ป.ป.ช. จัด“เวทีสาธารณะเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและขับเคลื่อนมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตงบประมาณงบเงินอุดหนุนสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ”
คณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2565 ได้มีมติรับทราบมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตงบประมาณ งบเงินอุดหนุนสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอ
มาตรการดังกล่าวมีที่มาจากที่ได้ปรากฏปัญหาจากการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน กรณีการกระทำทุจริตของการทุจริตเงินอุดหนุนการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา โดยมีพฤติการณ์การทุจริตด้วยการนำรายชื่อนักเรียนที่ไม่มีตัวตนมาเบิกเงินอุดหนุน พบรายชื่อนักเรียนเกินเข้ามาในบัญชีชื่อนักเรียนที่มีอยู่จริง หรือ “นักเรียนผี” ซึ่งปัญหาการกระทำทุจริตดังกล่าว ส่งผลกระทบและเกิดความเสียหายเป็นวงกว้างในระดับประเทศ อีกทั้ง การกระทำทุจริตในการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ พบว่า อาจมีช่องว่างที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการกระทำทุจริตในหลายขั้นตอน และมีประเด็นสำคัญที่ต้องศึกษาหลายประเด็น ทั้งในด้านกฎ ระเบียบ ข้อบังคับทางกฎหมาย วิธีการและแนวทางปฏิบัติของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเสนอมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตงบประมาณ งบเงินอุดหนุนสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการต่อคณะรัฐมนตรี
มาตรการดังกล่าว ประกอบด้วย ข้อเสนอแนะ 3 ประการ ได้แก่
ประเด็นที่ 1 ระบบการบริหารจัดการข้อมูลผู้เรียน ให้มีการบูรณาการและจัดทำฐานข้อมูลผู้เรียนที่มีความปลอดภัย ในลักษณะ Big Data ที่สามารถตรวจสอบจำนวนผู้เรียนได้อย่างทันทีทันใด ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน และใช้ประโยชน์จากระบบดังกล่าวเพื่อป้องกันกรณีสวมสิทธิ์หรือนักเรียนไม่มีตัวตน
ประเด็นที่ 2 ระบบการจัดสรรและเบิกจ่ายงบประมาณ ที่ต้องทบทวนแนวทางการใช้จ่ายและความเหมาะสมของอัตราเงินอุดหนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในแต่ละรายการให้มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับความจำเป็นของแต่ละสถานศึกษา พร้อมกันนี้ให้มีการหลักเกณฑ์และวิธีการเบิกจ่ายงบประมาณที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ ใช้วิธีการเบิกจ่ายเงินผ่านบัญชีเป็นหลัก
ประเด็นที่ 3 การควบคุมตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ พัฒนาระบบติดตามตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณเงินอุดหนุนโรงเรียน พร้อมกับสร้างการมีส่วนร่วมจากองค์กรตรวจสอบและภาคประชาสังคม เพื่อตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณดังกล่าว
ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานหลักรับเรื่อง มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตงบประมาณงบเงินอุดหนุนสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้รับทราบและและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผล การพิจารณาไปดำเนินการตามอำนาจและหน้าที่ต่อไป
ในการนี้ สำนักงาน ป.ป.ช. ได้กำหนดจัด “เวทีสาธารณะเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและขับเคลื่อนมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตงบประมาณงบเงินอุดหนุนสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ” ในวันพุธที่ 29 พฤศจิกายน 2566 เวลา 08.30 - 15.00 น. ณ โรงแรมแกรนด์ ริชมอนด์ สไตลิช คอนเวนชัน โฮเทล จังหวัดนนทบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกันสร้างความรู้ความเข้าใจ โดยมุ่งเน้นการบูรณาการเริ่มต้นจากกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงหรือโอกาสในการก่อการทุจริตในการบริหารจัดการงบเงินอุดหนุนสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมกับเพื่อให้สำนักงาน ป.ป.ช. รับฟังปัญหา อุปสรรค การดำเนินงาน ความเห็นและข้อเสนอแนะต่อมาตรการฯ เพื่อการปรับปรุงให้มาตรการดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการป้องกันการทุจริตเพิ่มขึ้นต่อไป
กลุ่มเป้าหมายการจัดเวทีสาธารณะ ในครั้งนี้ ประกอบด้วย ภาคส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงาน ป.ป.ช. จำนวน 40 คน โดยมีรายละเอียดกิจกรรม ประกอบด้วย
กิจกรรมภาคเช้า การเสวนาเวทีสาธารณะเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและขับเคลื่อน“มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตงบประมาณงบเงินอุดหนุนสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ”โดยวิทยากร ประกอบด้วย
และนายอุเทน กอวงษ์ ผู้อำนวยการกลุ่มมาตรการและนวัตกรรมป้องกันการทุจริต 1 สำนักมาตรการเชิงรุกและนวัตกรรม สำนักงาน ป.ป.ช. เป็นผู้ดำเนินรายการ
กิจกรรมภาคบ่าย การรับฟังปัญหา อุปสรรค การดำเนินงาน ความเห็นและข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อน “มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตงบประมาณงบเงินอุดหนุนสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ”
ผลที่ได้จากการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ทำให้สำนักงาน ป.ป.ช. และผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ร่วมกันสะท้อนปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ ในการนำมาตรการฯไปสู่การปฏิบัติ
โดยที่สำนักงาน ป.ป.ช. จะได้นำผลจากการจัดกิจกรรมในครั้งนี้สรุปเป็นรายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เพื่อรายงานต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
สำนักงาน ป.ป.ช. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การจัด“เวทีสาธารณะเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและขับเคลื่อนมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตงบประมาณงบเงินอุดหนุนสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ” ในครั้งนี้ จะเป็นพื้นที่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและร่วมกันเสนอแนะแนวทางการพัฒนากลไกในการป้องกันการทุจริต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตของประเทศไทยให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
แผนการดำเนินงานเพื่อยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต(Corruption Perceptions Index : CPI) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สำนักงาน ป.ป.ช. ได้กำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองผลการปฏิบัติราชการของสำนักงาน ป.ป.ช. ประจ...
มาตรการป้องกันการทุจริตในการเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทน เพื่อโอกาสในการเข้าเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามที่สำนักงาน ป.ป.ช. ได้มีมาตรการป้องกันการทุจริตในการเ...
การเรียกเก็บเงินบำรุงการศึกษาและเรียกเก็บเงินค่าปรับพื้นฐาน รวมถึงการเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษและหลักสูตรห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน &nbs...
การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดจากผู้พักโรงแรม จากการศึกษาข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดจากผู้พักโรงแรม นั้น ปรากฏมีการใช้อำนาจหน้าที่เฉพาะทางการบริหารงานข...
มาตรการป้องกันการทุจริตในกระบวนการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ ที่มาและความสำคัญ รัฐบาลได้มีนโยบายเร่งด่วนที่จะป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง แต่ปัจจุบันกลับปรากฏว่าได้มีผู้กระทำผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการและถูก...
ป.ป.ช. ลงพื้นที่เพื่อประชุมหารือ ณ สถานีตรวจสอบน้ำหนักวังน้อย (ขาออก) ในประเด็น “ผลการดำเนินงานตามมาตรการและแนวทางการผลักดันข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน”เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2568 สำนักงาน ป.ป.ช. โดยสำนักมาต...