ไปติดต่อใช้บริการทุกประเภท ดังนั้น เพื่อให้มีการพัฒนามาตรการ และข้อเสนอแนะที่ลดโอกาสการทุจริตในหน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจในการให้บริการประชาชน และการพิจารณาอนุมัติ อนุญาต สำนักงาน ป.ป.ช. จึงได้จัดกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการ รับฟังความคิดเห็น เพื่อผลักดันการพัฒนามาตรการ และข้อเสนอแนะที่ลดโอกาสการทุจริตในหน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจในการให้บริการประชาชน และการพิจารณาอนุมัติ อนุญาต สามารถนำไปสู่การปฏิบัติ และเกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
โดยงานในช่วงเช้า เป็นการเสวนาวิชาการ เพื่อรับทราบถึงข้อกฎหมาย มาตรการ และกลไกต่าง ๆ ที่ภาครัฐพยายามนำมาใช้ ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่
1. นายธนศักดิ์ มังกโรทัย ผู้อำนวยการกองนวัตกรรมบริการภาครัฐ สำนักงาน ก.พ.ร.
2. นางฉวีวรรณ นิลวงศ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน กลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ สำนักงาน ป.ป.ท.
3. ดร.อาศิส อัญญะโพธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
4. นายณัฐภัทร เนียวกุล หัวหน้าฝ่ายข้อมูลเปิดเพื่อความโปร่งใส บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด
สำหรับกิจกรรมในภาคบ่าย มีแบ่งกลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยน และระดมความคิดเห็นในหัวข้อ
1. การปรับปรุงกระบวนการอนุมัติ อนุญาต เพื่อลดการทุจริต
2. การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในกระบวนการอนุมติ อนุญาต
3. การเชื่อมโยงข้อมูล เพื่อสร้างความโปร่งใสในการอนุมัติ อนุญาต
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมประชุมฯ ในครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงานรัฐ ภาคเอกชน วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากทุกภาคส่วน ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน ป.ป.ช.
สำนักงาน ป.ป.ช. มุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการ รับฟังความคิดเห็น เพื่อผลักดันการพัฒนามาตรการ และข้อเสนอแนะที่ลดโอกาสการทุจริตในหน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจในการให้บริการ ประชาชน และการพิจารณาอนุมัติ อนุญาต จะสามารถกำหนดแนวทางการบูรณาการและพัฒนามาตรการ และข้อเสนอแนะที่ลดโอกาสการทุจริตในหน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจในการให้บริการประชาชน และการพิจารณาอนุมัติ อนุญาต
 

Related