Contrast
Font
5edbe8f9827b3523ed53e664a9bfcad6.jpg

เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต!! เรื่อง : “ดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI)” ตอนที่ 11-15

จากไชต์: สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ
จำนวนผู้เข้าชม: 1693

06/02/2566

ตอนที่ 11 คะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ของประเทศไทย ในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา (2018 – 2021)

          สำหรับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ประจำปี ค.ศ. 2021  ประเทศไทยได้ค่าคะแนน35 คะแนน ลดลงจากปี ค.ศ. 2020 (36คะแนน) 1 คะแนน โดยในช่วงระหว่างปี 2018-2020 คะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (CP) ของประเทศไทย คงที่อยู่ที่ 36 คะแนน ก่อนที่จะลดลงเหลือ 35 คะแนน ในปี 2021 ในขณะที่อันดับของประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง จากอันดับที่  49  ในปี 2018เป็นอันดับที่ 110 ในปี 2021

โดยในการประเมินดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ของประเทศไทย องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (TI) ใช้ข้อมูลจาก 9 แหล่งข้อมูล ดังภาพอินโฟกราฟิค
......................................................................................................................

ตอนที่ 11 คะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ของประเทศไทย ในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา (2018 – 2021)

 ค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ของประเทศไทย ย้อนหลัง 4 ปี (2018 – 2021) โดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (TI) ใช้ข้อมูลจาก 9 แหล่งข้อมูล และมีรายละเอียดค่าคะแนน ดังภาพอินโฟกราฟิค

......................................................................................................................

 ตอนที่ 12 “แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของค่าคะแนน CPI”

1.) กลุ่มแหล่งข้อมูลที่มีแนวโน้มคะแนนคงที่ ได้แก่ แหล่งข้อมูล Bertelsmann Stiftung

Transformation Index (BF (T) แหล่งข้อมูล Economist Intelligence Unit Country Risk Ratings (EIU)

แหล่งข้อมูล Global Insight Country  Risk Ratings (GI) และแหล่งข้อมูล The PRS Group International

Country Risk Guide (PRS) โดยแหล่งข้อมูล (BF (T) มีแนวโน้มอยู่ที่ 37 คะแนน แหล่งข้อมูล EIU มีแนวโน้ม

อยู่ที่ 37 คะแนน แหล่งข้อมูล G มีแนวโน้มอยู่ที่ 35 คะแนน และแหล่งข้อมูล PRS มีแนวโน้มอยู่ที่ 32 คะแนน

2.) กลุ่มแหล่งข้อมูลที่มีแนวโน้มคะแนนเพิ่มขึ้น - ลดลง (คะแนนไม่คงที่) ได้แก่ แหล่งข้อมูล

The Political and Economic Risk Consultancy (PERC) แหล่งข้อมูล World Justice Project (WJP)

และแหล่งข้อมูล IMD World Competitiveness Yearbook (IMD) แหล่งข้อมูล World Economic Forum

Executive Opinion Survey (WEF) และแหล่งข้อมูล Varieties of Democracy project (VDEM)

สำหรับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (Coruption Perceptions Index : CP) ประจำปี ค.ศ. 2021

ประเทศไทยได้ค่าคะแนน 35 คะแนน ลดลงจากปี ค.ศ. 2020 (36 คะแนน) 1 คะแนน โดยพบว่าจากแหล่งข้อมูลที่นำมาใช้ในการคำนวณค่าคะแนนของประเทศไทยทั้ง 9 แหล่งข้อมูล มีค่าคะแนนเพิ่มขึ้น จำนวน 1 แหล่งข้อมูล ค่าคะแนนคงที่จำนวน 4 แหล่งข้อมูล และค่าคะแนนลดลง จำนวน 1 แหล่งข้อมูล             

......................................................................................................................

 ตอนที่ 13แหล่งข้อมูลที่มีแนวโน้มคะแนน CPI คงที่”

กลุ่มแหล่งข้อมูลที่มีแนวโน้มคะแนนคงที่ 4 แหล่งข่อมูล ได้แก่

1.) Bertelsmann Stiftung Transformation Index  BF(TI)

ได้ 37 คะแนน (ปี ค.ศ. 2020 ได้ 37 คะแนน)

2.) Economist Intelligence Unit Country Risk Ratings (EIU)

ได้ 37 คะแนน (ปี ค.ศ. 2020 ได้ 37 คะแนน)

3.) Global Insight Country  Risk Ratings (GI)

ได้ 35 คะแนน (ปี ค.ศ. 2020 ได้ 35 คะแนน)

4.)The PRS Group International Country Risk Guide (PRS)

ได้ 32 คะแนน (ปี ค.ศ. 2020 ได้ 32 คะแนน)

......................................................................................................................

ตอนที่ 14แหล่งข้อมูลที่มีแนวโน้มคะแนน CPI ลดลง”

กลุ่มแหล่งข้อมูลที่มีแนวโน้มคะแนนคงที่ 4 แหล่งข่อมูล ได้แก่

1).IMD World Competitiveness Yearbook (IMD)

ได้ 39 คะแนน (ปี ค.ศ. 2020 ได้ 41 คะแนน) ลดลง 2 คะแนน

2.) The Political and Economic Risk Consultancy (PERC)

ได้ 36 คะแนน (ปี ค.ศ. 2020 ได้ 38 คะแนน) ลดลง 2 คะแนน

3.) World Economic Forum Executive Opinion Survey (WEF)

ได้ 42 คะแนน (ปี ค.ศ. 2020 ได้ 43 คะแนน) ลดลง 1 คะแนน

4.) World Justice Project (WJP)

ได้ 35 คะแนน (ปี ค.ศ. 2020 ได้ 38 คะแนน) ลดลง 3 คะแนน
......................................................................................................................

ตอนที่ 15แหล่งข้อมูลที่มีแนวโน้มคะแนนเพิ่มขึ้น”

กลุ่มแหล่งข้อมูลที่มีแนวโน้มคะแนนเพิ่มขึ้นมี 1 แหล่งข่อมูล ได้แก่

Varieties of Democracy project (VDEM) ได้ 326 คะแนน (ปี ค.ศ. 2020 ได้ 20 คะแนน) เพิ่มขึ้น 6 คะแนน

จากการวิเคราะห์บรรยากาศทางการเมืองในปี พ.ศ. 2564 ประเทศไทยได้จัดให้มีการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น ซึ่งเปิดโอกาสให้ภาคการเมืองต่าง ๆ สามารถทำกิจกรรมทางการเมือง รวมทั้งสื่อมวลชน และภาคประชาชนได้มีบทบาทในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ส่งผลให้บรรยากาศความเป็นประชาธิปไตยมีมากขึ้น รวมถึงการตอบคำถามของผู้เชี่ยวชาญ ในรูปแบบ Expert survey แสดงให้เห็นทัศนคติที่ดีขึ้นเกี่ยวกับพฤติกรรมเรียกรับสินบนของเจ้าหน้าที่รัฐ ความโปร่งใสในการบริหารเงินงบประมาณและการป้องกันการขัดกันแห่งผลประโยชน์ อีกทั้งในปีนี้มีการปรับเปลี่ยนระเบียบวิธีวิจัยที่ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น

Related