Contrast
2013dcc5ee02edb80812e44071f5b215.jpg

ป.ป.ช. แพร่ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการถอดบทเรียนการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา 2568 มุ่งหวังให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมสร้างเครือข่ายขับเคลื่อนหลักสูตรฯ ในพื้นที่

จากไชต์: สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดแพร่
จำนวนผู้เข้าชม: 80

23/11/2567

เมื่อวานนี้ (วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2567) เวลา 09.00 น. นายศรัณ อภิสิทธิเวช ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดแพร่ เป็นประธานในการประชุมเชิงปฏิบัติการถอดบทเรียนการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดแพร่ โดยมีผู้บริหาร ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดแพร่ จำนวน 6 สังกัด ในพื้นที่จังหวัดแพร่ ได้แก่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กรมส่งเสริมการเรียนรู้ สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ข้าราชการ บุคลากร ของสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดแพร่ และผู้ที่สนใจ เข้าร่วมการประชุมฯ ณ ห้องสักทอง ชั้น 2 โรงแรมแม่ยมพาเลส อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

 

นายศรัณ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดแพร่ กล่าวว่า ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ประเด็นที่ 4.6 ภาครัฐมีความโปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ และตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (ประเด็นที่ 21) ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ (พ.ศ. 2561 - 2580) คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) เป็นหน่วยงานเจ้าภาพในการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ซึ่งมีแผนย่อยการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ ได้กำหนดเป้าหมาย ได้แก่ 1. ประชาชนมีวัฒนธรรมและพฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริต 2. คดีทุจริตและประพฤติมิชอบลดลง สำนักงาน ป.ป.ช. จึงได้มีการกำหนดให้หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา เป็นหลักสูตรในการขับเคลื่อนในการบรรลุเป้าหมายที่ 1 ประชาชนมีวัฒนธรรมและพฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริต ในตัวชี้วัดเด็กและเยาวชนไทยมีพฤติกรรมที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริต สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดแพร่ จึงได้มีการดำเนินโครงการพัฒนาหลักสูตรและสร้างความร่วมมือในการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา โดยจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการถอดบทเรียนการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ในวันนี้ขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ของการจัดการเรียนการสอน การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาระหว่างสถานศึกษาในพื้นที่ รวมทั้งเพื่อให้ทราบการดำเนินการ ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนวทางในการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในระดับพื้นที่ของจังหวัดแพร่ด้วย

 

ทั้งนี้ มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2561 ได้เห็นชอบหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (Anti - Corruption Education) ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เสนอ ประกอบด้วย 5 หลักสูตร ได้แก่ 1. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รายวิชาเพิ่มเติมการป้องกันการทุจริต) 2. หลักสูตรอุดมศึกษา (วัยใสใจสะอาด "Youngster with good heart") 3. หลักสูตรกลุ่มทหารและตำรวจ (ตามแนวทางรับราชการกลุ่มทหารและตำรวจ) 4. หลักสูตรวิทยากร ป.ป.ช./บุคลากรภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ (สร้างวิทยากรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต) และ 5. หลักสูตรโค้ช (โค้ชเพื่อการรู้คิดต้านทุจริต) โดยให้กระทรวงศึกษาธิการ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณานำหลักสูตรไปปรับใช้ในหลักสูตรฝึกอบรมของหน่วยงาน ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563 รับทราบรายงานผลการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา และเห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปปรับใช้ตามข้อเสนอของสำนักงาน ป.ป.ช. นายศรัณ กล่าวทิ้งท้าย

 

กลุ่มงานป้องกันการทุจริต ป.ป.ช. แพร่ : ภาพ
ขวัญข้าว แสนบ่อ : ข่าว/เรียบเรียง

Related