Contrast
Font
32091c5d4922ed6b34693ea6064b4c2f.jpg

สำนักงาน ป.ป.ช. ร่วมเข้าเฝ้าฯ รับเสด็จฯ ในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร

จากไชต์: สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ
จำนวนผู้เข้าชม: 144

27/10/2567

วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567 เวลา 15.14 น. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ไปในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ วัดอรุณราชวราราม ถนนวังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

 

ในการพระราชพิธีนี้ สำนักงาน ป.ป.ช. นำโดย นายวิทยา อาคมพิทักษ์ กรรมการ ป.ป.ช. ทำหน้าที่แทนประธานกรรมการ ป.ป.ช. และคู่สมรส พร้อมด้วย นายสาโรจน์ พึงรำพรรณ รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. รักษาราชการแทน เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. นายสุรพงษ์ อินทรถาวร รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. นายนิติพันธุ์ ประจวบเหมาะ รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. นายพิเศษ นาคะพันธุ์ ผู้ตรวจราชการสำนักงาน ป.ป.ช. นายอภิชาต ปุณยธัญพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานกลาง และนายพิพัฒน์ พึ่งพาพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร ร่วมเข้าเฝ้าฯ รับเสด็จฯ ณ บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 8 สวนหลวงพระราม 8 เชิงสะพานพระราม 8 ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร

 

วัดอรุณราชวราราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาก่อนรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีชื่อเดิมว่าวัดบางมะกอก หรือวัดมะกอก หลังจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกอบกู้กรุงศรีอยุธยาหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ได้เสด็จกรีฑาทัพโดยกระบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค ครั้นมาถึงหน้าวัดมะกอกก็เป็นเวลาอรุณรุ่งแจ้งพอดี พระองค์ทรงมีพระราชดำริเห็นเป็นอุดมมหามงคลฤกษ์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เทียบเรือพระที่นั่ง ณ ท่าน้ำ วัดมะกอก แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปสักการบูชาพระปรางค์พระมหาธาตุ สูงราว 8 วา ต่อมาจึงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดมะกอก แล้วโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “วัดแจ้ง” ครั้งถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ได้พระราชทานนามใหม่ว่า “วัดอรุณราชธาราม” ซึ่งถือเป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์เพิ่มเติม แล้วทรงเปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดอรุณราชวราราม” ดังที่เรียกกันมาจนถึงปัจจุบัน ศิลปกรรมที่โดดเด่นของวัด คือ พระปรางค์วัดอรุณฯ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมไทยขนาดใหญ่ ประกอบด้วย ปรางค์ประธานและปรางค์รองอีก 4 ปรางค์ ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ ถ้วยชามเบญจรงค์ และเปลือกหอย นอกจากนี้ที่พระพุทธอาสน์ของพระประธานใน

Related