จากไชต์: สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ
จำนวนผู้เข้าชม: 5234
ตอนที่ 1 ที่มาและความสำคัญของ “ดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI)”
ดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI) คือ ดัชนีที่สะท้อนภาพลักษณ์การทุจริต ของประเทศต่าง ( ทั่วโลก จัดทำโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International : TI) ก่อตั้งในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เมื่อปี ค.ศ. 1993 มีสถานะเป็นองค์กรภาคประชาสังคมระหว่างประเทศ ที่มีวัตถุประสงค์ในการต่อสู้กับการทุจริตทุกรูปแบบ ด้วยการแสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ และสร้างความตระหนักรู้ถึงผลเสียของการทุจริต
ทั้งนี้ ดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) มีความสำคัญต่อนักลงทุน หรือนักธุรกิจในการประเมินความเสี่ยงหรือใช้ประกอบการตัดสินใจในการเข้ามาลงทุนในแต่ละประเทศ โดย องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (TI) ได้รวบรวมข้อมูลด้านการทุจริตจากฐานข้อมูลที่เป็นการจัดอันดับหรือดัชนีชี้วัด ซึ่งจัดทำโดยหน่วยงานที่น่าเชื่อถือต่าง ๆ ทั่วโลก จำนวน 13 แหล่งข้อมูล โดยประเทศไทยจะคำนวณข้อมูลจาก 9 แหล่งข้อมูล ด้วยกัน
----------
ตอนที่ 2 แหล่งข้อมูลการประเมินดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) “แหล่งข้อมูล Bertelsmann Foundation Transformation Index : BF (BTI)”
“แหล่งข้อมูลการประเมินดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI)” ของประเทศไทยว่าทั้ง 9 แหล่งข้อมูลนั้น มาจากที่ใดบ้าง สำหรับตอนที่ 2 นี้เราจะมาเริ่มต้นกันด้วยแหล่งข้อมูล “Bertelsmann Foundation Transformation Index : BF (BTI)” มีรายละเอียดดังนี้
แหล่งข้อมูล Bertelsmann Foundation Transformation Index : BF (BTI) จัดทำขึ้นโดยมูลนิธิ เบอร์เทลแมนน์ มีฐานะเป็นองค์กรเอกชน ตั้งอยู่ในประเทศเยอรมนี โดยมีวัตถุประสงค์ขององค์กร คือสมอง (Think Tank) โดยจะดำเนินการตรวจสอบและวิเคราะห์ โดยพิจารณาในด้านต่างๆ ดังนี้
(1) การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง (Poltical Transformation)
(2) การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ (EconomicTransformation
(3) การเปลี่ยนแปลงด้านการบริหารจัดการ (Transformation Management)
โดยวิเคราะห์จากสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศนั้น 1 และนำมาเขียนเป็นบทความตามหัวข้อคำถามต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งจำนวนผู้เชี่ยวชาญที่ให้ความเห็นและตอบคำถามในแต่ละประเทศนั้น มีจำนวนไม่เท่ากัน โดยมีทั้งที่เปิดเผยและไม่เปิดเผยตัวตน จากนั้นจะนำข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญมาคิดวิเคราะห์คะแนน โดยทำออกมาในรูปแบบดัชนีจะมีระดับคะแนนอยู่ระหว่าง 0-10 คะแนน และส่งคะแนนดังกล่าวไปยังผู้เชี่ยวชาญระดับภูมิภาคเพื่อดำเนินการทบทวนรายงานและให้คะแนนอีกครั้ง หลังจากนั้นจะนำคะแนนไปเปรียบเทียบกันภายในภูมิภาคและระหว่างภูมิภาคแล้วนำคะแนนทั้งหมดมาจัดลำดับและส่งให้คณะกรรมการBF (BTI) ดำเนินการทบทวนรายงานพร้อมทั้งจัดลำดับครั้งสุดท้ายและอนุมัติผล เพื่อดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลโดยจะมีการรายงานผลการจัดลำดับค่าคะแนนทุก ๆ 2 ปี
----------
ตอนที่ 3 แหล่งข้อมูลการประเมินดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) “แหล่งข้อมูล Economist Intelligence Unit Country Risk Ratings (EIU)”
สำหรับตอนที่ 3 นี้ เราจะมาต่อกันที่ “แหล่งข้อมูล Economist Intelligence Unit Country Risk Ratings (EIU)”
โดย Economist Intelligence Unit (EIU) เป็นแผนกหนึ่งใน Economist Group ซึ่งเป็นบริษัท
ย่อยของหนังสือพิมพ์ Economist Newspaper ที่ให้ความช่วยเหลือข้อมูลด้านธุรกิจ การเงิน และรัฐบาล
ในการรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ในการสร้างโอกาสและความสามารถในการแข่งขัน และ
จัดการกับความเสี่ยงแก่ลูกค้าผ่านสำนักงาน 24 สาขาทั่วโลก EIU จะดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลใน 3 ด้าน คือ
