จากไชต์: สำนัก มาตรการเชิงรุกและนวัตกรรม
จำนวนผู้เข้าชม: 300
วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ : 25 มิถุนายน 2562
การศึกษาเพื่อกำหนดเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย
การดำเนินการที่จะลดการทุจริตที่เกิดขึ้นในสังคมไทยนั้น นอกจากจะใช้กระบวนการปลูกฝัง ความคิดให้ประชาชนทุกช่วงวัยมีฐานคิด (Mind Set) ในการแยกแยะประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวมออกจากกันได้ การปลูกฝังค่านิยมในสังคมให้ไม่มีความอดทนต่อการทุจริต การพัฒนาแนวทางการป้องกันการทุจริตที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการใช้กระบวนการปราบปรามการทุจริตอย่างเข้มข้นเพื่อนำตัวผู้กระทำการทุจริตมาลงโทษแล้ว การนำหลักความโปร่งใส (Transparency) ซึ่งเป็นสิ่งที่นานาประเทศยอมรับว่าเป็นหลักการพื้นฐานในการป้องกันการทุจริตให้มีความเท่าทันต่อพลวัตของการทุจริตได้
เนื่องจากพัฒนาการการทุจริตในปัจจุบันนั้นมีการพัฒนาที่รวดเร็วมาก เปรียบเสมือนวัฏจักรของสิ่งมีชีวิต (Life Cycle) ที่เมื่อวงจรหรือวิธีการทุจริตที่ได้เคยทำไปก่อนหน้านั้น สามารถถูกยับยั้งหรือเปิดโปงได้แล้ว วงจรหรือวิธีการทุจริตดังกล่าวก็ไม่อาจนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เปรียบได้กับสิ่งมีชีวิตที่ตายไปแล้ว แต่บทเรียนในการทุจริตที่ถูกยับยั้งนั้นกลับกลายเป็นประเด็นในการเรียนรู้ (Lesson Learnt) สำหรับพัฒนาการทุจริตให้มีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น เปรียบเสมือนกับสิ่งมีชีวิตที่มีการปรับตัวต่อสถานการณ์หรือภัยคุกคามต่าง ๆ เพื่อให้อยู่รอดและเดินทางไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ คือ ความสำเร็จในการกระทำการทุจริต
การนำประเด็นเรื่องความโปร่งใสมาเป็นกรอบชี้นำในการป้องกันการทุจริต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกระบวนการทางนโยบายสาธารณะหรือการดำเนินงานของรัฐ ดังตัวอย่างเหตุการณ์ทางการเมืองของไทยหลายครั้งที่ผ่านมา มีประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ได้ออกมาใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ต่อการดำเนินแนวนโยบายต่าง ๆ ของรัฐ จนกลายเป็นวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ทำให้ประเทศไทยติดกับดักทางการเมืองและไม่สามารถก้าวผ่านกับดักนี้ไปได้ เป็นผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต้องหยุดชะงักลง ซึ่งสาเหตุประการหนึ่งที่เป็นปัจจัยปลุกเร้าประชาชนให้ออกมาแสดงความเห็นทางการเมือง ต่อการดำเนินนโยบายและการดำเนินการของรัฐ คือ การได้รับทราบประเด็นบางประการที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต ซึ่งประเด็นดังกล่าวนั้นมีความรุนแรงจนกระทั่งทำให้ประชาชนทนไม่ได้ และออกมาแสดงความเห็นทางการเมืองผ่านการชุมนุม จนกลายเป็นปัญหาทางการเมืองดังที่กล่าวแล้วข้างต้น
ถ้าหากเพิ่มความเข้มข้นเรื่องการเสริมสร้างความโปร่งใสในข้อมูลภาครัฐ โดยเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ควรเปิดเผยให้ประชาชนรับทราบแล้ว จะช่วยกระตุ้นให้ ภาคประชาชนเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสอดส่องดูแลการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐ ซึ่งการเสริมพลังภาคประชาชนจะช่วยให้ประชาชนนั้นมีความรู้ มีความคิดที่เท่าทันต่อพัฒนาการของการทุจริต และเข้ามามีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังการทุจริตเป็นหนึ่งในแนวทางที่ยั่งยืนในการต่อต้านการทุจริต ดังที่ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) วางเป้าหมายไว้
ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2564) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 “สกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบาย” จึงได้กำหนดให้มีการศึกษาและหาแนวทางต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการป้องกันการทุจริตตลอดกระบวนการนโยบาย โดยการกำหนดมาตรการ กลไก และการเสริมสร้างธรรมาภิบาล ในขั้นตอนนโยบายทั้ง 5 ขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นการก่อตัวนโยบาย (Policy Formation) ขั้นการกำหนด นโยบาย (Policy Formulation) ขั้นการตัดสินใจนโยบาย (Policy Decision) ขั้นการนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) และขั้นการประเมินนโยบาย (Policy Evaluation)
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติในเรื่องดังกล่าวนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงได้ศึกษาและกำหนดเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย เสนอต่อคณะรัฐมนตรี
รายละเอียดของเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย
เกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) เกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย ในขั้นตอนการพัฒนานโยบาย และ 2) เกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย ในขั้นตอนการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ โดยประกอบด้วยหัวข้อที่จะใช้เป็นเกณฑ์ ดังนี้
ส่วนที่ 1 เกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย ในขั้นตอนการพัฒนานโยบาย กำหนดเป็นเกณฑ์ชี้วัดสำหรับการประเมินได้ 5 เกณฑ์ ดังนี้
โดยเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย ในขั้นตอนการพัฒนานโยบาย ใช้แบบรายงานการดำเนินการตามเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงฯ ในการรายงานการพัฒนานโยบาย 1 นโยบาย ต่อ 1 ฉบับ
ส่วนที่ 2 เกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย ในขั้นตอนการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ กำหนดเป็นเกณฑ์ชี้วัดสำหรับการประเมินได้ 4 เกณฑ์ ดังนี้
โดยเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย ในขั้นตอนการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ ใช้แบบรายงานการดำเนินการตามเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงฯ ในการรายงานการดำเนินโครงการ 1 โครงการ ต่อ 1 ฉบับ
มติคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2562 ดังนี้
ความเห็นของหน่วยงาน : สำนักงาน ป.ป.ท. สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงาน ก.พ. กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงพลังงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการคลัง