จากไชต์: สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ
จำนวนผู้เข้าชม: 194
ป.ป.ช. เผย หยุดประโยชน์ทับซ้อน เท่ากับหยุดต้นเหตุทุจริต
สำนักงาน ป.ป.ช. เผย การขัดกันแห่งผลประโยชน์ หรือประโยชน์ทับซ้อนเป็นต้นเหตุของการทุจริต พร้อมแนะหลักปฏิบัติลดเสี่ยงทุจริตแยกแยะระหว่างบทบาทหน้าที่ – เรื่องส่วนตัว – เรื่องส่วนรวมออกจากกันได้ชัดเจน ควบคู่ตระหนักในจริยธรรม ช่วยลดทุจริตอย่างยั่งยืน
นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. เปิดเผยว่า เปิดเผยว่า ผลประโยชน์ทับช้อน (Confict of interest) คือผลประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมขัดกัน การกระทำที่เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนเป็นผลมาจากการไม่สามารถแยกแยะระหว่างบทบาทหน้าที่ในเรื่องส่วนตัวและเรื่องส่วนรวมออกจากกันได้ชัดเจน นำไปสู่การกล่าวหาร้องเรียนเรื่องการทุจริตหรือถูกลงโทษทางอาญา ซึ่งมีรูปแบบของการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม แบ่งเป็น 7 รูปแบบ คือ
1.การรับผลประโยชน์ต่างๆ (Accepting benefits) ซึ่งผลประโยชน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สิน ของขวัญ การลดราคา การรับความบันเทิง การรับบริการ การรับการฝึกอบรม หรือสิ่งอื่นใดใน ลักษณะเดียวกันนี้และผลจากการรับผลประโยชน์ต่างๆนั้น ได้ส่งผลให้ การตัดสินใจของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ 2.การทำธุรกิจกับตนเอง (Self - dealing) หรือเป็น คู่สัญญา (Contracts) เป็นการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะผู้มีอำนาจ ในการตัดสินใจ เข้าไปมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานที่ตนสังกัด โดยอาจจะเป็นเจ้าของบริษัทที่ทำสัญญาเอง หรือเป็นของเครือญาติ สถานการณ์เช่นนี้เกิดบทบาทที่ขัดแย้ง หรือเรียกได้ว่าเป็นทั้งผู้ซื้อและ ผู้ขายในเวลาเดียวกัน 3.การทำงานหลังจำกออกจำกตตำแหน่งหน้ำที่สาธารณะ หรือหลังเกษียณ (Post - employment) เป็นการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ลาออกจากหน่วยงานของรัฐ และไปทำงานในบริษัทเอกชนที่ดำเนินธุรกิจ ประเภทเดียวกันหรือบริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกับหน่วยงานเดิมโดยใช้อิทธิพลหรือความสัมพันธ์จากที่เคยดำรงตำแหน่งในหน่วยงานเดิม นั้น หาประโยชน์จากหน่วยงานให้กับบริษัทและตนเอง 4.การทำงานพิเศษ (Outside employment or moonlighting) ในรูปแบบนี้มีได้หลายลักษณะ ไม่ว่าจะเป็นการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ตั้งบริษัทดำเนินธุรกิจ ที่เป็นการแข่งขันกับหน่วยงานหรือองค์การ สาธารณะที่ตนสังกัด หรือการรับจ้างพิเศษเป็นที่ปรึกษาโครงการ โดยอาศัยตำแหน่งในราชการสร้างความน่าเชื่อถือว่าโครงการของผู้ว่าจ้าง จะไม่มีปัญหาติดขัดในการพิจารณาจากหน่วยงานที่ที่ปรึกษาสังกัดอยู่ 5.การรู้ข้อมูลภายใน (Inside information) เป็นสถานการณ์ ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ประโยชน์จากการที่ตนเองรับรู้ข้อมูลภายใน หน่วยงาน และนำข้อมูลนั้นไปหาผลประโยชน์ให้กับตนเองหรือพวกพ้อง อาจจะไปหาประโยชน์โดยการขายข้อมูลหรือเข้าเอาประโยชน์เสียเอง 6.การใช้ทรัพย์สินของราชการเพื่อประโยชน์ธุรกิจส่วนตัว
(Using your employer’s property for private advantage) เป็นการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐนำเอาทรัพย์สินของราชการซึ่งจะต้องใช้เพื่อ ประโยชน์ของทางราชการเท่านั้นไปใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือ พวกพ้อง หรือการใช้ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไปทำงานส่วนตัว 7. การเมืองหรือผู้บริหารระดับสูงอนุมัติโครงการ ไปลงพื้นที่หรือบ้านเกิดของตนเอง หรือการใช้งบประมาณสาธารณะเพื่อหาเสียง ทั้งนี้ หลักปฏิบัติสำคัญ เจ้าหน้าที่รัฐจำเป็นต้องยึดหลักธรรมาภิบาล และไม่ปฏิบัติตามข้อความเสี่ยงที่เป็นเหตุแห่งประโยชน์ทับซ้อน หรือการขัดกันแห่งผลประโยชน์ โดยสิ่งสำคัญที่สำนักงาน ป.ป.ช.ได้วางมาตรการเพื่อป้องกันความเสี่ยงทุจริตในด้านประโยชน์ทับซ้อนคือ นโยบาย No Gift Policy การรับทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องมีมูลค่าไม่เกิน 3,000 บาท เพื่อปิดช่องโหว่การรับของกำนัลที่นำมาสู่การทุจริต โดยควรตระหนักอยู่เสมอว่า เจ้าหน้าที่รัฐควรประพฤติปฏิบัติตนให้ตั้งอยู่ในหลักสุจริต โปร่งใส ทำประโยชน์สูงสุดแก่ชาติบ้านเมือง