1) ด้านการเมืองการปกครองและการบริหารงานของรัฐ
2) ด้านการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐ และ
3) ด้านหน่วยงานและระบบการตรวจสอบการบริหารงานและการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐ
ซึ่งจะดำเนินการรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนมกราคม - สิงหาคมของทุกปี โดยข้อมูลที่ได้จะถูกนำมาวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญของ EIU จำนวน 2 - 3 คน
----------
ตอนที่ 4 แหล่งข้อมูลการประเมินดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) “แหล่งข้อมูล Global Insight Country Risk Ratings (Gl)”
สำหรับตอนที่ 4 นี้ เราจะมาต่อกันที่ “แหล่งข้อมูล Global Insight Country Risk Ratings (GI)”
ค่าดัชนี GI เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลในส่วนหนึ่งของบริการ Country Risk Analyst ของบริษัท IHS เป็นการจัดอันดับความเสี่ยงของประเทศที่ให้ความสำคัญกับปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลต่อความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจเป็นหลัก เป็นการประเมินเพื่อให้ลูกค้าหรือนักลงทุนเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างของการลงทุนกว่า 200 ประเทศ เพื่อให้การลงทุนมีความปลอดภัย ลดความเสี่ยง สามารถวางแผนล่วงหน้าและสนับสนุนให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท HIS มีการจัดอันดับความเสี่ยงโดยมีการปรับปรุงข้อมูลเพื่อให้เท่าทันสถานการณ์ในปัจจุบันตลอดเวลา รวมทั้งมีการคาดการณ์ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย การวิเคราะห์ประกอบด้วยการประเมินความเสี่ยง 6 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ ความเสี่ยงด้านการเมือง เศรษฐกิจ กฎหมาย ภาษี การบริหาร และความมั่นคง โดยค่าคะแนนความเสี่ยงของประเทศที่ใช้ในการประเมินค่าคะแนน CPI จะมาจากค่าดัชนี "Global Insight Business Conditions and Risk Indicators " ในการประเมินผลนี้ จะใช้ผู้เชี่ยวชาญในประเทศมากกว่า 100 คน ซึ่งจะเป็นนักการตลาดอิสระลูกค้า และผู้ทำสัญญาต่าง ๆ กับภาครัฐ ระดับการให้คะแนนจะเป็นการแสดงถึงการรับรู้ของผู้เชี่ยวชาญเพื่อเปรียบเทียบปัญหาในแต่ละประเทศ
----------
ตอนที่ 5 แหล่งข้อมูลการประเมินดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) “แหล่งข้อมูล IMD World Competitiveness Yearbook (IMD)”
สำหรับตอนที่ 5 นี้ เราจะมาต่อกันที่ “แหล่งข้อมูล IMD World Competitiveness Yearbook (IMD)”
แหล่งข้อมูล IMD เป็นการจัดความสามารถในการแข่งขันของแต่ละประเทศ คือ ขีดความสามารถและผลประกอบการของประเทศในการสร้างและรักษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การประกอบกิจการ ซึ่งมีหน่วยงานที่ได้รับความสนใจและ เป็นที่ยอมรับอย่างต่อเนื่อง โดยสถาบันการจัดการนานาชาติ (International Institute for Management Development : IMD) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 1990 (พ.ศ. 2533) ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์
IMD ได้สร้างความร่วมมือกับเครือข่าย 55 สถาบันจากทั่วโลกในการรายงานเกี่ยวกับอันดับความสามารถในการแข่งขันของแต่ละประเทศทั่วโลกมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอรายละเอียดของประเทศต่าง ๆ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการเปรียบเทียบระดับความสามารถในการแข่งขัน และยกระดับความสามารถในการแข่งขันของแต่ละ ประเทศเพื่อสร้างความมั่งคั่งและการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยการประเมินการจัดอันดับความสามารถทางการแข่งขันนั้น สามารถแบ่งเป็น 4 หมวด คือ
1. สมรรถนะทางเศรษฐกิจ
2. ประสิทธิภาพของภาครัฐ
3. ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ
4. โครงสร้างพื้นฐาน
ในแหล่งข้อมูล IMD World Competitiveness Yearbook (IMD) มีประเด็นที่องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ นำมาคำนวณเป็นคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต คือ มีการติดสินบนและคอร์รัปชัน
หรือไม่ (Bribing and corruption : Exist or do not exist)